บัตรเครดิต ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

ถ้าใครสังเกตสถานการณ์ การแข่งขันของสถาบันการเงิน ในช่วงนี้ จะพบว่า หลายสถาบันทั้งของไทย และของต่างชาติ ต่างมุ่งเป้าหมาย การหารายได้ ลงมาในส่วนของสินเชื่อลูกค้า รายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ ซึ่งนอกจาก การให้สินเชื่อ ลักษณะ เงินกู้ส่วนบุคคล ประเภทต่างๆ และวงเงินหมุนเวียนหลากหลายชื่อแล้ว ของเก่าที่ยังนำมาเป็น เครื่องมือเพิ่มรายได้ให้กับสถาบันอีกอย่างก็คือ บัตรเครดิต ซึ่งมีทั้งบัตรที่ออกโดย สถาบันการเงิน เอง ที่เรียกกันว่า LOCAL CARD หรือบัตรที่มีลักษณะเป็น INTERNATIONAL อย่าง VISA / MASTER CARD / AMEX / DINERS บางสถาบันการเงิน ยังมี บัตรลูกผสมที่เป็นทั้ง LOCAL และ INTERNATIONAL ในใบเดียวกัน เพื่อให้ผู้ถือบัตร มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันด้านบัตรเครดิตที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2544 ต่อเนื่องจน ถึงปัจจุบัน เมื่อประกอบกับ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดวงเงินรายได้ของผู้มีสิทธิ์ถือบัตรเครดิต จากเดิมต้องมีรายได้ 20,000.- บาท / เดือน คงเหลือไม่ต่ำกว่า 15,000.- บาท / เดือน ทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้ถือบัตรรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก ธนาคาร แห่งประเทศไทยระบุว่า มีจำนวนบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2544 จำนวน 1.89 ล้านบัตร และคาดว่า จะเพิ่มเป็นมากกว่า 2.0 ล้านบัตร ในปี 2545 ซึ่งจะเป็นจำนวนที่สูงที่สุด และมากกว่าช่วงก่อน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ด้วยซ้ำไป

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า จำนวนบัตรเครดิต ที่เพิ่มขึ้น และจะต้องมี การบริโภค มากขึ้นตามมานั้น ไม่ได้สอดคล้อง หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง กำลังซื้อโดยรวมลดลง หากมองกันใน แง่ร้ายจะเห็น ความเสี่ยงที่จะเกิด NPL ขึ้นใหม่อีกครั้ง นกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ ซึ่งนั่นเป็นปัญหาระดับประเทศ สำหรับผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่จะดูแล และกำกับควบคุมต่อไป แต่ในส่วนของผู้บริโภค หรือผู้ถือบัตรเอง ก็ควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่ใช้บัตรเครดิต ให้ถูกแนวทาง หรือมีความเข้าใจไม่เพียงพอ

โดยคุณสมบัติพื้นฐานบัตรเครดิต คือ เครื่องมือที่ผู้ออกบัตรออกให้กับผู้ถือบัตรเพื่อนำไปใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ แทนเงินสด ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ตกลง ผู้ถือบัตรจะต้องชำระเงินส่วนนั้นคืนให้กับผู้ออกบัตร แต่เดิม การชำระคืน แต่ละรอบ ผู้ถือบัตรจะต้องชำระคืนเต็ม จำนวนที่ได้รับการแจ้งยอด ธนาคาร หรือผู้ออกบัตร จะมีรายได้หลัก 1 - 3 % จากรายการใช้จ่ายของ ผู้ถือบัตรแต่ละรายการ โดยหักเอาจากร้านค้าที่ขาย ผ่านบัตรเครดิต (นอกจากรายได้จาก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี) ในปัจจุบันมี การกำหนดเงื่อนไข การชำระคืนเป็นสามารถผ่อนชำระได้ 5 - 10 % ของยอดการใช้จ่ายต่องวดหรือยอดคงค้าง (แต่ต้อง ไม่ต่ำกว่า 2,000.- บาท ตามประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในแง่ของผู้ถือบัตรมีแนวทางเลือกมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดยอดคงค้าง ในบัตรเครดิตมากขึ้น ทำให้ผู้ออกบัตรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก ทางจากดอกเบี้ยซึ่งคิดจากยอดหนี้คงค้าง (ข้อมูล ในไตรมาสที่ 1 ปี 2544 พบว่า ยอดหนี้คงค้างในระบบบัตรเครดิต ทั้งประเทศมีประมาณ 32,000.- ล้านบาท) นอกจากนี้ผู้ออกบัตร ยังมีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสด ฉุกเฉินล่วงหน้า และค่าธรรมเนียมจาก การชำระล่าช้าอีกด้วย

กลยุทธ์ต่างๆ ของผู้ออกบัตร ที่นำมาชักชวนผู้บริโภค ตั้งแต่ต้นปี 2544 อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี การให้ ของแถมมูลค่า ตั้งแต่หลักร้อยบาท จนถึงพันกว่าบาท สำหรับผู้สมัครใหม่ การให้โบนัสหรือรางวัลเป็นสิ่งของ หากมีการใช้จ่ายผ่านบัตร ถึงเป้าที่กำหนด หรือการใช้นโยบายราคา โดยลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับโอนหนี้ เพื่อแย่งชิงลูกค้ากลุ่มเดิม เป็นการแข่งขันที่ไม่เคย ปรากฎมาก่อนตั้งแต่บัตรเครดิต เริ่มเข้ามามีบทบาท ในระบบสถาบันการเงินของประเทศ เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน อาจกล่าวได้ว่า ภาวะตลาด บัตรเครดิต ปัจจุบันเป็นของผู้บริโภคก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะถือบัตรเครดิตสักใบ หรือจะใช้จ่ายผ่านบัตร
เครดิตที่มีอยู่แล้ว ผู้ถือบัตรน่าจะมีกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ สำหรับตัวเองคือ

1. เลือกเงื่อนไขชำระคืนที่เหมาะสม การเลือกเงื่อนไขผ่อนชำระคืนเต็ม ตามจำนวนในใบแจ้งยอด แม้จะเป็น การแสดงความตั้งใจ ในการรักษาวินัยทางการเงินของผู้ถือบัตร แต่ในบางครั้งเป็น การบังคับตนเอง เกินไปจน ไม่มีทางถอย และอาจสร้างปัญหาให้กับ ผู้ถือ บัตรได้ในอนาคต โดยเฉพาะใน ภาวะเศรษฐกิจ ที่ยังไม่มีความแน่นอน ผู้ถือบัตรหลายรายเลือกเงื่อนไขชำระคืนเต็มตามจำนวน ในใบแจ้งยอด แต่กลับพบภายหลังว่า ตนเองกลายเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีปัญหา เมื่อไม่สามารถ ชำระคืนได้ตรงตาม กำหนดทุกครั้ง ซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่เลือกผ่อนชำระขั้นต่ำ 10 % ผู้ถือบัตรเหล่านั้นสามารถ กำหนดเงื่อนไขให้ตนเองที่จะเลือกชำระเต็มจำนวนได้ โดยที่ ผู้ออกบัตร ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด แต่หากเดือนใดมีเหตุขัดข้องก็ยังสามารถเลือกชำระ 10 % ตามที่ตกลงกับผู้ออกบัตรไว้ได้เรียกว่า ยังเก็บ ทางถอยไว้ให้กับ ตนเอง และในแง่ของสถาบันผู้ออกบัตรจะถือว่าเป็นลูกค้าเกรด A ด้วยซ้ำ เนื่องจากสามารถชำระได้ดีกว่า เงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

2. พยายามชำระหนี้เต็มตามใบแจ้งยอด หลีกเลี่ยงยอดค้างชำระ ไม่ว่าจะเลือกเงื่อนไขใด ในการชำระคืน ก็ตามสิ่งสำคัญที่ ผู้ถือบัตรต้อง คำนึงไว้ตลอดเวลา คืออัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือบัตรถูกคิดจากยอดค้างชำระ (หลังจากครบกำหนดชำระแล้ว) จะอยู่ที่ประมาณ 17 - 18 % ต่อปี หรืออาจสูงถึง 24 - 27 % ต่อปีในกรณีผู้ออกบัตรที่เป็นสถาบันต่างชาติ อัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก เพราะฉะนั้น คงจะไม่ถูกต้องตาม หลักทฤษฎีการบริหารเงินแน่ หากสามารถชำระเต็มได้แต่ไม่ชำระ โดยเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝาก

3. หลีกเลี่ยงการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉิน หรือ CASH ADVANCE โดยทั่วไป บัตรเครดิต จะมีวงเงิน ให้เบิก เงินสดฉุกเฉิน ได้ 50-100 % ของวงเงินบัตรหรือ ยอดคงเหลือขณะนั้น การเบิกแต่ละครั้ง ต้องแน่ใจว่าฉุกเฉินจริง ๆ เนื่องจากผู้ถือบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 4 - 5 % ของยอดที่เบิกทันที และผู้ออกบัตรบางราย ยังคิดดอกเบี้ย จากยอดดังกล่าวนั้น ตั้งแต่วันที่เบิกอีกด้วยซึ่งแสดงว่าจะมี ีต้นทุน ดอกเบี้ยจาก เงินก้อนดังกล่าวนั้น 5 - 6 % ต่อเดือน หรือ 60 - 70 % ต่อปีทีเดียว

4. หลีกเลี่ยงการชำระไม่ตรงกำหนด เนื่องจากจะมีค่าปรับเกิดขึ้นมากน้อยตามแต่สถาบันผู้ออกบัตรจะกำหนด ผู้ออกบัตรบางสถาบัน กำหนดเป็นเกณฑ์แน่นอน 100 - 200 บาทต่อครั้ง แต่ผู้ออกบัตรบางราย กำหนดเป็น เปอร์เซ็นต์ของยอด ที่ต้องชำระคืนตามใบแจ้งยอด ซึ่งหากเดือนใดผู้ถือบัตรหลงลืมชำระไม่ตรงกำหนด อาจจะต้อง ถูกปรับเป็นหลักพันบาททีเดียว

ข้อคิดสำคัญที่ต้องคิดทุกครั้งในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ ก่อนรูดบัตรแต่ละครั้งเพื่อซื้ออะไรก็ตาม ลองคิดดูสักนิดว่า เรามีเงิน ในบัญชีขณะนั้น มากพอที่จะชำระคืนหรือไม่ เงินในบัญชีนั้นต้องเป็นสำหรับส่วนที่กันไว้สำหรับใช้จ่าย ไม่ใช่เงินออมด้วยจึงจะถูกต้อง หากไม่มีเงินพอในขณะนั้น และการรูดบัตรนั้น เป็นการใช้จ่ายเพื่อรอการเงิน ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรควรจะหยุดคิดสักนิด ว่า สินค้าหรือบริการนั้นมีความจำเป็นเพียงใด บัตรเครดิต จะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ถือบัตรใช้แทนเงินสดที่มีอยู่ และมีเวลาอีก 40 - 45 วันที่จะต้องจ่ายเงินสด ที่มีอยู่นั้นออกไป นั้นคือการใช้บัตรเครดิตที่ถูกวิธี แต่ผู้ถือบัตรจะเป็นฝ่ายถูกใช้โดยผู้ออกบัตรให้เป็นลูกหนี้ และภาระหนี้ที่ต้องชำระคืน ไม่จบสิ้นในอนาคตทันที ถ้าผู้ถือบัตรใช้จ่ายโดยหวังว่าจะนำเงินรายได้ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรดังกล่าว จะต้องทำงาน เพื่อตามใช้หนี้ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถ วางแผนการเงิน ให้ถูกแนวทางได้อีกเลย

กลเม็ดใช้บัตรเครดิตแบบถูกวิธี

ทุกวันนี้การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตของคนไทยทั่วไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ประกอบการทั้งธนาคาร และสถาบันที่ออก บัตรเครดิต ต่างดึงดูดใจลูกค้าด้วยโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย จนทำให้จำนวนผู้ใช้บัตรเครดิต เพิ่มอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีบัตรเครดิตแล้วก็ควรใช้อย่างสบายใจและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้ ใช้บัตรเครดิตกับสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น จากสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้ ส่งผลทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฉะนั้น การจะซื้อสินค้า ก็ควรจะเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น ส่วนสินค้าจำพวกอำนวยความสะดวก ให้ชีวิตนั้นคงจะต้องรอไว้ก่อน จนกว่าสภาพคล่องทางการเงินดีขี้นกว่าปัจจุบัน

คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ หลังจากใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าแล้ว ควรชำระหนี้ที่ถูกเรียกเก็บ ให้เจ้าหนี้เต็ม จำนวนที่เรียกเก็บและตรงกำหนดเวลาวันชำระ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดอกเบี้ยและค่าปรับจากการชำระหนี้ช้า ฉะนั้น ก่อนใช้บัตรเครดิต ควรคำนึงถึงรายได้ของตน หรือความสามารถในการชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้

ดูวันก่อนออกจากบ้านไป ช้อปปิ้ง พยายามใช้บัตรครดิต ให้ได้ระยะเวลาในการปลอดหนี้ให้มากที่สุดจากธนาคาร โดยเลือก หลังจากวันที่มี การสรุปยอดการใช้จ่ายทุกครั้ง เนื่องจากถ้านำบัตรเครดิตไปใช้ใกล้ถึงวันตัดยอด ก็จะได้เวลา ในการปลอดหนี้น้อย และต้องชำระเงินเร็ว ยึดแนวนี้ไม่มีพลาด

- ศึกษาเงื่อนไขของบัตรเครดิตที่ถืออยู่อย่างละเอียด
- หมั่นติดต่อกับธนาคารเพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
- ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้า หรือบริการในระยะเวลาปลอดหนี้
- ตรวจสอบความถูกต้องของรายการสินค้าและจำนวนเงินที่จ่ายผ่านบัตรเครดิตทุกครั้ง
- เก็บสลิปที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้
- เก็บรักษาบัตรเครดิตให้ปลอดภัย
- ยกเลิกการถือบัตรเครดิต หากไม่มีความจำเป็น

เริ่มต้นอย่างไรดี ถ้าต้องการมีบัตรเครดิตไว้ใช้สักใบ บัตรเครดิต หลายท่านต้องการมีไว้ใช้จ่ายอย่างน้อย 1 หรือ 2 ใบ เพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินของท่านในแต่ละเดือน ปัจจุบันบัตรเครดิตมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเดิม ซึ่งเคยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 25 % - 29 % ต่อปี เหลือเพียง 18 % ต่อปีเท่านั้น อีกทั้งค่าธรรมเนียม ในการเบิกถอน เงินสดก็ปรับลดลงอีกด้วยเหลือเพียง 3 % ของยอดที่เบิกถอน

ข้อดีของการมีบัตรเครดิต คือ ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องชำระค่าสินค้า หรือบริการ เป็นเงินสด ท่านสามารถใช้บัตรเครดิตของท่าน ชำระค่าใช้จ่ายได้ทันที โดยเงินสดของท่าน ก็ยังคงมีอยู่ ที่สำคัญค่าบริการหรือสินค้าที่ท่านใช้จ่ายนั้น ท่านสามารถชำระคืน ได้ในภายหลัง โดยมี ระยะเวลาประมาณ 45 - 55 วันแล้วแต่บัตรของธนาคาร ท่านไม่จำเป็น ที่จะต้องชำระคืนเต็ม จำนวน เพราะท่านสามารถเลือกชำระคืนเพียง 5 % ของค่าใช้จ่ายท่านของท่าน บัตรเครดิตยังให้ท่านเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า
สำหรับเหตุการณ์ในทุกสถานการณ์ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน และบัตรเครดิตยังมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมากมาย ไม่ว่า จะเป็น การผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าอัตราดอกเบี้ย 0 % การสะสมคะแนนแลกของกำนัล ต่างๆ การเห็นไหมครับว่า บัตรเครดิตน่าสนใจจริงๆครับ

ข้อเสียของการมีบัตรเครดิต
ข้อนี้ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมของท่านเองว่า ท่านสามารถควบคุมการใช้บัตรของท่านได้ถูกวิธีหรือไม่ หากท่านมีการใช้วงเงินเกิน
การชำระคืนของท่าน การมีบัตรเครดิตก็เป็นดาบ 2 คมเช่นกัน ดังนั้นเมื่อท่านมีบัตรเครดิต ท่านควรมี วิธีการบริหารการใช้จ่าย อย่างถูกวิธี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารการเงินของตัวท่านเอง

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกสมัครบัตรเครดิต
1. อัตราดอกเบี้ย
2. ค่าธรรมเนียมต่างๆในการใช้บัตร
3. การให้บริการ
4. ค่าบริการรายปี
5. โปรโมชั่นของบัตรแต่ละประเภท

วิธีเลือกบัตรเครดิต

พิจารณาเงื่อนไขในการสมัครของบัตรนั้น ๆ เช่น เงินเดือนขึ้นต่ำ เงินเดือนต้องผ่านแบงค์ เป็นต้น ใช ้บัตรเครดิต อย่างฉลาด
สินเชื่อหรือเครดิต มีหลายหลายรูปแบบในประเทศไทย นอกเหนือจากบัตรเครดิตที่ช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความยืดหยุ่น และคล่องตัว ในการใช้เงินสูงสุดแล้วก็ยังมี บัตรเครดิต อีกหลายประเภท อาทิ บัตรเพื่อการกู้ยืม สำหรับนักเรียน การกู้เพื่อ วันพักผ่อน การกู้เพื่อซื้อบ้าน หรือการจำนองแม้ว่า บัตรเครดิต เหล่านี้จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่มีลักษณะพิเศษร่วมกัน บางประการ เช่น ช่วยให้เราคง รูปแบบการใช้ชีวิตตามความปรารถนาได้ โดยไม่ต้อง จ่ายเงินครั้งละมากๆ ดังนั้น การใช้บัตรเครดิต อย่างชาญฉลาดจะช่วยให้ผู้ใช้บัตรได้รับประโยชน์ ความปลอดภัย และความสะดวก

ในทางกลับกัน การใช้บัตรเครดิตอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้คุณตกอยู่ในความเดือดร้อน มีหลายกรณีที่ผลของ
การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นภาระหนักทางการเงินของคุณ แทนที่จะช่วยส่งเสริมการเงินส่วนตัวของคุณ แนวทางต่อไปนี้เป็นวิธี การใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด และการล่วงรู้สัญญาณอันตรายจากการใช้เครดิตอย่างไม่เหมาะสม ผู้บริโภคที่เฉลียวฉลาด จะใช้เครดิตเพื่อส่งเสริมการใช้เงิน มากกว่าการทำให้กลายเป็น ภาระทางการเงิน ลองพิจารณาแนวทาง อันชาญฉลาดใน การใช้บัตรเครดิตดังนี้

จัดทำงบค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ คอลัมน์แรกเขียนรายการค่าใช้จ่ายและคอลัมน์ที่สอง เขียนรายได้หลังหักภาษี เมื่อคุณนำค่าใช้จ่ายมาเปรียบเทียบกับรายได้ คุณจะเห็นทันทีว่าคุณเป็นหนี้เท่าไร และคุณสามารถ รับภาระได้หรือไม่ ขั้นตอนนั้นนับว่ามีความสำคัญมาก

วิธีการที่ดีที่สุดใน การสร้างกรอบให้ตัวเอง คือการยืมเงินหรือใช้จ่ายเงินล่วงหน้าภายในวงเงินที่คุณสามารถใช้คืนได้ พิจารณาว่าคุณสามารถใช้เงินในจำนวนเท่าไร แล้วค่อยใช้เครดิตตาม จำนวนนั้นแทน การนั่งคำนวณว่า คุณจะได้รับเครดิตเท่าไร

กฎทั่วไป คือ คุณควรจะจำกัดยอดการกู้ยืมเงินไว้ที่ 20% ของรายได้หลังหักภาษี ควรจำกัดตัวเองด้วยการใช้บัตรเพียงใบเดียว เช่น บัตรเครดิตของห้างสรรพสินค้าที่คุณชอบ หรือบัตรสถานีบริการน้ำมัน ควรแน่ใจว่า ในการชำระเงินที่กู้ยืมมานั้น คุณไม่ต้องจ่ายค่าปรับ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมี ความยืดหยุ่น ในการชำระเงินเวลาใดก็ได้

อย่าคิดเอาเองว่า คุณได้รับอนุญาตให้กู้ยืม ดังนั้นคุณจึงพร้อมแล้วที่จะใช้เครดิตให้มากกว่ายิ่งขึ้น หากคุณมีเป้าหมายที่ จะควบคุมการเงินของคุณ ควรแน่ใจว่า การเงินของคุณมีเสถียรภาพเพียงพอก่อนการยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติม ควรอ่าน รายละเอียดต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพราะมีข้อแตกต่างมากมายระหว่างผู้ออกเครดิต และเงื่อนไขการจ่ายคืน ปรึกษาคู่สมรส หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในภาระหนี้สิน ควรหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกอย่างดำเนิน ไปอย่างราบรื่น การทำเช่นนี้จะช่วยไม่ให้เกิดการใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือการใช้เงิน อย่างไม่สมเหตุผล อีกทั้งช่วย สร้างความมั่นใจว่า ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทุกคน เต็มใจทำตามข้อตกลง ควรคิดเสมอว่า การเซ็นชื่อร่วมกันถือเป็นสัญญา ถ้าผู้ทำสัญญาไม่อาจชำระหนี้ได้ คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว

ดังนั้นก่อนเซ็นชื่อควรแน่ใจว่าอีกฝ่ายมีความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และพิจารณาว่าคุณ สามารถจัดการกับหนี้สินต่างๆ ได้หากคุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากคุณเป็นนักชอปปิ้งด้วย ที่ไม่อาจห้ามใจตัวเองได้ และมักทำผิดเงื่อนไขการกู้ยืม เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน คุณยังไม่ควรใช้บัตรเครดิตจนกว่า คุณจะสามารถใช้เงินภายในวงเงินที่มีอยู่ได้ ให้บัตรเครดิตเป็น เพื่อนร่วมทางที่คุณวางใจได้ ไม่มีใครต้องการเผชิญกับภาวะเงินขาดมือ ในขณะอยู่ต่างประเทศ แต่ถ้าคุณมีบัตรเครดิต ที่ใช้ได้ทั่วโลกสักใบ ฝันร้ายนี้ย่อมจะไม่เกิดขึ้น


ได้ข้อมูลมาจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ข้อมูลมาจาก http://www.sfac.or.th