อมิกดาลา อไมกดาลา Amygdala

บีบีซีนิวส์ – อาการ "กลัว" หรือผวากับสิ่งต่างๆ รอบตัว ดูเหมือนว่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะการ "กลัวอย่างไร้เหตุผล" ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กสามารถระบุตำแหน่งบนสมอง ที่ช่วยพวกเราลบ "ความกลัว" ที่มีอยู่ออกไปได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) เปิดเผยผ่านวารสารทางด้านประสาทวิทยา "นิวโรน" (Neuron) ว่าในมนุษย์ก็มีต่อมลบอาการกลัวได้ เช่นเดียวกับสัตว์ โดยเชื่อว่าต่อมดังกล่าวอยู่ในสมองบริเวณที่เดียวกับที่เราบันทึก ความกลัวลงไป

บริเวณที่ลบหรือลืมความกลัวดังกล่าวเรียกว่า "อไมกดาลา" (amygdala) พื้นที่ขนาดเท่าเมล็ดอัลมอนด์ ฝังอยู่บริเวณซีรีบรัม โดยเชื่อมต่อกับ ไฮโปธารามัส ซึ่งสมองตรงอไมกดาลาทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมเหตุผลและอารมณ์

ที่สำคัญกลไกทำงานลืมความจำของ "อไมกดาลา" นี้พบอยู่ในสมองสัตว์ แต่ยังไม่เคยมีผู้ใดพบในสมองของมนุษย์มาก่อน และการค้นพบ กลไกของ "อไมกดาลา" ที่ช่วยให้ลืมกลัวแบบเดียวกับสัตว์ในสมองมนุษย์นี้ จะช่วยทุ่นแรงให้บรรดาหมอๆ ทั้งหลายในการรักษา อาการจิตประสาท หรือ "โฟเบีย" ของคนไข้ได้

ดร.อลิซาเบธ เฟลปส์ และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เปิดเผยว่า การค้นพบตำแหน่งลืมความกลัวนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะเป็น โอกาสได้ศึกษาว่า อาการกลัวในมนุษย์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะดูแลมันอย่างไร แต่งานวิจัยน้อยชิ้นนัก ที่จะเข้าใจถึง วิธีการลดความกลัวให้น้อยลง

อาการกลัวถึงขั้นโฟเบียหรือจิตประสาท เป็นภัยต่อสุขภาพจิตและสุขภาพของมนุษย์ที่จิตแพทย์พยายามหาวิธีรักษาแบบให้ตรงจุดจริงๆ กันมานานแล้ว
"ยกตัวอย่าง เด็กๆ หลายคนกลัวความมืดเมื่อตอนวัยเยาว์ แต่พอโตขึ้นพวกเขาก็จะเลิกกลัวความมืด หรืออาจจะมีแต่น้อยลง" ดร.เฟลปส์ กล่าว โดยเธอและทีมงานพยายามศึกษาหากลไกลดความกลัวในสมอง โดยนำอาสาสมัครมาทดลองสร้างและลดความกลัว พร้่อมทั้งสังเกตดูว่า สมองส่วนใด ตรงไหนที่ทำงานในขณะนั้น

ทีมงานของ ดร.เฟลปส์ใช้การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI - magnetic resonance imaging) เพื่อเข้าไปดูว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับสมองในช่วงระหว่างที่เราเริ่มเลิกกลัว สิ่งที่เคยกลัว โดยพวกเขาได้ให้อาสาสมัครดูภาพสี่เหลี่ยมจตุุรัส ที่ระบายสีไว้ พร้อมทั้งช็อตด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ จะทำให้เกิดสภาวะกลัว เหมือนๆ กับอาการจิตประสาท หรือโฟเบีย

เมื่ออาสาสมัครมองภาพสี่เหลี่ยมที่ระบายสีครั้งต่อๆ ไปจะทำให้เกิดอาการกลัวๆ กังวล จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทำให้เลิกกลัวด้วยการ ย้อนคือเหตุการ คือ ให้อาสาสมัครดูภาพสีเหลี่ยมระบายชุดเดิม (ที่กลัวไปแล้วเพราะโดนช็อต) พร้อมทั้งช็อตกระแสไฟเข้าไปอีกรอบในปริมาณเท่าเดิม และค่อยลดๆ ลงจนอาสาสมัครดูภาพแบบปกติโดยไม่มีกระแสไฟช็อต ก็จะทำใ้ห้อาการกลัวภาพนั้นหายไป

อย่างไรก็ดี เมื่อคณะวิจัยดูผลจากการสแกนสมองขณะอาสาสมัครถูกกระตุ้นให้กลัวจนหายกระทั่งหายกลัวแล้วพบว่า ตำแหน่งของ "อไมกดาลา" นั้นทำงานขณะที่กำลังบันทึกความกลัวเข้าสู่หัวสมอง และทำงานอีกเมื่ออาสาสมัครคลายความกลัวของพวกเขาลงไป พร้อมกับสมองอีกส่วนหนึ่ง

การค้นพบเหล่านี้สนับสนุนงานวิจัยชิ้นก่อนๆ ที่อธิบายกันมาว่าในสัตว์มีระบบการแก้ไขความวิตกกังวลหรือความกลัวอย่างผิดปกติได้ โดย ดร.เฟลปส์กล่าวว่า หากในมนุษย์ก็มีกลไกนี้เช่นกัน ก็จะง่ายต่อการหายารักษาที่ตรงจุด

"ขณะนี้พวกเราทั้งหมดเริ่มมองหาสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิมเพื่อที่จะรักษาอาการกลัว ในมนุษย์พวกเราพยายามที่จะควบคุมอาการกลัว บางสถานการณ์พวกเรารู้ว่าไม่แสดงอาการกลัวออกมา แต่บางสถานการณ์กลับแสดงออกมา"

"อย่างเช่น คนทั่วไปกลัวเสือ แต่เมื่อไปดูเสือในสวนสัตว์ เราก็จะไม่กลัวมัน สิ่งนี้เป็นคำตอบว่า ร่างกายของเราจัดการกับความกลัวได้ แต่จะจัดการอย่างไร" ดร.เฟลปส์อธิบาย

หนึ่งในทฤษฎีที่เสนอโดย เดเนียล กอลแมน และ ทาร่า – เบนเนต กอลแมน ใน ค.ศ. 2001 ได้อธิบายการทำงานของสมาธิว่า เป็นเพราะความสัมพันธ์ ระหว่าง amygdala ซึ่งเป็นเนื้อสมองที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดแอลมอนด์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางอารมณ์ ความโกรธ ความกลัว และ บริเวณเนื้อสมองส่วน prefrontal cortex กล่าวคือ เมื่อเรารู้สึกโกรธ หรือวิตกกังวล ในเรื่องต่างๆ amygdala เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำให้เรารับรู้ความรู้สึกต่างๆ นี้ได้ จากนั้น pre-frontal cortex จะทำหน้าที่หยุดและคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เรารู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นศูนย์หลั่งสารยับยั้งต่างๆ หรือ (inhibiter center) ดังนั้น prefrontal cortex จึงทำหน้าที่ได้อย่าง ดีเยี่ยมในการวิเคราะห์และวางแผนในระยะยาว ในทางกลับกัน amygdala เป็นสารที่ทำให้มนุษย์เกิด การตัดสินใจแบบเฉียบพลัน และจะส่งผลอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเอาชีวิตรอดของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์เห็นสิงโต กำลังคืบคลานเข้ามา amygdala จะทำหน้าที่เป็นกลไกในการต่อสู้หรือตอบสนองในการถอยหนีก่อนที่ pre-frontal cortex จะทำหน้าที่ตอบสนอง แต่เมื่อต้องการใช้การตัดสินใจแบบเฉียบพลัน ถ้า amygdale เกิดความบกพร่องก็จะทำให้เราเผชิญกับอันตราย อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงเมื่อสังคมเกิดการขัดแย้งซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ข้างบนที่มนุษย์เผชิญกับผู้ล่าคือสิงห์โต เราพบว่าเหตุการณ์ที่ทำให้มนุษย์รับรู้ว่าเกิดความไม่สุขสบาย หรือรับรู้ว่าเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลง ไม่สุขสบาย กลัว วิตกกังวล เครียด และสับสน ก็จะทำให้เกิด amygdala บกพร่องด้วยเช่นกัน

เนื่องจากมีความแตกต่างของเวลาเมื่อมนุษย์เผชิญกับเหตุการณ์คับขัน amygdala และ prefrontal cortex จะทำหน้าที่ด้วยตัวของมันเอง การฝึกสมาธิจะทำให้สมองส่วน left pre-frontal cortex ทำงานได้ดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้มนุษย์เราสามารถ ควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้โดยตรง และเกิดความรู้สึกในด้านบวกขึ้น ความแตกต่างในเรื่องบทบาทของสมองส่วน amygdala และ prefrontal cortex เราสามารถสังเกตการ ทำงานได้ง่ายๆ จากการใช้ยาเสพติดชนิดต่างๆ โดยทั่วไปการใช้แอลกอฮอล์ จะกดการทำงานของสมอง โดยเฉพาะ ในส่วนของ prefrontal cortex โดยจะทำให้เกิดการหลั่งสารยับยั้งต่างๆ ลดลง ความตั้งใจในการทำงานลดลง และลดสภาวะ ความมั่นคงของอารมณ์ และเกิดพฤตกรรมก้าวร้าวได้ (Daneil Goleman &Tara Bennett-Goleman, 2001) นอกจากนี้ใน การศึกษาวิจัยบางชิ้น ยังพบว่าการทำสมาธิจะสัมพันธ์กับความมีสมาธิ การวางแผน การับรู้ การคิด และผลในเชิงบวกทางด้านอารมณ์ ยังมีงานวิจัยที่คล้ายกันซึ่งพบว่าการทำสมาธิจะช่วยลดความรู้สึกหดหู่ใจ ความวิตกกังวล และเพิ่มการทำงานของสมองในส่วน prefrontal cortex ซีกซ้าย

ที่มา : ผู้จักการออนไลน์

อไมกดาลา Amygdala

amygdala เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเซลล์ประสาทที่เรียกว่า subcortical nuclei อยู่ในสมองส่วน piriform lobe ทางด้านในและด้านหน้าของ temporal lobe ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากมีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมัน (almond) สมองส่วนนี้มีความสำคัญในการรับรู้และตอบสนองทางอารมณ์ และเป็นส่วนประกอบหลักของ limbic system เช่นเดียวกันกับ hippocampus

amygdala ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาทย่อยๆหลายกลุ่มมารวมกัน ซึ่งได้แก่ lateral, basal, and accessory basal nuclei ทำหน้าที่รับ sensory input จาก cortex กับ medial และ central nuclei ที่ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจาก nucleiทั้งสามอักแรก แล้วส่งต่อออกไปยัง hypothalamus และศูนย์ประสาทอัตโนมัติใน brainstem ซึ่งได้แก่ vagal nuclei และ sympathetic neurons อมิไกดา

แผนภาพแสดงสมองส่วนต่างๆที่ส่งกระแสประสาทมายัง amygdala

amygdala มีการเชื่อมโยงติดต่อกับสมองส่วน cerebral cortex, mediodorsal thalamus และ medial striatum อย่างใกล้ชิด โดยรับกระแสประสาทรับความรู้สึก (sensory inputs ได้แก่ somatosensory, visual, auditory, gustatory, visceral เป็นต้น) ที่ถูกส่งต่อมาจาก secondary cortex ซึ่งได้แก่ orbital cortex, prefrontal cortex, anterior temporal cortex, pontine taste areas และ rostral cingulate cortex และที่สำคัญคือ olfactory input ที่มาจาก piriform cortex นอกจาก sensory cortex แล้วก็ยังมีกระแสประสาทที่ส่งมาจากสมองส่วนอื่นๆ อีกเช่น thalamus, hypothalamus, septal nuclei, reticular formation ของก้านสมอง และ จาก hippocampus ซึ่งจากการที่ hippocampus ทำหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำที่ฝังลึก ประกอบกับ amygdala ทำหน้าที่แสดงอารมณ์ ทางเดินประสาทที่เชื่อมโยงทั้งสองส่วนนี้จึงเกี่ยวข้องใน พฤติกรรมการแสดง อารมณ์อย่างรุนแรงเมื่อความทรงจำบางอย่างถูกกระตุ้น ข้อมูลความรู้สึกที่ amygdala รับเข้ามามีสองลักษณะ คือ ส่งเข้ามาโดยตรงจาก thalamus ซึ่งมีระยะทางสั้นๆ กับข้อมูลที่ผ่านจาก thalamus ไปยัง cortex และ hippocampusก่อน แล้วจึงจะส่งต่อมายัง amygdala ซึ่งใช้เวลานานกว่า ข้อมูลที่มาจากthalamus โดยตรง ประโยชน์ของการส่งข้อมูลมาทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ทางตรงจะทำให้เกิดการเตรียมพร้อม แม้ว่าจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสิ่งกระตุ้นเป็นอะไร ส่วนทางอ้อมซึ่งมาถึงช้ากว่า เพราะได้ถูกกลั่นกรองมาแล้ว จะเป็นตัวตัดสินว่าพฤติกรรมตอบสนองควรจะเป็นอย่างไร

amygdala ส่งกระแสประสาทออกไปยัง septal nuclei, hypothalamus, cingulate gyrus, orbital cortex และ hebenula เป็นหลัก หน้าที่ของ amygdala นอกเหนือจากที่เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงความกลัว ความก้าวร้าว และดุร้าย นอกจากนี้มีหลักฐานที่แสดงว่า amygdala ควบคุมการทำงานของ hypothalamus อีกด้วย การทำงานของ amygdala ดูเหมือนว่าจะตรงข้ามกับการทำงานของ septal nuclei ดังจะเห็นได้จากการตัด amygdala ออก แล้วสัตว์จะเชื่อง แต่สัตว์ที่ถูกตัด septal nuclei ออก จะดุร้าย นอกจากนี้หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ amygdala คือการลดระดับความรุนแรงของการตอบสนองทางอารมณ์ลงที่ละน้อย ภายหลังที่สมองถูกกระตุ้นด้วยสิ่งกระตุ้นเดียวกันซ้ำๆกันหลายๆครั้ง ตัวอย่างเช่น ความกลัวที่เกิดหลังจากการได้รับความเจ็บปวดรุนแรงจากการถูกตีด้วยไม้ในอดีต ซึ่งหลังจากนั้นเพียงแค่เห็นไม้ก็จะเกิดความกลัวแม้ว่าจะไม่ได้ถูกตี แต่ถ้าถูกตีบ่อยๆ ความกลัวนั้นจะลดความรุนแรงลง

ที่มา :

Chester Carlson คือผู้ที่คิดค้นวิธีถ่ายเอกสารเป็นครั้งแรกในโลกในปี 1937 ซึ่งไม่ใช่การค้นพบที่เล็กน้อยเลย แต่เขากลับไม่สามารถโน้มน้าวให้ใครซื้อความคิดของเขาได้ Carlson ใช้เวลาถึง 22 ปีในการพยายามขายความคิดของเขาให้แก่บริษัทหลายสิบแห่ง ซึ่งในจำนวนนั้นมี GE, IBM, RCA และ Kodak จนในที่สุดในปี 1959 บริษัท Haloid ซึ่งเป็นบริษัทในยุคแรกก่อนที่จะกลายมาเป็น Xerox ในภายหลัง จึงรับซื้อความคิดของ Carlson และสร้างเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรก ทำไม Carlson ซึ่งเสียชีวิตไปนานแล้วตั้งแต่ปี 1968 จึงไม่อาจโน้มน้าวชักจูงใจให้ใครๆ เชื่อมั่นได้ว่า การถ่ายเอกสารเป็นความคิดที่ดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจจะบอกว่า เพราะเขาไม่รู้จักวิธีการใช้เหตุผลในการโน้มน้าวใจ ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งการโน้มน้าวใจที่มีอายุเก่าแก่มานาน

การโน้มน้าวใจ
Aristotle คือผู้ที่สรุปว่า การใช้ตรรก ซึ่งหมายถึงการใช้ข้อเท็จจริงและเหตุผล คือวิธีที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวใจ และแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนในปัจจุบันก็ยังคงเห็นด้วยกับ Aristotle แต่ใน The 7 Triggers to Yes : The New Science Behind Influencing People's Decisions ผู้แต่งคือ Russell Granger บอกว่านั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะหากเกี่ยวกับการโน้มน้าวใจแล้ว การใช้เหตุผลเปรียบเสมือนกับการเดินอ้อมเป็นระยะทางไกล และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า พลังของการโน้มน้าวใจนั้น จริงๆ แล้วอยู่ที่การรู้จักใช้อารมณ์ความรู้สึกต่างหาก

การศึกษาทางประสาทวิทยาสมัยใหม่พบว่า ส่วนเล็กๆ ของสมองที่เรียกว่า amygdala มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่ากลไกทางจิตอื่นๆ ทั้งหมด ส่วนของสมองที่เรียกว่า amygdala นี้ เป็นระบบนำทางของอารมณ์ในร่างกายเรา หน้าที่ของมันคือรับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกและสร้างปฏิกิริยาทันที ซึ่งเรียกว่า gut reaction อันเป็นปฏิกิริยาที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการตัดสินใจ

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมองพบว่า amygdala สร้างปฏิกิริยา gut หรือปฏิกิริยาอัตโนมัติเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นอารมณ์ และการสร้างปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าเวลาที่เปลือกสมองส่วนหน้าใช้ในการทำความเข้าใจเหตุผลต่างๆ ก่อนที่จะสร้างปฏิกิริยาออกมาบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ด้วยเหตุนี้ นักโน้มน้าวใจที่ใช้เทคนิคกระตุ้นปฏิกิริยาของ amygdala ซึ่งหมายถึงการพูดที่สร้างอารมณ์ความรู้สึก มากกว่าการใช้ข้อมูลหรือเหตุผล จึงสามารถโน้มน้าวใจคนได้เร็วกว่าและง่ายกว่า

เครื่องจักรแห่งอารมณ์

สิ่งที่สามารถกระตุ้นปฏิกิริยาด้านอารมณ์ได้ มี 7 อย่าง ได้แก่ ความเป็นมิตร ความน่าเชื่อถือ ความสม่ำเสมอ การได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน การเปรียบเทียบแบบตรงข้ามการตอบคำถามว่าทำไม และความหวัง ผู้แต่งอธิบายว่าสิ่งกระตุ้นอารมณ์ทั้งเจ็ด บังคับให้คนต้องรีบตัดสินใจโดยเร็ว

ผู้แต่งยังอธิบายว่า ตัวกระตุ้นแต่ละตัวทำงานอย่างไร เช่น การเปรียบเทียบแบบตรงข้าม ผู้โน้มน้าวใจควรเสนอทางเลือกที่แพงที่สุด เสียเวลามากที่สุด ยุ่งยากที่สุดหรือทางเลือกที่แย่ที่สุดก่อน แล้วจึงเสนอข้อเสนอของตน ก็จะทำให้ดูเหมือนว่าเป็นข้อเสนอที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งชี้ว่า วิธีกระตุ้นอารมณ์อาจใช้ไม่ได้ผลกับคนที่เป็นนักวิเคราะห์ แต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งก็คือ ความสามารถในการโน้มน้าวใจนับเป็นทักษะที่สำคัญของผู้นำในโลกธุรกิจ ดังเช่นที่ Christopher Columbus เคยใช้ทักษะนี้โน้มน้าวให้ราชินี Isabella แห่งสเปน ทรงออกพระราชทรัพย์ให้เขาเดินทางไปสำรวจโลกใหม่ ทักษะนี้ยังเคยช่วยให้อดีตประธานาธิบดี John F. Kennedy ได้รับการสนับสนุนจากชาวอเมริกัน ในการส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ ดังคำกล่าวที่ว่า มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรแห่งการคิด หากแต่เป็นเครื่องจักรแห่งความรู้สึกที่รู้จักคิด

การวิจัยโครงสร้างสมองเกย์

พบโครงสร้างสมองเกย์เหมือนหญิงแท้ บ่งชี้รสนิยมทางเพศก่อกำเนิดในท้องแม่ บีบีซีนิวส์ –

พบเกย์และหญิงแท้มีลักษณะบางอย่างในสมอง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ อารมณ์ ความรู้สึก และความกังวลเหมือนกัน ขณะที่สมองของชายจริงเหมือนกับ ของเลสเบี้ยน บ่งชี้ว่ารสนิยมทางเพศน่าจะถูกกำหนดตั้งแต่ระยะที่ตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา นักวิจัยจากสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดนได้ทำการเปรียบเทียบขนาดสมองของกลุ่มตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ 90 คน และรายงานไว้ในวารสารโปรซีดดิงส์ ออฟ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ว่า สมองสองซีกของเกย์และหญิงแท้มีขนาดเท่ากัน ขณะที่สมองซีกขวาของชายแท้และเลสเบี้ยนใหญ่กว่าอีกซีก ก่อนหน้านี้ นักวิจัยมากมายเคยสังเกตพบว่า บางครั้งผู้ที่ฝักใฝ่เพศเดียวกัน ทั้งหญิงและชาย มีความสามารถในกระบวนการคิดต่างกัน บ่งชี้ว่าอาจมีความแตกต่างกัน ในโครงสร้างของสมอง

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยใช้เครื่องสแกนสมอง เพื่อพยายามหาคำตอบของความแตกต่างนั้น นักวิจัยสวีเดนได้ทำการสแกนสมอง ของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีทั้งพวกรักร่วมเพศ และกลุ่มที่มีรสนิยมทางเพศปกติ 90 คน ที่ล้วนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งนี้ เพื่อวัดขนาดของสมองซีกซ้ายและซีกขวา สิ่งที่พบคือ เลสเบี้ยนและชายจริง มีความไม่สมส่วน เหมือนกัน สำหรับขนาดของสมองทั้งสองซีก ขณะที่สมอง 2 ซีก ของหญิงแท้และเกย์มี ขนาดเท่ากัน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เกย์มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงหญิงแท้ และเลสเบี้ยน มีลักษณะบางอย่าง ที่คล้ายคลึง ชายจริง การทดลองขั้นต่อไปพบว่า พื้นที่ในสมองส่วนที่เรียกว่า amygdala ของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มแตกต่างกันเช่นกัน โดยในกลุ่มชายจริงและเลสเบี้ยนนั้น จะมีการเชื่อมต่อของเส้นประสาทในซีกขวาของ amygdala หนาแน่นกว่าซีกซ้าย และในทางกลับกัน กลุ่มหญิงแท้และเกย์ จะมีการเชื่อมต่อของเส้นประสาทในซีกซ้ายของ amygdala หนาแน่นกว่าซีกขวา นักวิจัยจากคาโรลินสกา กล่าวว่า ความแตกต่างเหล่านี้ไม่สามารถอธิบายด้วยกลไกการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่น่าจะเกิดขึ้นจากกลไกอื่นๆ ทั้งก่อนหรือหลังคลอด ทว่า ดร.กาซี เราะห์มาน จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เชื่อว่า ความแตกต่างของสมองตามที่นักวิจัยสวีเดนพบนั้น เริ่มต้นขึ้นในช่วงที่ตัวอ่อนมีพัฒนาการอยู่ในครรภ์มารดา "สำหรับผมคงไม่มีข้อโต้แย้งอีกต่อไป นั่นคือถ้าคุณเป็นเกย์ คุณก็เป็นมาตั้งแต่เกิดแล้ว" ดร.กาซี เสริมว่า amygdala มีบทบาทสำคัญในการกำหนด ทิศทางสมอง ส่วนอื่นๆ ในการตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นด้านอารมณ์ ความรู้สึก ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจว่า จะสู้หรือถอย หรือระหว่างการหาคู่ "หรือพูดอีกอย่างได้ว่า เครือข่ายสมองที่กำหนดความโน้มเอียง ทางเพศระหว่างเกย์กับหญิงแท้มีความคล้ายคลึงกัน ขณะที่ของชายจริงไปคล้ายกับของเลสเบี้ยน "จึงเป็นเหตุเป็นผลสมควร ที่ทำให้เกย์มีรสนิยมทางเพศเหมือนหญิงแท้คือชอบผู้ชาย และในทางกลับกันเลสเบี้ยนชอบผู้หญิงด้วยกันเหมือนกับที่ชายจริงชอบ

อดไม่ได้ที่จะต้องเขียนอะไรเกี่ยวกับ สตาร์วอร์ส เอพิโซด 3: รีเวนจ์ ออฟ เดอะ ซิธ / ซิธชำระแค้น ซะหน่อย

หลังจากรอคอยมา 28 ปี เหล่าสาวกของสตาร์วอร์ส ก็ได้คำอธิบายว่า ทำไมอัศวินเจไดอย่างอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ถึงได้ปล่อยตัวปล่อยใจยอมพ่ายแพ้ เข้าสู่ ด้านมืดของพลัง (dark side of the Force)!

เล่าให้ฟังสั้นๆ ละกันนะครับ (แน่ใจว่า ไม่ได้เป็น spoiler เพราะป่านนี้คงรู้กันทั้งเมืองแล้ว) ว่า ภาคนี้ คุณตาจอร์จ ลูคัส เฉลยว่า อนาคินเปลี่ยนข้างมาเป็นวายร้าย เพราะคู่รักของเขา วุฒิสมาชิกหญิงแพดเม่ อดีตราชินี

อมิดาลา (Amidala) นั่นเอง พอมานึกว่าชื่ออมิดาลานี่พ้องกับชื่อส่วนของสมองที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala) ก็รู้สึกว่า สมเหตุสมผลดีครับ ยิ่งคิดก็ยิ่งน่าทึ่ง ขอชมว่าคุณตาลูคัสผูกเอาไว้ดีเหลือเกิน

คือ อย่างนี้ครับ อมิกดาลา เป็นส่วนเล็กๆ ของสมอง มีรูปร่างคล้ายเม็ดอัลมอนด์ อยู่ในสมองส่วนกลาง มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความเกลียด ความเศร้า ความกลัว ความกังวลกระวนกระวายใจ กลุ่มที่เป็นพลังในด้านลบน่ะครับ (อาฮ่า! ถึงบางอ้อแล้วใช่ไหม?)

ความรู้เรื่องสมองส่วนอมิกดาลานี่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะไขความลับออกครับ โดยอาศัยคุณูปการของเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างหนึ่ง คือ เครื่องฟังก์ชันนอลเอ็มอาร์ไอ fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging) ซึ่งเป็นวิธีศึกษาว่า สมองส่วนใดถูกกระตุ้น เมื่อได้รับความรู้สึก เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ต่างๆ

เจ้าเครื่องนี้ทำให้เราเห็นเลยว่าสมองส่วนอมิกดาลานั้นทำงานอย่างมาก เวลาเรามีความโกรธ กลัว หรืออารมณ์บ่จอย โดยมันจะไปกดการคิดไตร่ตรอง การรับรู้ของเรา ทำให้เรารับข้อมูลแต่เพียงบางส่วน อมิกดาลานี่ฤทธิ์เดชใช่เล่นครับ พวกเราคงเคยได้ยินสำนวนที่ว่า ''เห็นช้างตัวเท่าหมู'' ใช่ไหม? ที่เราเห็นช้างมันตัวเท่าหมูไม่ได้เป็นแค่สำนวนพูดกันเล่นๆ เท่านั้น แต่มีที่มาจากความจริง เวลาเราโกรธนั้นสมองจะลดระดับการรับรู้ลง ทำให้เราได้ภาพความเป็นจริงที่บิดเบี้ยวไปจากปกติมาก ที่ตัวโตก็เห็นเป็นตัวเล็ก เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัวไปได้

ที่วัยรุ่นตีกัน ที่อนาคินยอมสวามิภักดิ์กับด้านมืด ก็มักเกิดจากอารมณ์ในแง่ลบ เพราะอมิกดาลาตัวดีนี่แหละครับ

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าเครื่องฟังก์ชันนอลเอ็มอาร์ไอ ก็ยังทำให้เราเรียนรู้ถึงพลังอีกด้านหนึ่งด้วยครับ นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า ตอนที่เราอารมณ์ในแง่บวกนั้น สมองส่วนที่ทำงานมาก คือ สมองชั้นนอกซีกซ้ายด้านหน้า (left pre-frontal lobe) ครับ สมองส่วนนี้เป็นส่วนควบคุมการรู้คิดเหตุผล ส่วนพุทธิปัญญา (intellect) ของเรา เวลาเรารู้สึกสบาย มีความรัก รู้สึกปลอดภัย พร้อมจะเรียนรู้สมองส่วนนี้จะเริงร่าทำงานมาก

การที่เราเข้าใจกระบวนการของพลังทั้งในแง่ลบและแง่บวกนี้เป็นประโยชน์มาก เรารู้ว่าสมองทั้งสองส่วนนั้นเป็นขั้วตรงข้าม ทำงานคุมกันและกัน เวลาเราโกรธ หรือกลัวนั้น สมองชั้นนอกซีกซ้ายด้านหน้าจะทำงานน้อย ในขณะเดียวกันอมิกดาลาจะทำงานมาก สั่งว่าฉันไม่ขอรับรู้อะไรมากนักหรอก เพราะฉันกำลังรู้สึกว่ากำลังอันตรายต้องใช้พื้นที่เมมโมรี่สมองเยอะๆ เอาไว้ต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น หรือถึงระดับเจไดอย่างอนาคินใครจะห้ามก็ไม่อยากจะฟัง อาจารย์อย่างโอบีวันก็ไม่เว้น เรียกว่าช้างมาฉุดก็ไม่อยู่ ว่าอย่างนั้นเถอะ เวลาเราเข้าไปอยู่ในความทุกข์ ไปเปิดวงจรลบของพลัง (dark side) นี่แล้วจะปิดยากครับ

แต่ก็ใช่ว่าพลังในแง่ลบจะชนะเสมอไปนะครับ เพราะหากว่าสมองชั้นนอกซีกซ้ายด้านหน้ามาทำงานมากขึ้น สมองส่วนอมิกดาลาจะลดการทำงานลง ดังนั้น เราจึงต้องฝึกฝนตัวเองให้ดีครับ ต้องฝึกส่วนที่บังคับตนเองนี่ให้คล่องแคล่วครับ (เหมือนกับที่โยดา ปรมาจารย์เจไดคอยพร่ำสอนเหล่าลูกศิษย์) ต้องรู้จักฝึกใช้สติ ใช้ปัญญาบ่อยๆ ครับ แบบว่าเรียกปุ๊บมาช่วยปั๊บทันทีอย่างนั้นเลย

ตัวอย่างคนที่ฝึกได้เช่นนี้จริงๆ ก็มีนะครับ ลูกศิษย์ท่านทะไลลามะนี่ชัดเลยครับ เข้าเครื่องวัดนี่กราฟพุ่งเลย เรียกว่า พอจะโกรธท่านเรียกพลังบวกออกมา จัดการได้ทันทีทันควัน ท่านพิสูจน์ได้ว่าส่วนจิตวิญญาณแท้ที่จริงก็คือ การฝึกจิต และการฝึกจิตนั้นสามารถเปลี่ยนสมอง นั่นคือ เปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วย

เป็นอย่างไรบ้างครับ อ่านแล้วเกิดแรงบันดาลใจอยากไปฝึกเป็นอัศวินเจได ฝึกสร้างเสริมพลังในแง่บวก (ฝึกเจริญสติ ฝึกสมาธิวิปัสสนา) กับเขาบ้างหรือยัง?

ขอให้พลังจงอยู่กับคุณครับ! May the Force be with you! :-)

เรื่อง : สรยุทธ รัตนพจนารถ