ตาที่สาม - Third Eye ตาทิพย์

ตาที่สาม หรือ ตาทิพย์ แท้จริงคืออะไร และอยู่ตรงไหน

ตาที่สาม หรือ Third Eye เป็นคำที่ผู้สนใจฝึกสมาธิทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศคุ้นเคยกันพอสมควร เป็นเวลานานที่นักวิทยาศาสตร์ พยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับตาที่สามนี้ว่าอยู่ส่วนไหนในสมองและมีหน้าที่อย่างไร

โดยปกติดวงตาของเราจะส่งภาพกลับหัว จากบนเป็นล่าง ส่งไปยังสมอง ซึ่งสมองจะประมวลผลและทำให้เราเห็นภาพในลักษณะปกติที่ถูกต้อง

นอกจากดวงตาปกติแล้ว มนุษย์ยังมีอวัยวะอีกอย่างที่รู้จักกัน ในชื่อ ของดวงตาที่สาม หรือ ต่อมไพนีล ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพลังมหัศจรรย์ หรือตาทิพย์ เป็นดวงตาภายใน

ต่อมไพนีล Pineal Gland มีขนาดเท่าเม็ดถั่ว และอยู่ตรงกลางของสมอง หลังดวงตาปกติ อยู่ข้างหลังเยื้องด้านบนจากต่อมปิตูอิตารี่ ( pituitary ) บางคนได้เทียบตำแหน่งกลางสมองนี้ว่าคล้ายคลึงกับตำแหน่งศูนย์กลางของปิรามิด ซึ่งเป็นจุดรวมแห่งพลังงาน ที่กล่าวกันว่าเหนือธรรมชาติ

นักปราชญ์กรีกโบราณเชื่อว่า ต่อมไพนีล เป็นจุดเชื่อมต่อกับอาณาจักรแห่งความคิด บางคนเรียกว่า ที่สถิตของจิตวิญญาณ ต่อมไพนีลนี้จะถูกกระตุ้นโดยแสงสว่าง และต่อมนี้ควบคุมระบบร่างกาย ( Biorhythm) หลายอย่าง โดยทำงานร่วมกับต่อมไฮโปทารามัส ( hypothalamus) ซึ่งต่อมไฮโปทารามัส ส่งผลโดยตรงกับร่างกายในเรื่อง ความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์ และนาฬิกาชีวิตซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์

เมื่อต่อมไพนีลถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา จะรู้สึกถึงความกดดันที่ใต้สมอง ( ความกดดันเหมือนในลักษณะที่อยู่ใต้คลื่นความถี่สูง) การกระทบกระเทือน ที่ศีรษะบางครั้งก็เป็นสาเหตุกระตุ้นให้ต่อมไพนีลตื่นขึ้นได้

ถึงแม้ในอดีตจะยังไม่สามารถค้นคว้าพิสูจน์เกี่ยวกับต่อมไพนีล เพิ่งจะมาทราบในสมัยปัจจุบันไม่นานนัก แต่ในสมัยนั้นก็เชื่อกันว่า เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกแห่งวัตถุและโลกแห่งวิญญาณ และเป็นจุดสำคัญในการเริ่มต้นของพลัง เหนือธรรมชาติในมนุษย์ทำให้มองเห็นเหนือกว่าคนทั่วไปได้

การทำสมาธิส่งผลถึงสมอง การแสดงออกและอารมณ์ให้พัฒนาในด้านดี

อวัยวะในสมอง มีลักษณะของไฟฟ้าเคมี คือ ใช้พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงานและส่งกระแสพลังงานออกมาเป็นคลื่นสมองใน 4 คลื่นความถี่จากมากไปน้อยคือ Beta Alpha Theta Delta

เมื่อเราเริ่มทำสมาธิจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองให้มีความถี่คลื่นลดลงจากภาวะปกติ เบต้า ลดลงสู่อัลฟรา และเข้าสู่เธต้า ในภาวะคลื่นสมองเข้าสู่ระดับเธต้านั้นเป็นภาวะที่เกิดความอัศจรรย์ทางจิต เช่น การเห็นภาพต่างๆ การเกิดจิตออกจากร่างกาย การเกิดพลังจิตพิเศษต่างๆที่เมืองนอกเรียกว่า ESP ซึ่งการควบคุมคลื่นสมองเข้ามาในระดับนี้โดยปกติต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ neuroscientist ได้ใช้เทคนิคใหม่ๆในการค้นคว้าความเกี่ยวเนื่องของสมอง และการทำสมาธิที่ส่งผลให้จิตใจ มีความสุขและมีอารมณ์ในด้านดี

University of Wisconsin at Madison ได้ค้นคว้า ตรวจสอบจากผู้ฝึกสมาธิตามแนวพุทธศาสนาพบว่า สมองมีการพัฒนา ในบางส่วนเป็นพิเศษ ซึ่งสมองส่วนที่พัฒนานี้เป็นส่วนที่มีผลกับ อารมณ์ด้านดี การควบคุมตัวเองและอารมณ์

University of California San Francisco Medical Center แนะนำว่า การทำสมาธิสามารถควบคุมสมอง ส่วนที่ทำให้เกิด ความกลัวได้ และพบว่า คนที่นับถือและปฏิบัติตามแนวศาสนาพุทธจะมีความกลัว ความตกใจ ความโกรธ น้อยกว่าคนทั่วไป

แอนดรู นิวเบอร์ก radiologist at the University of Pennsylvania ทำการวิจัยกับนักบวชธิเบต โดย

1.ให้นักบวชเข้าสมาธิประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้เข้าสู่สมาธิขั้นลึกแล้วจึงฉีดสารกัมมันตภาพรังสีจำนวนเล็กน้อยเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้สามารถตรวจวัดได้ว่าขณะทำสมาธินั้นส่วนไหนของสมองที่ทำงาน

2.ตรวจแบบเดียวกันแต่เป็นในขณะที่ทำงานปกติ ไม่ได้ทำสมาธิ เมื่อนำมาเปรียบเทียบพบว่า ขระทำสมาธิ สมองส่วนหน้าจะมีการทำงาน มากเป็นพิเศษ และสมองส่วนหลังทำงานน้อยลง ( parietal lobe) ทำให้รู้สึกถึงความว่าง ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเวลาทำสมาธิ จึงเกิดการรู้สึกสัมผัสน้อยลง และเกิดการรับรู้น้อยลงในเรื่องสถานที่และเวลา