การเงินส่วนบุคคล Personal Finance

ความหมาย - การเงินส่วนบุคคล Personal Finance

จุดมุ่งหมายของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นการบริหารเงินในส่วนของบุคคล ให้บรรลุจุดมุ่งหมาย “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ บุคคลได้รับในสิ่งที่ตนหวังไว้ โดยเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับตนเองและครอบครัวเสียแต่เนิ่น ๆ แล้ว ก็ย่อมทำให้ทุกคน มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้

การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) หมายถึง การจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรู้จัก จัดหาเงินเข้ามา และใช้จ่ายออกไปอย่างถูกต้อง บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ความหมายของคำว่า “การบริหารการเงินส่วนบุคคล”

ความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

เพื่อให้คน วางแผนการเงิน ของตนเองและ ครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้คนตระหนักถึงความสำคัญ
ในการใช้จ่าย อย่างถูกต้อง ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต จะก่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการวางแผนการเงิน

ขอบเขตของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

1. การสร้างฐานะความมั่นคงทางการเงิน
2. การรู้จัดใช้เงินอย่างฉลาด
3. การใช้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย
4. การสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยการทำประกันภัย
5. การลงทุนประเภทต่างๆเลือกหลักทรัพย์ลงทุนและสถาบันที่จะลงทุนให้เหมาะสม
6. การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตยามปลดเกษียณ

ข้อคิดเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล


1. เวลาเป็นของมีค่าในการบริหารการเงินส่วนบุคคลควรจะใช้เวลาให้น้อยที่สุด
2. การจัดการเกี่ยวกับการเงินควรจะมีการยืดหยุ่นได้
3. ควรมีการปรับปรุงแผนงานระยะยาว และควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
4. ควรมีการวางแผนทางการเงินของครอบครัว สามีและภรรยาควรเข้าใจในแผนงานนี้ร่วมกัน
5. การซื้อของราคาแพงแล้วได้สินค้าคุณภาพดี จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว
6. ควรหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น
7. พยายามเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
8. พยายามบริหารเงินที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด
9. ควรพัฒนาปรับปรุงงานอดิเรกที่ทำอยู่ให้มีผลประโยชน์เกิดขึ้น
10. ใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพิ่มพูน
11. ควรวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับเรื่องของเวลาเสมอ

การวางแผนทางการเงินของบุคคล (Personal Finanace Program)

เป้าหมายในชีวิตของบุคคล (Personal Goals in Life)

ก. เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงิน (Financial Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินของบุคคล อันจะมีผลให้ ฐานะการเงินของบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลง
ข. เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับเงิน (Nonfinancial Goals) บางครั้งเงินก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลมุ่งหวังเสมอไป ทัศนคติ ความนึกคิด เกี่ยวกับ ครอบครัว สังคม ศีลธรรมและศาสนา อาจมีค่าสำคัญกว่าเงินก็ได้เพราะบางคนถือว่า เงินไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต

การวางแผนชีวิตของบุคคล

แผนระยะสั้น (Short-term or current planning) แผนระยะสั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง
แผนระยะยาว (Long-term Planning) การวางแผนระยะยาวส่วนใหญ่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ การสร้างฐานะความมั่นคง ให้บุคคลในอนาคต

ที่มาของรายได้ของบุคคล ได้มาจากหลายทาง เช่น จากงานประจำที่ทำอยู่ การทำงานอดิเรกดอกผลที่เกิดขึ้นจาก สินทรัพย์ลงทุน ตลอดจนบำเหน็จบำนาญ และ สวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับ มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็น เครื่องกำหนด รายได้ของบุคคล และความปรารถนาของแต่ละบุคคล ว่าต้องการมีรายได้มากเพียงใด ซึ่งเขาก็ต้อง ขวนขวายให้ได้มา ซึ่งรายได้นั้น

การใช้จ่ายของบุคคล

รายได้ที่บุคคลได้มา มักจำเป็นต่อการดำรงชีพซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นอกจากนั้น เป็นการจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกสบาย การใช้จ่ายเกี่ยวกับพันธะทางการเงินที่มีอยู่ เช่น ค่าเบี้ยประกัน ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนค่าภาษี เป็นต้น

การวางแผนการเงินในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล (Personal Financial Planning Life Cycle) ระยะเริ่มตั้งครอบครัว (The beginning family) ระยะขยายครอบครัว (The expanding family) ระยะการแยกย้ายครอบครัว (The launching family) ระยะช่วงกลางของครอบครัว (The middle-age family) ระยะเมื่อเข้าสู่วัยชรา (The Old-age family) แบ่งเป็น 5 ระยะ

ภาวะเงินเฟ้อกับการวางแผนการเงิน (Inflation and Financial Planning)

การพิจารณาว่าภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นดูได้จาก ดัชนีราคาผู้บริโภค ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากปีฐาน เป็นจำนวนเท่าใด หากภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็จะทำการเข้าแทรกแซง

เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันมีสาเหตุเนื่องมาจาก ความต้องการสินค้ามีมาก หรืออาจเป็น เพราะต้นทุนของสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นก็ได้

การวัดฐานะการเงินของบุคคล

การที่จะรู้ถึง ฐานะการเงิน ณ วันนี้ของเราได้นั้นในช่วงรอบปีที่ผ่านมา จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินทุกรายการ ที่เกิดขึ้น และนำมาทำสรุปออกมา เป็นรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “งบการเงิน” ข้อมูลตัวเลข ใน งบการเงิน จะบอกให้ ทราบได้ว่า ขณะนี้ฐานะการเงินของท่านกำลังอยู่ ณ จุดไหน เมื่อทราบฐานะการเงินแท้จริง ณ ขณะนี้ได้ต่อไป ท่านจะสามารถ วางแผนการเงิน สำหรับอนาคตได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ไป

งบการเงินของบุคคล งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบสรุปฐานะการเงินของบุคคล ณ เวลาหนึ่งเพื่อบอกให้ทราบว่า ณ เวลานั้น เขามีสินทรัพย์ หนี้สิน และ เงินทุนส่วนที่เป็นของเขาเองอยู่เท่าไร เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความมั่งคั่ง (Wealth) ของบุคคลนั้นคำนวณได้จากสูตร

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

งบการเงินของบุคคล (Personal Financial Statements) ประกอบด้วยงบดุล (Balance Sheet of Statement of Finanacial Position) และงบรายได้และค่าใช้จ่าย (Income anExpenditures Statement)

สินทรัพย์ (Assets) คือ รายการทรัพย์สินต่าง ๆ ที่บุคคลเป็นเจ้าของอยู่ซึ่งมีมากมายหลายประเภทแตกต่างกัน ตามลักษณะและ ประโยชน์ของการใช้สอย สินทรัพย์ต่าง ๆ ได้แก่เช่น เงินสด เงินฝากบ้าน รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น ในการบริหารการเงินนิยมจัดกลุ่มสินทรัพย์ของบุคคลออกเป็น 4 กลุ่มคือ งบการเงินของบุคคล

งบการเงินของบุคคล

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Assets)
ทรัพย์สินแท้จริง (Real Property)
ทรัพย์สินส่วนตัว(Personal Property
ทรัพย์สินลงทุน(Investments)

หนี้สิน (Liabilities) คือเงินที่เราได้กู้ยืมคนอื่นเขามา (the money you owe) และมีพันธะต้องชำระคืนในอนาคต หนี้สินอาจจะเป็นหนี้สินส่วนตัวหรือหนี้สินของครอบครัวก็ตาม เช่น

หนี้ค้างชำระค่าสินค้าจากร้านค้า
หนี้ค้างชำระของบัตรเครดิต
หนี้ค้างชำระในการซื้อของผ่อนส่ง
หนี้เงินกู้ธนาคาร
หนี้ซื้อที่ดินผ่อนบ้าน เป็นต้น

งบการเงินของบุคคลโดยทั่วไปจะแบ่งหนี้สินออกเป็น

1. ค่าบิลค้างชำระ (Unpaid Bill)
2. เครดิตหมุนเวียน (Revolving Credit)
3. หนี้ค่าผ่อนสินค้า (Consumer Installment Loans)
4. หนี้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Loans)

ส่วนของเจ้าของ (Net worth) หมายถึง สินทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากหักหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดออกไปแล้ว ซึ่งส่วนที่เหลือนี้จะเป็นทรัพย์สินที่บุคคลเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงและเป็นสิ่งแสดงถึงความมั่งคั่งของบุคคลนั้นด้วย จากสูตร

Total assets – Total liabilities = Net worth

ยิ่ง Net worth ของบุคคลมีเพิ่มขึ้นเท่าไรก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบุคคลนั้นที่ยิ่งมีเพิ่มขึ้น และ Net worth นี่เองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป้าหมายทางการเงิน (Financial Goal) ที่บุคคลวางไว้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการบริหารการเงินที่ดีบุคคลควรหาทางทำให้ Net worth ของตนเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

ในการใช้ชีวิตประจำวันพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม หาทางที่ว่าทำอย่างไร จึงจะหารายได้ ให้ได้มากขึ้นและใช้จ่ายให้ลดลง การเลือกลงทุนซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ต้องเลือกสินทรัพย์ที่ดี มีโอกาสที่มูลค่าสินทรัพย์นั้น จะเพิ่มขึ้นได้ วิธีการเพิ่มความมั่นคั่งให้กับบุคคล หาทางเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนให้สูงขึ้น เช่น การลงทุนใน
หลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยพยายามซื้อหุ้นบริษัทดี ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูง มาไว้ในกองหลักทรัพย์ลงทุนของตน อย่าก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น สำหรับหนี้สินที่มีอยู่แล้วควรพยายามหาทางชำระให้หมดภายในเวลาอันรวดเร็วด้วย

งบรายได้และค่าใช้จ่าย (Income and Expenditures Statement)

การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของบุคคลจะบันทึกโดยใช้เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) กล่าวคือจะมี การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ต่อเมื่อได้มีการรับเงินสดเข้ามาจริง และจ่ายเงินสดออกไปจริง ๆ เท่านั้น รายได้ (Income) คือ จำนวนเงินสดที่บุคคลได้รับเข้ามา อาจได้จากหลายทาง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส ค่าคอมมิสชั่น เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ เงินรับค่ากรมธรรม์ประกันชีวิต เงินบำเหน็จบำนาญกองทุนเลี้ยงชีพ และเงินค่าประกันสังคม ตลอดจนเงินได้รับอื่น ๆ เช่น การขายทรัพย์สิน เงินรางวัลตอบแทนต่าง ๆ เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย (Expenditure) ค่าใช้จ่ายหรือจำนวนเงินสดที่บุคคลใช้จ่ายออกไป (The Amount of Cash Out) บุคคลมีการใช้จ่าย มากมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่าง ๆ กัน เช่น การใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิตประจำวัน ,การใช้เพื่อซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ บางอย่าง, การใช้จ่ายค่าภาษี และการชำระหนี้สินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้บางรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed expenditures) ต้องจ่ายเท่ากันทุกงวดจำนวนแน่นอน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ แต่บางรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายผันแปร คือจำนวนที่จ่ายไม่คงที่แน่นอน ผันแปรไปตามเหตุการณ์ความจำเป็น เช่น ค่าอาหาร เสื้อผ้า หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนบันเทิง

ประโยชน์ของงบการเงิน เพื่อจะได้หาแนวทางว่าต่อไปเราควรทำอย่างไร จึงจะทำให้ฐานะการเงิน อันจะนำไปถึง จุดหมายทางการเงินที่วางไว้ ยังเป็นประโยชน์สำหรับธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะใช้ประเมินฐานะของผู้มาขอกู้เงินด้วย เพื่อใช้ดูว่าผู้กู้มีความเสี่ยงทางการเงินเพียงใด เหมาะสมจะให้กู้ยืมหรือไม่ ซึ่งธนาคารจะเอาตัวเลขจากรายการต่าง ๆ ในงบการเงินนี้มาประเมินหาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อจะวิเคราะห์ถึงความมั่นคงทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้คืน ในอนาคตของบุคคลนั้น

การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตของบุคคล (Planning Personal Future)

แนวความคิดในการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Financial Goal Concepts)

เพิ่มพูน (Accumulation) เป็นการสะสม หรือ ทำให้ทรัพยากรการเงิน ที่มีอยู่นั้นยิ่งมีเพิ่มพูนขึ้น ด้วยการให้ เงินสดที่ได้มา (Cash inflow) เปลี่ยนสภาพไปเป็นเงินทุน (Capital) ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งขึ้น การรักษาไว้ (Preservation) เพื่อเป็นการคงฐานะและรักษาคุณภาพชีวิตของบุคคลไว้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรืออย่างน้อย ก็รักษาความเป็นอยู่ให้เหมือนเดิม แม้ว่าเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนไป Go golf! การแบ่งสรรออกไป (Distribution) แนวความคิดนี้เป็นลักษณะของการให้กล่าวคือ เป็นการจัดสรร หรือ แบ่งปันทรัพยากรการเงิน ที่มีอยู่ออกไปอย่างเหมาะสม เพื่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลอื่นตลอดจนสังคมที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ เป้าหมายระยะสั้น, เป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะสั้น เป็นการวางแผนสำหรับช่วงเวลาอันสั้น มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี การวางแผนทางการเงินระยะสั้น เป็นการวางแผน เพื่ออนาคตอันใกล้ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกันเรื่องการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การเก็บเงินออมใช้ยามจำเป็น การซื้อของเงินผ่อน การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว การเดินทาง ตลอดจนการต้องการ ความคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลา อันสั้นของบุคคล เป้าหมายระยะยาว เป็นการวางแผนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี อาจจะไปถึง 5, 10, 20 ปีข้างหน้า เป้าหมายทางการเงินระยะยาว ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับ การจัดสรรเงิน ไว้สำหรับอนาคตวันข้างหน้า และ เพื่อความมั่นคง ความสุขสบาย ในบั้นปลายของชีวิต ด้วย การวางแผนส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวกับเรื่อง การลงทุน อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ถาวร,การวางแผนเกษียณอายุ ,การพักผ่อนท่องเที่ยว

บทบาทของงบประมาณในการวางแผนการเงิน

คือการจัดระบบข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับ การคาดคะเน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งในงบประมาณจะประกอบด้วย การประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระยะสั้น เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ให้อยู่ภายใน ขอบเขตที่ต้องการ งบประมาณ (Budgeting) งบประมาณ (Budgeting)

การทำงบประมาณนับว่า มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคคล และครอบครัวเของเขา เพราะช่วยให้การใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ภายใน ขอบเขตที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่เกิดปัญหา การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือการซื้อหาสิ่งใดโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และเมื่อมีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายในขอบเขตแล้วก็จะทำให้มีเงินเหลือใช้ สามารถเก็บออมไว้สำหรับวันข้างหน้าได้ นอกจากนั้นใน งบประมาณ ซึ่งได้มีการประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ล่วงหน้า ก็จะทำให้ไม่มีปัญหา เมื่อถึงเวลาที่จะต้อง จ่ายเงินออกไปจริง ๆ เพราะได้มีการเตรียมค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเผื่อไว้แล้ว

การจัดทำงบประมาณเงินสด (Setting a cash budget)

การทำงบประมาณเป็นการประมาณการรายได้ และค่าใช้จ่ายของบุคคลที่คาดว่าจะมีขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เหล่านี้จะต้องเป็น รายการที่อยู่ใน รูปของเงินสดเท่านั้น (Cash Basis) ดังนั้นงบประมาณที่ทำขึ้น จึงนิยมเรียกว่า งบประมาณเงินสด (Cash budget) งบประมาณเงินสด

ขั้นตอนเกี่ยวกับการงบประมาณ (The Budgeting Process)

  1. การคาดคะเนรายได้หรือเงินสดรับ (Estimating incomes or cash inflow)
  2. การคาดคะเนค่าใช้จ่าย (Estimating expenditures)
  3. การทำสรุปงบประมาณ (Finalizing the cash budget)
  4. การปรับปรุงงบประมาณ (Adjustments)
เงินสด และ กลยุทธ์การบริหารเงินสด (Cash Management)

การถือเงินสดมากเกินไปก็จะมีผลเสีย เพราะเงินสดไม่ได้ผลตอบแทนหรือมีค่างอกเงยขึ้นแต่ประการใด ซ้ำยังเกิดค่าต้นทุนแห่งการเสียโอกาส ถ้านำเงินสดไปลงทุนหาผลประโยชน์ เช่น ฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้นถือไว้ก็ยังจะได้ดอกผลอีกจำนวนหนึ่งขึ้นมา ดังนั้นบุคคลควรจะได้มีการบริหารเงินสดอย่างถูกต้อง

เงินสดที่ดี (Sound cash management) คือ การที่บุคคลรู้จักกะประมาณเงินสดที่อยู่ในมือให้น้อยที่สุด โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาเงินสดขาดมือ

สาเหตุในการถือเงินสดของบุคคลก็เพื่อประโยชน์ 3 ประการ

1. เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็น (Undertake Transaction)

2. เพื่อเป็นเงินสดสำรองไว้ยามฉุกเฉิน (Emergency Reserves)

3. เพื่อการสะสมมูลค่า (Store of value)

บริการเช็คของธนาคาร

แคชเชียร์เช็ค คือ เช็คของธนาคารเองที่ออกให้กับลูกค้าโดยธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คนั้น เช็คนี้จะระบุชื่อผู้รับเงินไว้ ลูกค้าสามารถ ขอซื้อแคชเชียร์เช็คไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ
เช็คที่ธนาคารรับรอง คือ เช็คที่ธนาคารเข้ามาผูกพันในการจ่ายเงินตามเช็ค การที่ธนาคารให้การรับรองเช็คฉบับใดก็เท่ากับว่าให้การรับรองว่าธนาคารเองจะจ่ายเงินตามเช็คฉบับนี้อย่างแน่นอน เช็คเดินทาง เป็นเช็คที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางที่จะเดินทางไปไหน ๆ ได้โดยไม่ต้องพกเงินสดติดตัวไปมาก เพียงแต่ซื้อเช็คเดินทางไว้ก็สามารถนำไปขึ้นเงินตามสถานที่ที่เดินทางไปได้

เงินฝากออมทรัพย์ (Saving Accounts) เงินฝากออมทรัพย์เป็นเงินฝากที่ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการเก็บออม โดยการสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยรวมกันเข้าเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้าเมื่อมีความจำเป็น เงินฝากดังกล่าวจะมีการจ่ายดอกเบี้ยให้ และในการฝากถอนก็สะดวกเพราะมีสมุดคู่ฝากให้สำหรับบันทึกรายการฝากถอนทุกครั้ง จะฝากจะถอนเงินเมื่อไรก็ได้ มีสถาบันการเงินหลายแหล่งที่ให้บริการเงินฝากออมทรัพย์กับประชาชน

ประโยชน์ของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
1. จำนวนเงินไม่มากนัก อีกทั้งยังได้ดอกเบี้ยด้วย โดยดอกเบี้ยไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีบ้างแต่ไม่มากนัก
2. เหมาะสำหรับเป็นบัญชีพักไว้ชั่วคราวของเงินลงทุน
3. เป็นการส่งเสริมให้มีการออมเงินไปในตัว เพราะฝากได้ง่าย และสะดวกดี
4.เยาวชนการมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เป็นการเสริมสร้างนิสัยให้เด็กรู้จักประหยัดเก็บออม และใช้จ่ายเงินเป็น

บัตรเงินฝาก
เป็นเงินฝากประเภทหนึ่งคล้ายเงินฝากประจำ เป็นตราสารที่ธนาคารออกให้กับ ผู้ต้องการลงทุนโดยธนาคาร ให้คำมั่นว่าจะใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด

บทที่ 8 การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย (Housing)

ประเภทของที่อยู่อาศัย l l บ้านเดี่ยว (Single-family homes) l
อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว (Shop houses) l
ทาวน์เฮ้าส์ (Townhouse) l
แฟลตหรืออพาร์เม้นท์ (Flat or spartment) l
คอนโดมิเนียม (Condominium) l
สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative housing) l
บ้านเคลื่อนที่ (Mobile home) l
บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย (Time-share homes)

การซื้อบ้าน (Buying Housing) lสิ่งที่ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ ทำเลที่ตั้ง (Location) ในการซื้อบ้านการพิจารณาถึงทำเลที่ต้องมีความสำคัญมาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่อยู่อาศัยคนหนึ่งได้กล่าวว่า “เมื่อท่านซื้อบ้าน แท้จริงแล้วสิ่งที่ท่านต้องการซื้อก็คือ เพื่อนบ้านนั้นเอง” เพราะถ้ามีเพื่อนบ้านดีมีความเข้าใจช่วยเหลือไหว้วานกันได้ ทุกคนที่อยู่ใกล้กันก็มีความสุขสบายใจ

การซื้อบ้าน (Buying Housing) v ไม่ห่างไกลจากตัวเมือง การเดินทางสะดวก มีรถโดยสารผ่านหลาย สาย v มีสถานที่สำคัญ ๆ ตั้งอยู่ใกล้ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด v สภาพแวดล้อมร่มรื่นมีต้นไม้อยู่ทั่วไป v ถนนหนทางสะดวก ท่อระบายน้ำดี มีไฟถนนให้ความสว่าง v บริการประปา และโทรศัพท์ไปถึง v อื่น ๆ เช่น มียามให้การรักษาความปลอดภัย คอยตรวจตราเสมอ เป็นต้น

l ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยควรเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องนี้หากเทศบาลหรือท้องถิ่นได้ออกกฎหมายกำหนด1.
อย่างแน่นอนว่า ย่านใดกำหนดให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยก็ควรเลือกซื้อบ้านในโซนที่กำหนดไว้เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง l การซื้อบ้าน (Buying Housing)

l สนามหญ้า (Yard) ควรเลือกบ้านที่มีบริเวณบ้านหรือสนามอย่างเพียงพอ เพื่อจะได้เป็นที่พักผ่อนเดินเล่น หรือ ออกกำลังกายได้ แต่ปัจจุบันราคาที่ดินสูง ดังนั้นควรเลือกโครงการที่มีสวนสาธารณะ หรือสถานที่พักผ่อนที่เป็นส่วนกลางให้ การซื้อบ้าน (Buying Housing) สิ่งก่อสร้างภายนอกบ้าน (Exterior construction) ตัวบ้านควรมีความแข็งแรง คงทนถาวร แน่นหนาพอสมควร วัตถุที่ใช้ การทาสี ฝีมือการก่อสร้างก็ไม่หยาบ มีความละเอียดปราณีต กล่าวคือ เมื่อดูรวม ๆ แล้วมีความคงทนต่อแดดฝน ภาวะอากาศพอที่จะอยู่อาศัยไปอีกนาน

การประเมินกำลังเงินในการซื้อบ้าน

หลักในการพิจารณาว่าคนเราควรจะมีเงินสักเท่าไรจึงเหมาะสมที่จะหาซื้อบ้านโดยไม่มีปัญหาทางการเงินเกิดขึ้นนั้น ได้มีผู้ให้แนวทางไว้ดังนี้
1. มูลค่าบ้านที่ซื้อ ไม่ควรเกินสองเท่าของรายได้ทั้งสิ้นของครอบครัว เช่น ถ้ารายได้ทั้งสิ้นของครอบครัวปีละ 250000 บาท ก็ควรซื้อบ้านในราคาอย่างสูงไม่ควรเกิน 500000บาท 2. ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของการมีบ้านจะต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของรายได้ที่ได้รับแต่ละเดือน โดยพิจรณาถึงอัตราส่วนความสามารถในการจัดหาที่อยู่อาศัยหรือที่เรียกว่า Affordability ratio ซึ่งเป็นการวัดถึงอัตราส่วนความสามารถในการจัดหาที่อยู่จะรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

การเดินทาง และเครื่องใช้ที่จำเป็น (Transportation and Major Appliance)

บทที่ 9 การใช้จ่ายทางด้านยานพาหนะ


คุณสมบัติของรถยนต์ที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการ •ทัศนคติในการลงทุนซื้อรถของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเพื่อความจำเป็นทางด้านการค้า, หรือเพื่อใช้เดินทาง, บางคนก็ต้องการความโก้หรู ดังนั้นควรพิจารณาคุณสมบัติ ที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ความจุของรถ2. ค่าใช้จ่ายสำหรับรถ3. ความสะดวกสบาย 4. ความเชื่อถือได้5. การสนับสนุนนโยบายของรัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อม

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
เนื่องจากรถใหม่มีราคาค่อนข้างแพง จึงควรพิจารณาและพิถีพิถันเป็นพิเศษ และควรสนใจในเรื่องของ 1. การเลือกรถยนต์2. การพิจารณาราคาที่เหมาะสม 3. การต่อรองกับผู้ขาย

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
1. การเลือกรถยนต์1.1 ความเชื่อถือได้ รถแต่ละยี่ห้อเป็นที่กล่าวถึงต่างกันในการเลือกซื้อควรเลือกยี้ห้อที่เป็นที่ยอมรับ โดยการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ1.2 การประกันรถ ควรเปรียบเทียบการประกันว่ามีมากน้อยเพียงไร เงื่อนไขเหมาะสมหรือไม่1.3 ระบบเครื่องแบบธรรมดาหรือมีให้เลือกพิเศษ ควรคำนึงถึงราคาหากมีระบบอัตโนมัติต่างๆ ราคาก็เพิ่มสูงขึ้นตาม1.4 ราคาขายต่อ ควรคำนึงถึงผลกระทบกับราคาขายต่อของรถด้วย1.5 การทดลองขับ อย่าซื้อรถที่รู้สึกไม่สะดวกหรือไม่คล่องตัวเมื่อทดลองขับ

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
2. การพิจารณาราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปราคาจำหน่ายรถยนต์จะมีราคาหน้าร้าน
(windows sticker)
ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ผลิตกำหนดให้ผู้ขายตั้งราคาจำหน่ายไว้
ซึ่งในทางปฎิบัติผู้ซื้ออาจไม่จำเป็นต้องซื้อในราคานี้ และสามารถต่อรองราคาที่ต่ำกว่าราคาตามป้ายได้

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
3. การต่อรองกับผู้ขาย1. ในเมืองไทยรถใหม่ทุกคันจะตั้งราคาขายเท่ากันหมด แต่หากลูกค้าซื้อกับตัวแทนต่างๆ ผู้ขายอาจมีการตัดค่าคอมมิชชั่นของตนลง หรืออาจใช้วิธีมีของแถมให้เป็นต้นว่า ติดตั้งวิทยุ กันสนิม ฯลฯ แล้วแต่จะตกลงกัน2. หากทำการซื้อโดยเอารถเก่ามาแลกกรณีที่ลูกค้าขายรถเก่าผ่านศูนย์ค้ารถเก่าของบริษัทเดิมมักได้ราคาสูง และเป็นธรรมกว่าเอารถของตนไปให้กับเต็นท์ในการตีราคา
การซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้ว (Buying a used cars)•ผู้บริโภคบางรายหันมาซื้อรถเก่าหรือรถมือสองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในปัจจุบันรถยนต์ใหม่มีราคาแพง การซื้อรถมือสองมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนั้นควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ 2. ตรวจสอบสภาพรถ3. การทดลองขับ4. การตรวจสอบโดยช่างยนต์มืออาชีพ5. การกำหนดราคาซื่อที่เหมาะสม1. แหล่งขายรถยนต์ใช้แล้ว ควรสืบถามราคาเปรียบเทียบจากตัวแทน ต่างๆ เสียก่อน

คุณสมบัติของรถยนต์ที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการ

•ทัศนคติในการลงทุนซื้อรถของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเพื่อความจำเป็นทางด้านการค้า, หรือเพื่อใช้เดินทาง, บางคนก็ต้องการความโก้หรู ดังนั้นควรพิจารณาคุณสมบัติ ที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ความจุของรถ2. ค่าใช้จ่ายสำหรับรถ3. ความสะดวกสบาย 4. ความเชื่อถือได้5. การสนับสนุนนโยบายของรัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อม
เงินกู้เพื่อการซื้อรถยนต์ (Financing a car)สถาบันการเงินที่รองรับ ธนาคาร (Banks) สหกรณ์ออมทรัพย์ (Credit union) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ (Dealer) บริษัทเงินทุน (finance company)

เครื่องใช้ที่จำเป็น (Major Appliances) สินทรัพย์ของบุคคลที่มีความสำคัญรองลงมาจากบ้านและ รถยนต์ก็คือพวกเครื่องใช้รายการสำคัญๆ ต่างๆ เช่น พวกเครื่องใช้คงทนถาวรและเฟอร์นิเจอร์ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานพอสมควรและมีราคาที่เหมาะสม และควรคำนึงถึงต้นทุนของการใช้งาน และการซ่อมแซมบำรุงรักษา โดยทั่วไปแล้วเรามักซื้อหาด้วยวิธีเงินสดหรือเงินผ่อน แต่ไม่นิยมเช่าของใช้ในบ้านเท่าไรนัก

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)การวางแผนในการซื้อ กำหนดวัตถุประสงค์
การประเมินค่าเครื่องใช้ที่ต้องการซื้อ ความถี่ในการใช้ ต้องซ่อมบ่อยครั้ง ค่าโสหุ้ยในการใช้ ราคา
ลักษณะรูปแบบ

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)กำหนดแนวทางในการซื้อ

  1. หาแผ่นโฆษณาของเครื่องใช้ที่จะซื้อมาศึกษาดู
  2. พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่เคยใช้มาแล้วเป็นอย่างไร
  3. ตัดสินใจวางแนวทางของตนเองว่าเราจะซื้ออะไร
  4. กำหนดงบประมาณที่จะซื้อ
  5. เลือกจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ
  6. เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ชนิดใดรูปแบบใด
ความเสี่ยงกับการประกับชีวิตและสุขภาพ (Risk Management with Life and Health Insurance)

ความสำคัญและความหมายของความเสี่ยง

ความเสียงคือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งนำความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น และอาจวัดมูลค่าออกมา ทางเศรษฐกิจและเป็นตัวเงิน lความเสี่ยงมีหลายอย่าง เช่น ความตาย ความพิการ ความสูญเสียทรัพย์สินและรายได้ lไม่มีใครสามารถขจัดความเสี่ยงได้ แต่มีหนทางที่ป้องกัน

ประเภทของความเสี่ยง Pure risk Speculative risk Property risk Liabillity risk Personal risk เป็นความเสี่ยงที่อาจ มีทั้งได้และเสีย อาจเกิดโอกาสสูญเสียทรัพย์สิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คิด เป็นการที่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล

4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยง

  1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างง่ายที่สุด คือการไม่ไปเกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ที่จะเกิด ความเสียหายแก่เรา อย่างไรก็ตามภัยบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความตาย
  2. การลดความเสี่ยง โดยการเพิ่มความป้องกันความปลอดภัยเข้าไป และในบ้างครั้งอาจทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้นระดับของความต้องการรักษาความปลอดภัยก็จะแตกต่างไปตามแต่ความจำเป็นของแต่ ละบุคคล
  3. การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ หรือต้องยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น เจ้าของบ้านไม่สนใจในเรื่องการทำประกันอัคคีภัย หากเกิดไฟไหม้เขาก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงทั้งหมด
  4. การโอนความเสี่ยง โดยการโอนความเสี่ยงให้แก่สถาบันอื่น เช่นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับภาระแทน

ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง

จำแนกลักษณะของภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวรวมถึง ประเมินความเสียหายหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น lเลือกกลยุทธ์ในการป้องกันแก้ไขความเสี่ยงนั้นให้เหมาะสม

การควบคุมและติดตามผล

ประกันชีวิตคืออะไร .. ประกันทำไม .. เพื่อใคร
lประกันชีวิต –เป็นแผนการออมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ผลประโยชน์กว่าการออมทรัพย์ โดยปกติเพราะจะได้ ทั้งเงินออม และความคุ้มครอง
ประกันทำไม – คนเราต้องเผชิญกับภัยอันตรารอบด้าน และเรามาสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร เวลาใด
lเพื่อใคร –จะช่วยเหลือผู้เอาประกันและครอบครัวของผู้เอาประกัน


แบบของประกันชีวิต

1. การประกันแบบชั่วระยะเวลา 2. การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 3. การประกันแบบสะสมทรัพย์ 4. การประกันแบบเงินได้ประจำ 5. การประกันชีวิตแบบอื่นๆ


การวางแผนทางการเงินเพื่อการทำประกันชีวิตที่ดี

1. กำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
2. วางแผนการซื้อประกัน
3. การประเมินผลและควบคุมอะไรคือความต้องการ .. และเหมาะสมกับเงินออม ที่มีอยู่หรือไม่ ปรับปรุงกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวอยู่เสมอ จัดสรรเงินออมอย่างเหมาะสม โดยปกติคนทั่วไปมักเก็บเงิน 10 –15% เพื่อทำประกันชีวิต


ประโยชน์ทางการเงินของการประกันชีวิต เป็นแหล่งเงินออมที่สามารถ กู้ยามฉุกเฉินได้ เป็นการลงทุนให้เกิดดอกผล สามารถนำไปหักลดหย่อน ในการเสียภาษีเงินได้

การประกันสุขภาพ lการประกันสังคม lกองทุนเงินชดเชย lการประกันสุขภาพกลุ่ม lโครงการประกันสุขภาพของศูนย์สุขภาพ lการประกันสุขภาพรายบุคคลของบริษัทประกัน lบัตรประกันสุขภาพ สถาบันที่ให้ความคุ้มครองทางด้านสุขภาพของบุคคล

เอกสารที่เกี่ยวข้องแผนการตลาด –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lงบประมาณ –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lโพสท์มอร์เท็ม (Post mortem) –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lที่ติดต่อสอบถาม –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 081-6895711 สมพจน์ Fax 02-7048660 E-mail sompoj@srp-consult.com