คิดแบบนักบริหาร

คิดแบบนักบริหาร จิรวัฒน์ วีรังกร

ฐานความคิดผู้นำกิจกรรมนิสิตก่อนก้าวสู่การบริหารจัดการ

1. พัฒนาความมั่นใจในตนเอง
- ซึ่งต้องมีอยู่ทั้งในใจผู้นำและแสดงออกทางกริยาภายนอกให้ผู้คนได้เห็น
2. พยายามควบคุมทัศนคติของตนเองให้ได้
- การควบคุมทัศนคติของตนเอง คือ การเลือกแนวคิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์
- หากควบคุมท่าทีและทัศนคติของตนเองได้ ก็เท่ากับควบคุมคนอื่นได้เช่นกัน แต่หากไม่สามารถควบคุมทัศนคติของตนเองได้ ผู้อื่นก็จะเข้ามาควบคุมให้
- ท่าทีในการควบคุมทัศนคติ เช่น เตือนตนเองอยู่เสมอว่า จะต้องควบคุมตนเองรับรู้และควบคุมทิศทางของตนเองอยู่ตลอดเวลา
3. พร้อมจะมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ
ลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักบริหารที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมีรากฐานความคิดของ "ความอดทน" "ความเพียรพยายาม" ความสามารถที่จะยืนหยัดได้ด้วยตนเอง" หรือ"ความตั้งใจจริงที่จะกระทำ"
4. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง 
- หาอาหารสมองเพื่อเติมให้แก่ตนเองโดยตลอด 
- เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น
- เลียนแบบผู้นำที่มีความสามารถ
5. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้างสรรค์
* จุดสำคัญที่นักบริหารต้องมี คือ มีความคิดเห็นที่ริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะมีโอกาสมากกว่าใครๆที่จะกระทำและคิดด้วยจินตนาการ
* การมีความคิดสร้างสรรค์ มิได้มุ่งเน้นเพียงการฝันถึงประเด็นใหม่ๆ เท่านั้น
แต่ยังหมายถึง การใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปในการเสนอความคิดเห็นของตนเอง การจัดการกับปัญหาเก่า ๆ ด้วยวิธีใหม่
* ผู้นำสามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์โดย เริ่มต้นจากการมีทัศนคติเชิงบวก สนับสนุนผู้อื่นให้พยายามพัฒนาความคิด อย่างไม่ท้อถอย
ความคิดที่อันตรายที่สุดสำหรับนักบริหาร คือ ความวิตกกังวล
เพราะฉะนั้น นักบริหารต้อง "สนุกกับการแก้ปัญหา" มากกว่า "กังวลกับปัญหา"
- นักบริหารที่มีประสิทธิภาพ จะไม่เคยคิดพอใจ ไมว่าสิ่งต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างดีเพียงใดก็ตาม ต้องคิดว่าทุกสิ่งจะต้องเปลี่ยนแปลง คนที่มีความคิดริเริ่มจะไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่จะมองหาหนทางการเปลี่ยนแปลง เพราะรู้ว่าเป็นการนำมาวึ่งความก้าวหน้าและรุ่งโรจน์
" ยิ่งคุณก้าวขึ้นสูงเพียงไร ก้าวย่างของคุณจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้นเท่านั้น จึงควรจะต้องก้าวให้ช้าลง และคิดให้รอบคอบ"
มุมมองต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคต
* อดีตที่ผ่านมา ความแน่นอนมีสูง การเปลี่ยนแปลงค่อนช้างช้า การเดินตามอดีตที่เคยเป็นมา สามารถจะทำได้และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก
* แต่จากวันนี้เป็นต้นไป เรากำลังอยู่ในโลกแห่งความไม่แน่นอน และโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะมีอัตราเร่งที่รวดเร็วและมีอยู่ตลอดเวลา นำไปสู่การเกิดสภาพแวดล้อมที่ผันผวน มี
ความแตกต่างจากอดีตโดยสิ้นเชิง
* ถนนสู่อนาคตต่อจากนี้ไป ไม่รู้ว่าสภาพถนนจะเป็นอย่างไร เดาได้ยาก เพราะฉะนั้นรถที่จะต้องใช้ จะต้องมีความคล่องตัว และปรับเปลี่ยนได้ในทุกสภาพถนน
* เพราะฉะนั้น องค์กรกิจกรรมนิสิตจะต้องรู้จัก ติดตามความเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด

พัฒนามุมมองแบบนักบริหาร

- ผู้นำกิจกรรมนิสิตต้องตระหนักว่า "อนาคตแตกต่างจากอดีต"
โอกาสที่จะกลับไปสู่สภาพเดิมเป็นไปได้ยาก ดังนั้นในหลายเรื่อง เราอาจต้องเลิกเรียนรู้ตัวแบบเก่า กระบวนทัศน์เก่า กลยุทธ์เก่า สมมุติฐานเก่า ตำรับความสำเร็จเก่า ๆ
- ยุคใหม่ต้องการองค์กรแบบใหม่ ต้องการวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ เพื่อให้พร้อมรับมือกับสภาพการณ์ที่ "ไม่แน่นอน" และให้สอดคล้องกับ "โลกยุคข้อมูลข่าวสาร"
- ผู้นำจึงต้องคิดว่า "เราจะไปไหนกันต่อไป" เราจำเป็นต้องมองไปข้างหน้า สแกนทัศนียภาพ เฝ้ามองการแข่งขัน วางแนวโน้มและโอกาสใหม่ ๆ กำหนดวิสัยทัศน์ มุมมอง เป้าหมายเกี่ยวกับอนาคตที่ชัดเจน ต้องสร้างความคิดของตนเองเกี่ยวกับทิศทางที่ควรจะไป และวางแนวทางในอนาคตสำหรับองค์กรของตนเอง
- เช่นนั้น บทบาทของผู้นำกิจกรรมนิสิต จึงต้อง
* ต้องบริหารโดยมุ่งเน้นเป้าหมายมากขึ้น ท่ามกลางสภาพการณ์ที่ไม่แน่นอน
* ต้องสามารถสร้างทีมงานได้ ซึ่งแต่ละคนในกลุ่มต้องสามารถจัดการงานของตนเองได้
* ต้องสื่อสารส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วและชัดเจน
* ต้องสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในทีมได้
* ต้องมองเห็นภาพรวมในภารกิจขององค์กร
* ต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร (Corporate Culture) เพื่อสนับสนุน

ลักษณะการคิดแบบนักบริหาร : คิดกว้าง มองใกล ใฝ่สูง มุ่งความสำเร็จ

  1. คิดกว้าง
    * คิดอย่างผู้ประกอบการ
    * คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก
    * คิดหลายมิติ
    * ไม่ยึดติดกรอบความคิดเก่า
  2. มองใกล
    * จินตนาการภาพอนาคตขององค์กร
    * พยากรณ์สภาพแวดล้อมในอนาคต เพื่อพิจารณาโอกาสและความเสี่ยง
  3. ใฝ่สูง
    * คิดพัฒนาสร้างสรรค์ เพื่อสร้างวันนี้ให้ดีกว่าวันวาน
    * คิดสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม
    * ตั้งมาตรฐานการดำเนินงานไว้สูง
  4. มุ่งความสำเร็จ
    * ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ที่กำหนด
    * มุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้

รูปแบบและวิธีการคิดแบบนักบริหาร

  1. คิดเชิงบวก คือ วิธีคิดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
    * มีทัศนคติสามารถมองเห็นความเป็นไปได้ (Can-do attitude)
    * มองปัญหาให้เป็นโอกาส
    * ทำความยากลำบากให้เป็นบันไดของความสำเร็จ
  2.  คิดมองภาพรวมการดำเนินงาน มากกว่าคิดมองแบบแยกส่วน
    * มองเห็นภาพรวมการดำเนินงานตลอดทั้งปี
    * มองเห็นแนวทางการขับเคลื่อนของโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ
    * ไม่มองเรื่องยิบย่อย แต่มองภาพความเชื่อมโยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในภาพรวม
  3.  คิดแบบทวิลักษณ์
    * คิดมองเรื่องใดเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ มิติ มองทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ไม่มองมุมเดียว โดยเฉพาะในเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาและตัดสินใจ
  4. คิดเชิงกลยุทธ์ ด้วยการตอบคำถามว่า
    Where are we now ?
    What do we want to be ? 
    How do we get there ?
    How do we measure progress ?
  5.  คิดอย่างมีวิสัยทัศน์ คือ
    * คิดให้ไกล ไปให้ถึง คำนึงถึงความเป็นไปได้ (มองเห็นวิธีการและความเป็นไปได้ในเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้)
  6. คิดบนฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ มากกว่าใช้สามัญสำนึก (Common Sense)
    * คิดเรื่องอะไรต้องใช้ฐานข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ประกอบการคิด (ไม่คิดคาดเดาเอาเอง)
  7. คิดแบบ End Mean คือ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนพิจารณาวิธีการ
  8. มีความเชื่อว่าหลายหัวดีกว่าหัวเดียว (สร้างการมีส่วนร่วม) รู้จักระดมความคิดที่หลากหลายเพื่อวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เอาประเด็นการมองทั้งหมดมาดูร่วมกัน สร้างบรรยากาศร่วมกันคิด ร่วมกันทำ สร้างการมองประเด็นปัญหาให้ตรงกัน นำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
  9. รู้จักใช้ความคิดนอกกรอบ (Think out of the box) ให้หลุดพ้นจากกรอบความคิดเดิม กระบวนทัศน์เดิม
  10. รู้จักกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของผลงาน เพื่อปักธงความสำเร็จที่เราต้องผลักดันไปให้ถึง เน้นการทำงานให้ได้ผล มีประสิทธิภาพ และประหยัดสุด