ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

การประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance)

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัย รับภาระการเสี่ยงภัยต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายจาก ภยันตรายนานาประการ อันอาจเกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ซึ่งปกติแล้วความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย หรือสูญเสียของทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างการขนส่งนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัย

ความหมาย

ข้อตกลงที่ฝ่ายผู้รับประกันภัยให้คำมั่นสัญญาจะให้ความคุ้มครองนี้ จะกระทำเป็นหนังสือในเอกสารที่เรียกว่า กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งตามกฎหมายประกันภัยทางทะเลของอังกฤษได้ให้คำนิยามไว้ว่า " สัญญาประกันภัยทางทะเล " หมายความว่า สัญญาที่ฝ่ายผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยตามเงื่อนไขและจำนวนเงินที่กำหนดตกลงไว้ เมื่อเกิดวินาศภัยทางทะเลกล่าวคือ ความวินาศภัยอันเกิดจาก อุบัติการณ์ของภัยทางทะเล

Marine Insuranceการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. Marine Cargo Insurance คือ การประกันเพื่อคุ้มครองสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่ง ระหว่างประเทศจากผู้ขาย ในประเทศหนึ่งไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่งโดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์ จากอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เรือถูกไฟไหม้ เรือคว่ำ เรือจม ความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าขึ้น หรือขนลงจากเรือ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวสินค้า ในบางครั้งอาจมีการขยายความคุ้มครองในขณะทำสัญญา ให้ความคุ้มครองถึงความเสียหาย ขณะลำเลียงสินค้าทางรถยนต์ หรือรถไฟ เป็นต้น รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากผู้ขายในประเทศหนึ่งไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศ หนึ่ง โดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์

2. Inland Transit Insurance คือ การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศยาน รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งคือ รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ, รถเทรลเลอร์ เรือฉลอม เรือโป๊ะ และ เครื่องบินพาณิชย์

3. Marine Hull Insurance คือ การประกันภัยตัวเรือประกันภัยคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายของโครงสร้างตัวเรือ รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ประเภทไม่มีเครื่องจักร ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเรือ รวมถึงอุปกรณ์บนเรือ และสัมภาระต่าง ๆ
  2. ประเภทที่มีเครื่องจักรหรือกำลังขับเคลื่อนเอง คือ ส่วนที่ให้พลังงานการเดินเรือ ทำความร้อน ทำความเย็น

หลักการสำคัญของการประกันภัยทางทะเล

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะหลักการที่ใช้ในการประกันภัยทางทะเล ซึ่งต่างจากหลักการของการประกันภัยประเภทอื่นดังนี้

หลักส่วนได้เสียในการประกันภัย ( Insurable Interest )การประกันภัยประเภทนี้จะต่างจากประเภทอื่นตรงที่ ใน ขณะทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยอาจจะยังไม่มีส่วนได้เสียในวัตถุแห่งการประกันภัยนั้นก็ได้ เช่น
ผู้ซื้อสินค้า ในราคา F.O.B. ทันทีที่เปิด L/C เมื่อซื้อสินค้าไปแล้วนั้นก็รีบทำประกันภัยไว้ เพื่อที่ว่าเมื่อผู้ขายนำของลงเรือเดินสมุทรเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อสินค้าจะได้รับความคุ้มครอง เพราะกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองก็ต่อ เมื่อสินค้าลงเรือเดินสมุทรเรียบร้อยแล้ว สมมติว่าสินค้าเกิดได้รับความเสียหายก่อนถูกขนลงเรือเดินสมุทรดังนั้น ผู้ซื้อสินค้าจะยังไม่มีส่วนได้เสียในสินค้านั้น เพราะส่วนได้เสียของผู้ซื้อจะเริ่มมีเมื่อสินค้าถูกขนลงเรือเดินสมุทรเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

หลักการชดใช้ค่าเสียหาย ( Indemnity ) และการกำหนดมูลค่าการชดใช้จะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินประกันภัย ส่วนการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับการประกันภัย ประเภทนี้ ไม่มีข้อยุ่งยาก เนื่องจากมีเอกสารแสดงราคาการซื้อขายอยู่แล้ว

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครอง

ปัจจุบันข้อกำหนดและเงื่อนไขได้มีการปรับปรุงมาใช้แบบInstitute Cargo Clauses มีเงื่อนไขความคุ้มครองให้เลือกซื้อ 3 เงื่อนไข ดังนี้

1. Institute Cargo Clauses (C)

2. Institute Cargo Clauses (B)

3. Institute Cargo Clauses (A)

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครอง

Marine Cargo Insurance เพื่อความสะดวกในการกล่าวถึงต่อไปนี้ จะใช้ตัวย่อว่า ICC (A), ICC (B), ICC (C) ICC (C) คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหาย อันเนื่องมาจาก เพลิงไหม้ ระเบิด เรือเกยตื้น จม หรือ ล่ม ยานพาหนะ

Marine Cargo InsuranceICC (B) นอกจากคุ้มครองภัยทุกอย่างที่ระบุในความคุ้มครองแบบ ICC (C) ยังขยายความคุ้มครองเพิ่มเรื่องแผ่นดินไหวภูเขา ไฟระเบิด ฟ้าผ่า ถูกคลื่นซัดตกทะเล ถูกน้ำทะเล หรือน้ำจากแม่น้ำลำคลองที่ไหลเล็ดลอดเข้ามาในระวางเรือ ตู้ลำเลียงสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้าสูญเสียโดยสิ้นเชิงทั้งหีบห่อ เนื่องจากตกน้ำ

Marine Cargo InsuranceICC (A) ระบุให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายจากภัยทุกชนิด ยกเว้นภัยที่ระบุไว้ในข้อยกเว้น หมายเหตุ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จะแสดงตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองของ ICC (C), ICC (B) , ICC (A)

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครอง

ข้อยกเว้นทั่วไป

1. ความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบของผู้เอาประกันภัย

2. การรั่วซึมตามปกติ ปริมาณหรือน้ำหนักขาดหาย โดยปกติหรือการสึกหรอ สึกกร่อน ตามปกติของวัตถุแห่งการประกันภัย

3. ความสูญเสีย หรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบรรจุหีบห่อ หรือ การจัดเตรียมวัตถุแห่งการประกันภัยที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม และรวมถึงการจัดวางในตู้ลำเลียง หรือตู้ยกในกรณีที่การจัดวางนั้น กระทำก่อนที่จะเริ่มความคุ้มครอง หรือกระทำโดยผู้เอาประกันภัยเอง

4. ความสูญเสีย หรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่าย อันมีสาเหตุจากข้อบกพร่องในตัวเอง หรือลักษณะอันเป็นธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัยนั้น

5. ความสูญเสียใดๆ อันมีสาเหตุใกล้ชิดมาจากการล่าช้าถึงแม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม

6. ความสูญเสียหรือความเสียหาย อันเกิดจากการใช้อาวุธสงคราม หรือความสูญเสียหรือเสียหาย ที่เกิดจากการแตกตัวของประจุของอะตอม หรือนิวเคลียร์หรือกัมมันตภาพรังสี หมายเหตุ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จะแสดงตารางเปรียบเทียบข้อยกเว้นความคุ้มครองของICC (C), ICC (B) , ICC (A)

การเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครอง

จุดเริ่มต้นความคุ้มครอง กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลมีผลคุ้มครองเมื่อสินค้าที่เอาประกันภัย ออกจากคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้า ณ สถานที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เมื่อเริ่มต้นการขนส่ง โดยไม่รวมช่วงการขนของขึ้นรถ เพราะถือว่าสินค้ายังไม่ได้ออกจากโรงเก็บสินค้าต้นทางที่ได้ระบุไว้ ในกรมธรรม์

จุดสิ้นสุดความคุ้มครอง

กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล จะสิ้นสุดความคุ้มครองทันที ด้วยเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ ดังนี้

1. เมื่อสินค้าถึงผู้รับสินค้าที่ปลายทาง ณ สถานที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือ

2. เมื่อสินค้าถึงสถานที่เก็บสุดท้ายตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ซึ่งลูกค้าถือว่าเป็นสถานที่ทำการจำแนกแจกจ่ายสินค้านั้นต่อไป โดยกรมธรรม์ประกันภัยถือว่าเป็นสถานที่เก็บสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในช่วงการขนส่งตามปกติแล้ว

3. กรณีสัญญารับขนสินค้าสิ้นสุดลงก่อนถึงจุดหมายปลายทางซึ่งเกิดจากเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อในการ จัดหาเรือเดินสมุทรของผู้เอาประกันภัย เช่น ท่าปลายทางเกิดการจลาจล กรรมการท่าเรือนัดหยุดงานทำให้การขนส่งสินค้าต้องหยุดลง บริษัทเรือบอกเลิกสัญญาการขนส่งสินค้า ทำให้ต้องขนถ่ายสินค้าลงที่เมืองท่าอื่นก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทางที่กำหนด

4. เมื่อครบกำหนด 60 วัน นับจากที่ขนส่งสินค้าลงที่ท่าเรือเดินสมุทรแห่งสุดท้าย การให้ความคุ้มครองไปอีก 60 วันจะให้ในกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย ที่ไม่ใช่เกิดจากผู้เอาประกันภัยหรือเป็นความล่าช้าปกติ เช่น เสียเวลาผ่านพิธีการศุลกากร

เอกสารที่ต้องใช้ในการทำประกันภัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ใบกำกับสินค้า (Invoice) คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดของสินค้าที่ขนส่ง ว่ามีอะไรบ้าง ปริมาณ ชนิด ราคาสินค้า ตลอดจน ชื่อเรื่อ หรือเที่ยวบิน วันที่เรือหรือเครื่องบินออก(Departure Date)

2. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading (B/L) ) คือ หลักฐานการสัญญาการรับสินค้าระหว่าง บริษัทเรือและผู้ส่งสินค้าซึ่งแสดงว่าได้มีการนำสินค้าลงเรือ เพื่อที่จะขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง

3. หนังสือสั่งให้จ่ายเงิน (Letter of credit (L/C)) คือ เอกสารที่ธนาคารออกให้แก่ผู้ขายสินค้า โดยผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้ติดต่อกับธนาคารว่า ให้ธนาคารจ่ายเงินค่าสินค้า ให้แก่ผู้ขายตามจำนวนเงินค่าสินค้า

4. หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) คือ เอกสารที่บริษัทผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐาน ว่าได้คุ้มครองสินค้าที่ระบุในหนังสือคุ้มครองชั่วคราวนี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ได้เนื่องจากยังขาดรายละเอียดบางอย่างเช่น ชื่อเรือ จำนวนหีบห่อ ดังนั้นจะออกกรมธรรม์

ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลให้เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้รับรายละเอียดครบถ้วน หนังสือคุ้มครองชั่วคราวนี้ (Cover Note) ออกสำหรับยืนยันการคุ้มครองเฉพาะสินค้าเป็นเที่ยวๆ เท่านั้น

5. กรมธรรม์ประกันภัยเปิด (Open Policy) ใช้สำหรับกรณีที่ผู้เอาประกันภัยสั่งสินค้าเดือนละหลายครั้ง ดังนั้นการแจ้งบริษัทผู้รับประกันภัย เพื่อที่จะทำ Cover Note ในแต่ละเที่ยวย่อมเป็นการไม่สะดวก และบางครั้งผู้เอาประกันภัยอาจลืมแจ้งทำประกันภัยได้ดังนั้นผู้เอาประกันภัย อาจร้องขอให้ผู้รับประกันภัยจัดทำ Open Policy ให้เพื่อคุ้มครองสินค้าทุกเที่ยวภายใต้เงื่อนไขและอัตราเบี้ยประกันภัยที่ตายตัว ดังนั้นผู้เอาประกันภัยจะได้รับประโยชน์ทั้งเรื่องความสะดวก และไม่ต้องกังวลเรื่องการลืมแจ้งประกันภัย เพราะผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว Open Policy นี้ โดยตัวเองไม่ใช่เอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ไม่สามารถนำมาใช้ฟ้องร้องค่าเสียหายได้ในศาล และไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันกับธนาคารเมื่อต้องการรับเงินค่าสินค้าล่วงหน้า ดังนั้นจึงต้องมีการออกกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกต้องตามมาสำหรับการขนส่งสินค้าแต่ละเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง

6. กรมธรรม์ประกันภัย (Marine Insurance Policy) คือ เอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ผู้รับประกันภัย ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยเป็น หลักฐานในการทำประกันภัย เอกสารการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับ

การประกันภัยสินค้าทางทะเล

เอกสารประกอบ

o ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินของผู้ขนส่ง และสัญญาว่าจ้างการขนส่ง
o หนังสือเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งมีการระบุจำนวนความเสียหาย

3. หนังสือเรียกร้องไปยังบริษัทผู้รับขนส่ง พร้อมหนังสือตอบรับของผู้ขนส่งสำหรับความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น

4. สำเนาทะเบียนรถ สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ พร้อม รับรองสำเนาถูกต้อง

การประกันภัยตัวเรือ เป็นการคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของโครงสร้างตัวเรือ รวมถึงเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรือ

- ตัวเรือ (Hull) คือส่วนที่เป็นโครงสร้างของเรือ ทำด้วยไม้ เหล็ก หรือวัสดุอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รอกยกของอุปกรณ์ พัสดุ สัมภาระ เรือบด เรือใหญ่ ปั้นจั่นพวงมาลัยและอื่นๆ

- เครื่องจักร (Machinery) คือ ส่วนที่ให้พลังงานในการเดินเรือ และให้แสงสว่าง ความร้อน ความเย็นเช่น หม้อน้ำ เครื่องจักรใหญ่ เครื่องทำความเย็น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องจักรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

กรมธรรม์ประกันตัวเรือแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ชนิดต่อเที่ยว ( Voyage Policy ) คุ้มครองเฉพาะเที่ยว เมื่อสิ้นสุดการเดินทางเที่ยวใดความคุ้มครองก็สิ้นสุดลง

2. ชนิดที่คุ้มครองตามระยะเวลา (Time Policy) คุ้มครองตั้งแต่วันเวลาหนึ่งจนถึงวันเวลาอีกวันหนึ่ง โดยปกติมักเป็นเวลา 1 ปี การสิ้นสุดความคุ้มครองของการประกันภัยตัวเรือ การสิ้นสุดความคุ้มครองการประกันภัยตัวเรือโดยอัตโนมัติ จะเกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

1. การเปลี่ยนแปลงสมาคมมาตรฐานเรือ

2. การเปลี่ยนแปลงธงชาติเรือ

3. การเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของเรือ

4. การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเรือ

กรมธรรม์ที่จะกล่าวถึงเป็นกรมธรรม์ของสถาบันผู้รับประกันภัย แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ถ้าเป็นชนิดกำหนดเวลาใช้ Institute Time Clause (ITC) ซึ่งประกอบไปด้วย

1. Institute Time Clause 289

2. Institute Time Clause 284

3. Institute Time Clause 280

โดยจะเริ่มความคุ้มครองน้อยที่สุดไปก่อน ดังนี้

Institute Time Clause 289 - Hulls Total Loss only (Including Salvage, Salvage Charges and Sue and Labour )

ซึ่งคุ้มครองตัวภัย ( Perils ) ดังนี้

ภัยที่คุ้มครอง

1. คุ้มครองความเสียหายทั้งหมด ( แท้จริงหรือเสมือนความเสียหายทั้งหมด actual or constructive ) ที่เกิดกับวัตถุแห่ง การประกันภัยที่มีสาเหตุโดยตรงจาก

1.1 ภัยทางทะเล แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือน่านน้ำใด ๆ ที่สามารถเดินเรือได้

1.2 ไฟไหม้ และการระเบิด

1.3 การลอบขโมยด้วยความรุนแรงจากบุคคลภายนอก

1.4 การโยนของทิ้งทะเล

1.5 การถูกปล้นสลัดทางทะเล

1.6 การล้มเหลวหรืออุบัติเหตุจากเครื่องปรมาณูหรือเตาปฏิกรณ์ปรมาณู

1.7 การโดนกันกับยานอากาศ หรือวัตถุที่คล้ายกัน หรือวัตถุอื่นที่ตกลงมา พาหนะขนส่งทางบก อู่เรือ หรืออุปกรณ์ หรือเครื่องมือ ที่ติดตั้งอยู่ที่ท่าเรือ

1.8 แผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด หรือฟ้าผ่า

2. คุ้มครองความเสียหายทั้งหมดที่เกิดกับวัตถุแห่งการประกันภัยที่มีสาเหตุโดยตรงมาจาก

2.1 อุบัติเหตุในขณะขนสินค้าลง/ขึ้น หรือเคลื่อนย้ายสินค้าหรือเชื้อเพลิง

2.2 การระเบิดของหม้อน้ำ การแตกของเพลาหรือความบกพร่องที่แฝงอยู่ในเครื่องจักร หรือตัวเรือ

2.3 การประมาทเลินเล่อของนายเรือ เจ้าหน้าที่เรือ ลูกเรือหรือผู้นำร่อง

2.4 การประมาทเลินเล่อของผู้ซ่อมหรือผู้เช่าเหมาลำเรือโดยมีข้อแม้ว่าผู้ซ่อมหรือผู้เช่า เหมาลำเรือไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย

2.5 การกระทำผิดอย่างจงใจของนายเรือ เจ้าหน้าที่เรือหรือลูกเรือ

2.6 คุ้มครองภัยจากมลภาวะ ในกรณีที่เกิดความเสียหายทั้งหมด หรือเสมือนความเสียหายทั้งหมดกับตัวเรือที่ มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของรัฐ เพื่อเป็นการป้องกัน หรือบรรเทาให้น้อยลง

2.7 คุ้มครองค่าจ้างและค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือกอบกู้เรือที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการหลีกเลี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไว้

2.8 คุ้มครองค่าใช้จ่าย Sue and Labour ที่เกิดขึ้นโดยผู้เอาประกันภัย ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยเพื่อเจตนา ที่ป้องกันหรือลดความสูญเสีย หรือความเสียหาย ที่เกิดจากภัยที่เอาประกันภัยไว้ให้น้อยที่สุด ภัยที่ยกเว้น กรมธรรม์ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยสงครามหรือนัดหยุดงาน จลาจล การกระทำโดยมีแรงจูงใจจากการเมืองของบุคคลใด และจากปรมาณู Institute Time Clause 284 - Hulls Total Loss GA And 3/4 Collision Liability (Including Salvage, Salvage Charges And Sue And Labor) ความคุ้มครอง นี้ คุ้มครองมากกว่า Institute Time Clause 289 - Hulls TLO (Including Salvage Charges And Labor ) คือ 3/4 The Collision Liability คือความคุ้มครองค่าชดใช้สินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันเป็นจำนวน 3 ใน 4 ส่วนของจำนวนเงิน ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้จ่ายให้บุคคลอื่นในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย เนื่องมาจากเรือที่เอาประกันภัยไปชนกับเรือลำอื่นมีผลทำให้เกิด

1. ความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเรือหรือทรัพย์สินที่อยู่บนเรือลำอื่น

2. การล่าช้า หรือการสูญเสียการใช้งานของเรือหรือทรัพย์สินที่อยู่บนเรือลำอื่น

3. กรณี GA การช่วยเหลือกอบกู้หรือกอบกู้ภายใต้สัญญาเรือ หรือทรัพย์สินที่อยู่บนเรือลำอื่น

4. ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ผู้รับประกันจะจ่ายนอกเหนือค่าสินไหมตามเงื่อนไข ข้ออื่น ๆ โดยมีเงื่อนไขว่าเรือที่เอาประกันภัยชนกับเรือลำอื่นแล้วผิดทั้งคู่ แต่ไม่เกิน

3 ใน 4 ส่วนของมูลค่าเอาประกันภัยของตัวเรือ ภัยที่ยกเว้น ข้อยกเว้นสำหรับความคุ้มครองนี้คือ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพื่อการเคลื่อนย้าย ขนไปทิ้ง ซึ่งสิ่งกีดขวาง ซากปรักหักพัง สินค้าหรือสิ่งอื่นใด ความเสียหายของทรัพย์สินส่วนตัวยกเว้นที่เป็นของเรือหรือทรัพย์สินบนเรือลำอื่น สินค้าหรือทรัพย์สินบนเรือที่เอาประกันภัย การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย มลภาวะ และการแปดเปื้อนของทรัพย์สินส่วนตัว หรือสิ่งอื่นใด ยกเว้นแต่เป็นทางเรือลำอื่น Institute Time Clause 280 - Hulls เป็นความคุ้มครองมาตรฐานที่ครอบคลุมกว้างคล้ายกับความคุ้มครอง All Risks คุ้มครอง เพิ่มเติมจากความคุ้มครอง CL284 คือ ความเสียหายบางส่วนเกี่ยวกับตัวเรือไม่ว่าจะเป็นรวมถึงการซ่อมท้องเรือ ทำความสะอาด ทาสีเรือ พ่นทราย ฯลฯ

เอกสารสำคัญประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันภัยตัวเรือ

1. กรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ ( Hull Insurance Policy )

2. ทะเบียนเรือ (Ship Certificate)

3. ใบรับรองสถานภาพ ( Class Certificate )

4. รายละเอียดของอุบัติเหตุ ( Details of Accident )

5. สาเหตุและรายละเอียดความเสียหาย ( Cause & Extent of damage ) และหรือรายงานการสำรวจความเสียหาย (Survey Report)

6. รายละเอียดความรับผิดต่อเรือลำอื่นกรณีชนกัน (Collision Liabilities)

การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ( Inland Transit Insurance )

การประกันภัยการขนส่งสินค้าในประเทศ หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ความเสียหาย หรือการสูญเสีย ของทรัพย์สินที่รับประกันภัยไว้ โดยที่ความเสียหายหรือการสูญเสียนั้นเกิดจากภัยที่ได้รับเสี่ยงภัยในระหว่างการขนส่งทรัพย์สินนั้น

ความสำคัญของการประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ

1. การประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการกระจายสินค้า การประกันภัยชนิดนี้ ช่วยให้พ่อค้ามีหลักประกัน มีความมั่นใจในการทำการค้าว่า ทุนของเขาจะไม่สูญหายถ้าหากสินค้าได้รับความสูญเสียหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง ดังนั้นทำให้สินค้าได้กระจายไปถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศ

2. ในกรณีถ้าผู้ซื้อสินค้าอาศัยอยู่ในท้องถิ่นชนบท ก็สามารถที่จะสั่งซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตได้ จึงทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น มีการบริโภคสินค้ามากขึ้น

ภัยที่ต้องเสี่ยงในระหว่างการขนส่ง ภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่า ฝนตก หรือภัยจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ลักขโมย การแตกหักจากการขนถ่าย ฯลฯ

ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง

1. รถยนต์ อาจเป็นรถยนต์บรรทุก 4 ล้อ 6 ล้อ 10 ล้อ หรือรถโดยสาร

2. รถไฟ

3. เรือ เช่น เรือบรรทุกสินค้า เรือฉลอมไม้ เรือโป๊ะเหล็ก

4. เครื่องบิน

5. พัสดุภัณฑ์ทางไปรษณีย์

ขอบเขตการขนส่ง

จุดแบ่งของการประกันภัยการขนส่งทางทะเล และการขนส่งภายในประเทศ อยู่ที่ขอบเขตของการขนส่ง การขนส่งทรัพย์สินภายในประเทศจะต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการขนส่งอยู่ภายในประเทศไทยซึ่งรวมถึงน่านน้ำไทยด้วย เช่น การขนส่งทรัพย์สินจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนราธิวาส หรือจากเกาะสีชัง ไปยังเกาะสมุย เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการขนส่งที่ข้ามประเทศแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น การขนสินค้าจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปยังประเทศมาเลเซีย

ใบคำขอเอาประกันภัย

- หลักสำคัญของใบคำขอเอาประกันภัย คือผู้เอาประกันภัยจะ ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับ การเสี่ยงภัยทั้งหมด

- ข้อความที่สำคัญในใบคำขอเอาประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ มีดังนี้

* ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
* รายละเอียดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น จำนวน ชนิด การบรรจุหีบห่อ
* ชนิดของยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง พร้อมชื่อ หรือทะเบียนยานพาหนะนั้น
* จำนวนเงินเอาประกันภัย
* ชื่อของเจ้าของยานพาหนะ หรือผู้ขนส่ง
* ระยะเวลาคุ้มครอง
* จุดเริ่มต้นการคุ้มครองอยู่ ณ ที่ใด สิ้นสุดการคุ้มครอง ณ ที่ใด
* ประเภทของภัยที่ต้องการให้คุ้มครอง
* วันที่ขอทำสัญญาประกันภัย
* ช่องลงลายมือชื่อของผู้เอาประกันภัย

กรมธรรม์ ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ เป็นหนังสือหลักฐานของการทำสัญญาประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ

ภัยที่คุ้มครอง ภัยเพิ่มเติมพิเศษ และภัยที่ยกเว้น

ภัยที่คุ้มครอง

ภัยที่คุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ได้กำหนดไว้ในหมวด 1 สัญญาความคุ้มครองในหมวดนี้ได้แบ่งประเภทภัยที่ได้รับความคุ้มครองไว้ 6 ประเภทด้วยกัน โดยจะเรียงลำดับความคุ้มครอง ข้อ 1 ซึ่งจะมีความคุ้มครองน้อยสุด จนกระทั่งถึงข้อ 6 จะมีความคุ้มครองมากสุด โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องเลือกความคุ้มครองข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น โดยมีรายละเอียดของภัยที่คุ้มครอง ตามประเภทของความคุ้มครองดังนี้

ข้อ 1) คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิง ของ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากยานพาหนะ ที่ใช้ในการขนส่ง ได้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหาย โดยสิ้นเชิง จาก อัคคีภัย การระเบิด ยานพาหนะ นั้นชนกับยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ภายนอกยานพาหนะนั้น (ซึ่งมิใช่ถนน ทางเท้า หลุมบนถนนอากาศ น้ำ) เรือจม เรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถหรือรถไฟคว่ำตกสะพาน ตกราง หรือสะพานขาด

ข้อ 2) คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิง ของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง จากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นประสบภัยโดยตรงจาก อัคคีภัย การระเบิด ยานพาหนะ นั้นชนกับยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ภายนอกยานพาหนะนั้น (ซึ่งมิใช่ถนน ทางเท้า หลุมบนถนนอากาศ น้ำ) เรือจม เรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถหรือรถไฟคว่ำ ตกสะพาน ตกราง หรือสะพานขาด

ข้อ 3) คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน ของ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมี สาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจาก ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นประสบภัยโดยตรงจาก อัคคีภัย การระเบิด ยานพาหนะ นั้นชนกับยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง

หรือชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งภายนอกยานพาหนะนั้น (ซึ่งมิใช่ถนน ทางเท้า หลุมบนถนน อากาศ น้ำ) เรือจม เรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถหรือรถไฟคว่ำ ตกสะพานตกราง หรือสะพานขาด

ข้อ 4) ก. ความคุ้มครองเหมือน ข้อ 3)

ข. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย หีบห่อใดหีบห่อหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงในระหว่างการขนขึ้น หรือขนลงจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้น

ข้อ 5) ก. ความคุ้มครองเหมือน ข้อ 3) และข้อ 4 ข.

ข. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิง หรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากภัย แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำทะเล น้ำในแม่น้ำ น้ำฝน น้ำจืด น้ำทะเลสาป

ข้อ 6) คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิง หรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย จากการเสี่ยงภัยทุกชนิด ที่เกิดขึ้นจากเหตุภายนอกของทรัพย์สิน

ภัยเพิ่มเติมพิเศษ

* การลักขโมย การโจรกรรม
* การรับมอบทรัพย์สินไม่ครบจำนวนที่ส่งจากต้นทาง
* การแตกหัก การบุบงอ การถลอก
* การเปียกน้ำฝน น้ำจืด น้ำทะเลสาป น้ำทะเล
* การปล้นทรัพย์ การชิงทรัพย์
* การสกปรก เปรอะเปื้อน ถูกเจือปนด้วยสิ่งของอื่นๆที่ส่งมาด้วย

ภัยเพิ่มเติมพิเศษ

* การรั่วไหล หรือการขาดจำนวนไป
* ความเสียหายจากตะขอที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้า
* การฉีกขาด

ภัยที่ยกเว้น

ในกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ได้กำหนดข้อยกเว้นพื้นฐาน 5 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1) จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ ที่ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า ความเสียหายหรือความสูญเสียนั้น จะต่อเนื่องมาจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองก็ตาม

ข้อ 2) จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือต่อเนื่องจากภัยสงคราม (ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง การกบฏ การปฏิวัติ การก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม ทุ่นระเบิดดอร์ปิโด หรืออาวุธสงครามอื่นๆ การจลาจล การแข็งข้อหรือการต่อสู้ของประชาชน การถูกยึดไปใช้โดยกฎอัยการศึก การนัดหยุดงาน

ข้อ 3) จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ อันเกิดขึ้นจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นเสื่อมสภาพหรือไม่เหมาะสม แก่การใช้บรรทุกขนส่ง การบรรทุกเกินขนาดน้ำหนักที่จะบรรทุกได้ การบรรทุกผิดหลักระวาง

ข้อ 4) จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ หรือค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากการเสื่อมเสีย หรือการขาดหายตามธรรมชาติของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นเองหรือจากการล่าช้าแม้ว่าการล่าช้านั้น จะเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองไว้ก็ตาม

ข้อ 5) จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือต่อเนื่องจากภัยใดๆ นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ใน "ประเภทภัยที่คุ้มครอง" และภัยเพิ่มเติมดังระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้

เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน * ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ
* ใบกำกับสินค้า
* ใบแสดงรายละเอียดสินค้า เช่น จำนวนหีบห่อ และปริมาณ ของสินค้า
* ต้นฉบับใบรับขนส่งที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นใบที่แสดงว่าผู้ขนส่งได้รับขนส่งทรัพย์สินนั้นจริง

เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

* รายงานการสำรวจความเสียหายหรือการสูญเสีย
* หนังสือโต้ตอบระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ขนส่ง หรือผู้ที่ต้องรับผิด
* หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย ที่ทำต่อผู้รับประกันภัย