ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม Cognitive Learning

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถ ในการตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่า มีความแตกต่างกันดังนี้
กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง อันก่อให้เกิดความพึงพอใจ

กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถ ในการตั้งวัตถุประสงค์ 
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้

Learning theory-3
Learning theory-5 Learning theory-6 Learning theory-4
กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
 
กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งร (Insight Learning)

 ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt)ซึ่งประกอบด้วย นักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ

เวอร์ไทเมอร์ Max Wertheimer  คอฟฟ์ก้า Kurt Koffka และเคอเลอร์ Wolfgang Klohler
คำว่า เกสตอล (Gestalt) มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “pattern” หรือ “configuration” หมายถึง แบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวม หรือผลรวมมากว่าส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัยพบว่า การรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึง พิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น
การเรียนรู้ตามแนวของกลุ่มเกสตอล จะมีลักษณะดังนี้

ภาพรวม Learning theory-2 รายละเอียดปลีกย่อย Learning theory-1  ภาพรวม
(Whole) (Parts) (Whole)
(ความเข้าใจ)
(Insight) 

การทดลองของกลุ่มการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ผลการทดลองสรุปได้ว่า โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้แลการแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์ เดิมมากว่ากาลองผิดลองถูก  เมื่อ

เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ใน การแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม หลักการรับรู้ของมนุษย์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้มีผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ 
การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjective) และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย

กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้
1. กฎแห่งความใกล้ชิด (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 
2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 

 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ (Information Processing Model of Learning) 

 นักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมมีความสนใจว่า มนุษย์มีวิธีการรับรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร เมื่อได้ความรู้แล้วมีวีการจำอย่างไร สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนข้อมูลใหม่อย่างไร ด้วยความสนใจดังกล่าวจึงได้ทำ การทดลองและตั้งเป็น ทฤษฎีการเรียนรู้โดย การประมวลสารสนเทศขึ้น  ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา
ขั้นตอนการเรียนรู้
ภาพแสดงขั้นตอนการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ

Learning theory-7

สิ่งเร้า (Environmental Stimuli) คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ในขณะนั้น สิ่งเร้าในแต่ละขณะจะมีมากมาย แต่จากการศึกษาวิจัยของ นักจิตวิทยาเรื่องกระบวนการรับสัมผัสพบว่ามนุษย์มีความสามารถในการรับรู้ข้อมูลต่างๆ ในแต่ละครั้งอย่างมากที่สุด ได้ประมาณ 11-12 ชั่วโมง
ระบบบันทึกการรับรู้ (Sensory Register) คือ หน่วยบันทึกความจำหน่วยแรกของมนุษย์ ข้อมูลในขณะนี้เป็น ข้อมูลชนิดเดียวกับ ที่ได้รับรู้มา ระยะของความจำจะมีประมาณ 1-3 วินาที เพื่อให้บุคคลตัดสินใจว่า มีความสนใจในข้อมูลนั้นหรือไม่ ข้อมูลที่ไม่ต้องการ ก็จะสูญหายไปส่วนข้อมูลที่ต้องการก็จะเข้าสู่ความจำระยะสั้นต่อไป
ความใส่ใจ (Attention) ในขั้นนี้จะเป็นการคัดเลือกข้อมูลต่างๆ ที่สนใจเข้าสู่ความจำระยะสั้น ในช่วงนี้เรื่องสมาธิ ค่อนข้างมีความสำคัญมาก
การรู้จัก (Recognition) ในขั้นนี้จะเป็นการเก็บรายละเอียดของลักษณะข้อมูลที่สำคัญและนำมาสร้างความสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว
ความจำระยะสั้น (Short-term Memory) เป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้เพราะเป็นความจำที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้ (Working Memory) ตัวอย่างเช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการใช้ในขณะนั้น การจำในขั้นนี้เหมือนกับการเก็บแฟ้มข้อมูล (File) ซึ่งมนุษย์สามารถเก็บ(จำ) เรื่องต่างๆ ได้ประมาณ 7 เรื่อง ในระยะเวลา 20 วินาที เมื่อได้รับข้อมูลใหม่ข้อมูลที่ได้รับเข้ามาใหม่ อาจจะรวมกับข้อมูลเดิมหรือ ข้อมูลเดิมถูกลบออกจนหมดสิ้น
การขยายความคิด (Elaborative Rehearsal) เมื่อเกิดความจำระยะสั้นแล้ว ต้องนำข้อมูลนั้นมาขยายความคิด โดยการจัดหมวดหมู่และให้ความหมายกับข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความจำระยะยาว
ความจำระยะยาว (Long-term Memory) เป็นสุดยอดปรารถนาของการเรียนรู้ข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบอย่างดี โดยการแปล ความหมาย สร้างความ สัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูล ข้อมูลใดที่ยังขาดความสัมพันธ์กัน หรือมีช่องว่างอยู่ก็จะต้อง พยายามขจัด ช่องว่างโดย การใช้หลักทางตรรกศาสตร์คือการหาเหตุผลและสร้างความสัมพันธ์
ระบบควบคุม (Control Process) มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นตัวควบคุมและเชื่อมโยงความจำระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งเป็น ตัวกำหนดปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่ผู้เรียนจำและสามารถนำออกไปใช้ได้
การนำมาใช้บ่อยๆ (Maintenance Rehearsal) การนำข้อมูลมาใช้บ่อยๆ เพื่อเป็นการย้ำในขั้นการจำระยะสั้น และเพื่อใช้สำหรับ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีอยู่ 4 ประการ คือ

1. คุณลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) คือสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น ความรู้เดิม ทัศนคติ แรงจูงใจ รูปแบบความคิด เป็นต้น
2. กิจกรรมของผู้เรียน (Learner Activities) ในส่วนนี้จะเกี่ยวกับขบวนการใช้สมองของผู้เรียน ในขณะเกิดการเรียนรู้ โดยพิจารณาว่า ผู้เรียนจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เช่น นั่งฟังคำบรรยายด้วยความสนใจ จดโน้ตตาม ขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ เป็นต้น
3. ธรรมชาติของสิ่งที่เรียน (Nature of the Learning Material) คือข้อมูลนั้นเป็นข้อมูล ประเภทใด เนื้อหาของข้อมูลนั้น มีลักษณะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาดีมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
4. วิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Nature of the Criterion) คือลักษณะต่างๆ ที่ผู้เรียน แสดงออกมา เมื่อเรียนรู้แล้ว เช่น ตอบข้อเขียนได้ถูกต้อง สอบปากเปล่าได้ แสดงทักษะต่างๆ ให้ปรากฏ เป็นต้น

การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง (Metacognition) การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อ ผู้เรียนควบคุมตนเองได้ (Self-Reguletion) ลักษณะดังกล่าวนี้ ฟลาแวล ได้เป็นผู้อธิบายไว้โดยเน้นถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่จะต้องอาศัย ความสามารถทางปัญญา โดยเขาใช้คำว่า "Metacognition" เพื่ออธิบายว่าผู้เรียนจะต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด (Thinking Process) ของตนเอง ถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ คำว่า Metacognition นี้จะเปรียบเทียบได้กับระบบควบคุม (Control Process) ซึ่งความรู้ในลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความกระจ่าง คือ รู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำอย่างไร (How) และทำเมื่อไร (When)

องค์ประกอบของความรู้ มี 3 ประการ คือ

1. องค์ประกอบด้านบุคคล (Person Variable) คือความรู้ความเข้าใจในความสามารถของผู้เรียนว่าตนเองมีคุณสมบัติและ มีความสามารถอยู่ในระดับใด
2. องค์ประกอบด้านงาน (Task Variable) คือ ลักษณะของงานที่จะต้องเรียนรู้
3. องค์ประกอบด้านยุทธวิธี (Strategy Variable) คือ เทคนิคหรือวิธีการที่ผู้เรียนเลือกใช้ใน การเรียนรู้งาน