การคิดนอกกรอบ

การคิดนอกกรอบ Lateral Thinking การคิดแนวข้าง

การคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) คำว่า “การคิดนอกกรอบ” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Lateral Thinking” (บางแห่งใช้คำว่า “การคิดแนวข้าง”)

Dr. Edward de Bono เป็นชาวสหรัฐอเมริกา เกิดที่เมืองมอลตา เป็นอาจารย์สอนที่ มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดเคมบริดจ์ และฮาวาร์ดเป็นผู้นําในการสอนเรื่องการคิดโดยตรงในแง่ที่ การคิดเป็นทักษะอย่างหนึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่องการคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking)

การคิดแนวตั้งเป็นการคิดที่เป็นลําดับต่อเนื่่อง เมื่อได้ข้อสรุปที่ถูกต้องความถูกต้องก็มาจากความ ถูกต้องสมบูรณ์ของแต่ละขั้นที่่ผ่านมา ส่วนแนวคิดแนวนอน ในแต่ละขั้นของการคิดอาจไม่ลําดับ ต่อเนื่องกันเป็นการกระโดดข้ามขั้นแก้ปัญหาความสําเร็จบางครั้งอาจไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล มารองรับ แต่ก็ได้แนวคิดใหม่ๆ

ความแตกต่างระหว่างความคิดแนวตั้งกับแนวข้าง
ความคิดแนวตั้ง ความคิดแนวข้าง
เลือกสรร (ทำตามขั้นตอน) สร้างสรรค์ (ทำสิ่งแปลกใหม่)
เคลื่อนไหวเมื่อมีทิศทางให้เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวเพื่อสร้างสรรค์ทิศทาง
เป็นเชิงวิเคราะห์ เป็นเชิงกระตุ้น เคลื่อนไหวไปทีละขั้น กระโดดข้ามขั้นได้
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะถูกต้องทุกขั้นตอน
ไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องทุกขั้นตอน
ใช้ข้อห้าม ข้อจำกัด ข้อปฏิเสธ เป็นตัวตัดทางเลือก ไม่มีคำว่าข้อห้าม ข้อจำกัด ข้อปฏิเสธ
ตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ยอมรับได้ทุกสิ่ง
ต้องมีการจัดประเภทที่แน่ชัด ไม่มีความจำเป็นเช่นนั้น
เคลื่อนไหวตามเส้นทางที่น่าจะเป็นที่สุด เคลื่อนไหวตามเส้นทางที่ไม่น่าจะเป็นที่สุด
ไม่เป็นกระบวนการที่มีขอบเขตแน่ชัด เคลื่อนไหวตามเส้นทางที่ไม่น่าจะเป็นที่สุด

ข้อเท็จจิงของความคิดแนวข้าง

  1. ถึงแม้เป็นมุมมองใหม่และความคิดใหม่จะมีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ก็ไม่มีวิธีการที่ปฏิบัติได้จริง ที่จะคิดมันออกมาจึงทำได้แต่เพียงรอคอยให้มันเกิดขึ้นเอง
  2. เมื่อใดก็ตามที่ข้อยุติหนึ่งถูกกล่าวขึ้นว่าค้นพบโดยความคิดแนวข้าง เมื่อข้อยุตินั้นก็สามารถค้นพบได้โดยเหตุผล เช่นกัน ด้วยเหตุการณ์ความคิดแนวข้างจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเนื่องจากทดแทนด้วยความคิดแนวตั้งที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง
  3. ความคิดแนวข้างเป็นสิ่งเดียวกับตรรกศาสตร์เชิงนิรนัย (Inductive)
  4. ความคิดแนวข้างไม่ใช่วิธีการคิดอย่างจงใจ แต่เป็นพรสวรรค์ที่บางคนมี แต่บางคนไม่มี

 

ประโยชน์ของความคิดแนวข้าง

  1. ได้ความคิดใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิม
    ซึ่งหากใช้ความคิดแนวตั้งมักจะติดกรอบเหตุผลมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และมักจะไม่สามารถผ่านไปได้ การฝึกคิดแนวข้างจะทำให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่และไม่เคยคิดมาก่อนซึ่งเป้นส่วนสำคัญให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในที่สุด
  2. สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาแบบ คิดใหม่ทำใหม่
    ซึ่งในการแก้ปัญหาที่ดีควรต้องมีการแสวงหาทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตกลงใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาบางเรื่องนั้นมักมีทางเลือกในการแก้ไขแบบเก่าๆซึ่งไม่อาจทำให้การแก้ไขปัญหาไม่สำเร็จหรือดีเท่าที่ควรดังนั้นการคิดแนวข้าง จะได้วิธีการใหม่ๆที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่าก็เป็นได้
  3. มีมุมมองหรือทัศนคติที่เปลี่ยนไปจากเดิม
    ในบางครั้งเราคิดว่าความคิดของมนุษย์นั้นมีข้อจำกัดมีความคิดได้เพียงระดับหนึ่งและไม่สามารถคิดให้มากว่านั้นได้เปรียบเหมือน การขับรถบทท้องถนนที่ลดติดซึ่งคนทั่วก็ต้องยอมขับตามๆกันไปแต่การมีความคิดแนวข้างคือการแสวงหาซอยหรือทางลัดใหม่ที่จะช่วย ให้การเดินทางไปถึงจุดหมายได้เร็วกว่าและดีกว่า
  4. นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่
    ในโลกยุคปัจจุบันนวัตกรรมทั้งด้านสินค้าและบริการเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันซึ่งการที่จะมีนวัตกรรมได้นั้นต้องผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือการคิดแนวข้างนั่นเอง

หลักการพื้นฐานของการคิดแนวข้าง

  1. การสร้างทางเลือก
    การคิดแนวข้างเป็นเรื่องของการสำรวจมุมมองอื่นๆ โดยการปรับโครงสร้างและจัดเรียงข้อมูลที่มีอยู่ใหม่ ความคิดแนวข้างนั้นก็คือการการเคลื่อนออกไปด้านข้างแทนที่จะเคลื่อนไปตรงๆ ซึ่งต่างจากแนวตั้งนั่นเอง
  2. การท้าทายสมมติฐาน
    โดยปกติคนเราจะสมมติฐานไปเองว่าความคิดเดิมนั้นดีอยู่แล้ว ซึ่งส่งผลให้เราไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำในรูปแบบใหม่ ดังนั้นการที่คิดท้าทายความคิดเดิมเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้แล้วพยายามหาคำตอบที่ดีที่สุดกว่าคำตอบเดิมที่แม้แต่ถูกต้องแล้วก็ตาม
  3. การชะลอการตัดสินใจ
    การคิดแนวตั้งนั้นมักต้องมีการใช้เหตุผลหรือต้องเป็นไปตามขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มคิดครั้งแรก แต่การใช้ความคิดแนวข้างนั้น มักไม่รีบด่วนสรุปตัดสินใจจะชะลอเวลาเพื่อรอความคิดที่ดีที่สุด และตัดสินใจเลือกความคิดใดนั้นอย่างมีเหตุมีผลในขั้นสุดท้าย

การคิดแนวข้างนั้นถือเป็นแนวคิดที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะเหตุว่าเมื่อมนุษย์มีความสามารถในการคิดที่ดีแล้วย่อมส่งผล ต่อการปฎิบัติสร้างสรรค์สิ่งต่างๆเพื่อช่วยให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรื่องในที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการมีความคิดที่ชาญฉลาดย่อมต้องมีการควบคุมด้วยความคิดในเชิงจริยธรรมอีกด้วยเพราะเหตุว่าถ้าคนฉลาดแต่ไม่มีความดีแล้ว ละก็สังคมก็จะมีความวุ่นวายและเสื่อมทรามในที่สุด เช่นเดียวกันกับในองค์การหากมีพนักงานที่เก่งแต่ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตองค์การนั้นก็คงไปไม่ตลอดรอดฝั่งเช่นกัน