สติปัญญา (Intelligence)

ความหมายของสติปัญญา

แมคเนมาร์ ได้สรุปความหมายของสติปัญญา ที่นักวิจัยกลุ่มต่างๆ ได้กล่าวไว้ว่าแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่1  ให้ความหมายของสติปัญญา ในแง่ของความสามารถใน การปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ผู้มีสติปัญญาสูงจะปรับต้วเข้ากับสิ่งแวดล้อม ได้ดีกว่า ผู้มีสติปัญญาต่ำ

กลุ่มที่2  ให้ความหมายของสติปัญญาว่า เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา ผู้มีสติปัญญาสูงจะแก้ใขได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ

กลุ่มที่3  ให้ความหมายของสติปัญญาว่า เป็นเรื่องของความสามารถ ในการคิดแบบ นามธรรม ผู้มีสติปัญญาสูงจะคิดแบบนามธรรมได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ

กลุ่มที่4  ให้ความหมายของสติปัญญาว่า เป็นความสามารถในการเรียนรู้ ผู้ที่มีสติปัญญาสูงจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ที่มีสติปัญญาต่ำ

จากข้อความที่กล่าวข้างต้นทั้งหมด อาจสรุปเกี่ยวกับสติปัญญาได้ว่า สติปัญญาเป็นความสามารถในตัวบุคคล ที่จะทราบได้จากพฤติกรรมที่บุคคล แสดงออก ระดับของสติปัญญาสังเกตได้จากการแสดงออกที่มีความคล่องแคล่ว รวดเร็ว ความถูกต้อง ความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาและการปรับตัว การใช้แบบทดสอบวัดสติปัญญาจะทำให้ทราบระดับสติปัญญาชัดเจนขึ้น

ทฤษฎีทางสติปัญญา

ได้มีการศึกษาและสรุปเป็นทฤษฎีเกี่ยงข้องกับสติปัญญาหลายทฤษฎีแต่ละทฤษฎีก็พยายามอธิบายสติปัญญาว่ามีองค์ประกอบใดบ้าง

สเบียร์แมน (Spearman) ผู้ตั้งทฤษฎี 2 องค์ประกอบ ซึ่งสรุปว่าสติปัญญาประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่

1. องค์ประกอบทั่วไป (General factor หรือ  g factor) คือ ความสามารถพื้นฐานในการกระทำต่างๆที่ทุกคนต้องมี

2. องค์ประกอบเฉพาะ (Specific factor หรือ s factor)  คือ ความสามารถเฉพาะที่แต่ละคนมีแต่ต่างออกไป หรือเรียกกันว่าความถนัดหรือพรสวรรค์

เธอร์สโตน (Thurstone) เจ้าของทฤษฏีหลายองค์ประกอบ แยกองค์ประกอบของสติปัญญามนุษย์ออกเป็น 7 ด้านได้แก่
  1. ด้านความเข้าใจในภาษา (Verbal comprehension)
  2. ด้านความคล่องแคล่วในการใช้ถ้อยคำ (Word fluency)
  3. ด้านตัวเลข การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Number)
  4. ด้านมิติสัมพันธ์  การรับรู้รูปทรง ระยะ  พื้นที่  ทิศทาง (Spatial)
  5. ด้านความจำ (Memory)
  6. ด้านความรวดเร็วในการรับรู้ (Perceptual speed)
  7. ด้านการให้เหตุผล (Reasoning)

 สเทิร์นเบอร์ก (Sternberg. 1985 : 342-344) ผู้คิดทฤษฎีสามศรเสนอว่าองค์ประกอบของสติปัญญามี 3 องค์ประกอบอธิบายเป็น 3 ทฤษฎีย่อยดังนี้

1.ทฤษฎีย่อยด้านสิ่งแวดล้อม  (Contextual subtheory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการเลือกสิ่งแวดล้อม ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและการปรับแต่งสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับสภาพของตน

2.ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experiential subtheory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาแปลกใหม่ และความคล่องแคล่วในการจัดลำดับขั้นตอนต่างๆ

3.ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (Componential subtheory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรู้ความคิดของตนเอง การปฏิบัติตามความคิด และด้านการแสวงหาความรู้

 การ์ดเนอร์ (Gardner) เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple intelligences) ซึ่งสรุปว่าสติปัญญาประกอบไปด้วย ความสามารถที่แสดงออกในรูปของทักษะ 7 ด้านได้แก่

  1. สติปัญญาด้านดนตรี (Music intelligence)
  2. สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily kinesthetic intelligence)
  3. สติปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ (Logical-mathematical  intelligence)
  4. สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic  intelligence)
  5. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial  intelligence)
  6. สติปัญญาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Interpersonal  intelligence)
  7. สติปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง  (Intrapersonal  intelligence)

 สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสติปัญญา

1.  พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางสายพันธ์จากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน  ซึ่งพิจารณาได้จาก ระดับของสติปัญญา เพศ วัย และเชื้อชาติ

2.   สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสติปัญญานั้น เริ่มตั่งแต่การปฏิสนธิ จนถึงการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ ความพร้อมในการตั้งครรภ์ อาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การประสบอุบัติเหตุ การอบรมเลี้ยงดู ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว การจัดสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขในการเรียนรู้

การวัดสติปัญญา

การวัดสติปัญญา เป็นการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดสติปัญญาว่าอยู่ในระดับใด ประเภทของแบบทดสอบจำแนกออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้ ได้แก่

1.  แบบทดสอบรายบุคคล ที่นิยมใช้กันในประเทศไทยได้แก่

1.1 แบบทดสอบสติปัญญาของสแตนฟอร์ด-บิเนท์ (Stanford-Binet Intelligence Scale)ใช้วัดเพื่อแยกเด็กที่มีปัญหาด้านสติปัญญาออกจากเด็กปกติ แบบทดสอบประกอบด้วยแบบทดสอบชุดย่อยๆที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ (Judgment)  การหาเหตุผล ( Reasoning) และความเข้าใจ (Comprehension)

1.2   แบบทดสอบสติปัญญาของเวคสเลอร์ (Wechsler Scales) ใช้วัดระดับสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชุด ได้แก่

1.2.1 Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence ใช้กับเด็กอายุ 4-6 ปี

1.2.2 Wechsler Intelligence Scale for Children-Revise (WISC-R) ใช้ทดสอบเด็กอายุ 6-16 ปี

1.2.3 Wechsler Adult Intelligent Scale (WAIS) ใช้ทดสอบบุคคลอายุ 16-75 ปี

2. แบบทดสอบเป็นกลุ่ม ใช้ในการทดสอบพร้อมกันเป็นกลุ่ม   ที่ใช้ในประเทศไทย จะเป็นแบบทดสอบเชาว์ปัญญาวัฒนธรร มเสมอภาค เพราะใช้ได้กับบุคคลทุกชาติ ทุกภาษา และทุกวัฒนธรรม เป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษาถ้อยคำได้แก่ แบบทดสอบโปรเกสสีพเมตริคส์ของRaven