การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล ที่มีอิทธิพลต่อกันและกัน เป็นกระบวนการสองทาง ในที่นี้จะกล่างถึงความสัมพันธ์ทางสังคม การรับรู้ทางสังคม การปฎิสัมพันธ์ในกลุ่ม และการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ทางงสังคม

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมขั้นพื้นฐาน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองคน เช่น ครู – นักเรียน สามี - ภรรยา ลูกจ้าง - นายจ้าง ผู้ซื้อ - ผู้ขาย ฯลฯ พฤติกรรมของบุคคลทั้งสองมีอิทธิต่อฤติกรรมของกันและกัน ในรับระดับต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของความสัมพันธ์ สามี - ภรรยามีอิทธิพลต่อกันและกันมากกว่าผู้ซื้อ - ผู้ขาย แม่ - ลูกมีอิทธิพลต่อกันมากกว่า นายจ้าง - ลูกจ้าง ในการพยามยามทำความเข้าใจกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ธิโบต์และเคลลี่ย์ ได้ดัดแปลงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคม โดยกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ หรือ ยุติ ขึ้น อยู่กับการที่แต่ละบุคคลวิเคราะห์ถึงประโยชน์และผลเสียที่จะได้รับ การวิเคราะห์นี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการปฏิสัมพันธ์กันเกิดในระดับจิตใต้สำนึก และจะมีผลต่อพฤติกรรมการตอบสนองของบุคคล ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ถ้าเราเข้าไปในลิฟท์และพบว่ามีคนอยู่ในนั้นหนึ่งคน เราอาจจะเมินหน้ามองไปทางอื่น หรือประสานสายตาและทักทาย พูดคุยด้วย คนที่อยู่ในลิฟท์ก็อาจากระทำเช่นกัน การที่บุคคลจะทำเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ผลเสียที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความอาย ความน่าเบื่อ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และผลประโยชน์ที่อาจได้รับ เช่น ความพอใจ ความคุ้นเคย ฯลฯ บุคคลจะเลือกกระทำพฤติกรรมที่ประเมินแล้วว่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ ถ้าเราคิดว่าทักทายพูดคุยกันแล้วจะได้มีเพื่อนมากขึ้น ทำให้หายเหงาด้วย เราก็จะทัก แต่ถ้าคิดว่าหากเราทักก่อนและเขาไม่ทักตอบย่อมทำให้ได้อาย หรือดูท่าทางเขาจะเป็นน่าเบื่อมากกว่าน่าคบ เราก็ไม่ทักและเมินหน้าไปทางอื่น

สมมติว่าในเหตุการณ์ข้างต้นนั้นได้มีการทักทายกัน เราจะดูความพึงพอใจ ที่มีต่อความสัมพันธ์ได้จากความคาดหวังหรือระดับการเปรียบเทียบของแต่ละบุคคล ระดับการเปรียบเทียบในการปฏิสัมพันธ์ใดๆ หมายถึง ระดับของผลประโยชน์ที่คนคาดหวังหรือคิดว่าตนควรจะได้รับ ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต การเห็นตัวอย่างจากบุคคลอื่น และระดับการมองโลกดีเพียงใด คนที่คาดหวังประโยชน์ที่ตนจะได้รับไว้สูงๆ เมื่อไม่ได้ผลตามที่ตนคิดก็จะไม่มีความสุข ดังนั้นความพึงพอใจในการปฏิสัมพันธ์จะเกิดขึ้นเมื่อผลประโยชน์ที่ได้รับสูงกว่าระดับการเปรียบเทียบสูงกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้ ความพึงพอใจที่จะทำให้บุคคลคงความสัมพันธ์นั้นไว้ ตราบจนผลประโยชน์ที่ได้รับต่ำกว่าระดับความคาดหวัง ความไม่พึ่งพอใจย่อมเกิดขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การยุติความสัมพันธ์ลงได้ ถ้าบุคคลมีตัวเลือกอื่นๆ เช่น เราอาจหยุดคุยกับคนที่เราพบในลิฟท์ ถ้าเราคิดว่าการคุยกับเขาได้ประโยชน์น้อยกว่า การคิดถึงปัญหาบางอย่างที่ยังค้างอยู่ในใจ ส่วนเพื่อนร่วมลิฟท์ของเราอาจยังคุยต่อ เพราะประโยชน์ที่ได้รับจากากรสนทนาสูงกว่าความคาดหวัง ที่เข้าตั้งไว้ก็ได้ นั่นคือ ผลประโยชน์ที่แต่ละบุคคลคาดหวังไว้ย่อมแตกต่างกัน แม้ในแต่ละบุคคลยังแตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์และสภาพอารมณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การรับรู้ของบุคคลในขณะหนึ่งๆ
ลักษณะแกนกลาง

นอกจากความประทับใจครั้งแรกแล้ว บุคคลยังมีลักษณะบางอย่างเป็นแกนกลางในการจะทำให้เกิดการรับรู้โดยส่วนรวมเร็วขึ้นด้วย ถ้าลักษณะแกนนี้เปลี่ยนไป การรับรู้ก็เปลี่ยนไป เช่น ถ้าให้ข้อมูลว่า บุคคลนี้เป็นคนที่ฉลาด มีทักษะ ขยัน อบอุ่น ตัดสินใจดี มีเหตุ - ผล และระมัดระวัง บุคคลนี้มักได้รับการรับรู้ว่า บุคคลนี้เป็นคนดี มีความสุข และนิสัยดี แต่เมื่อแบ่งคำบางคำในข้อมูลชุดข้างต้น คือ เปลี่ยนจาก “อบอุ่น” เป็น “ชาเย็น” ปรากฏว่า การรับรู้ที่มีต่อบุคคลนี้เปลี่ยนไปทันที การรับรู้จะคงถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลคำอื่นๆ แสดงว่า คำว่า “อบอุ่น” และ “ชาเย็น” นี้เป็นลักษณะแกนกลางในการรับรู้ทางสังคมอย่างหนึ่ง

เนื้อเรื่อง

การรับรู้บุคคลอื่นๆ ของเราขึ้นอยู่กับเนื้อหาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ๆ ด้วยความประทับที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามเนื้อเรื่องที่เราทราบ เช่น การรับรู้ของเราที่มีต่อ “ความก้าวร้าว” ของคนที่มีเมตตา ย่อมแตกต่างจาก “ความก้าวร้าว” ของคนใจร้าย สำหรับคนที่มีเมตตาจิตสูงนั้น เรามักเชื่อว่า ความก้าวร้าวที่เขาแสดงออกรุนแรงน้อยกว่าของคนใจร้ายคนมีเมตตาจิตอาจแสดงความก้าวร้าวเพียงคำพูดห้วนๆ หรือดุๆ เท่านั้น แต่ตนใจร้ายอาจแสดงความก้าวร้าวในลักษณะที่อันตราย เช่น ไม้อาวุธ เป็นต้น หรือการรับรู้ต่อคำว่า “ปฏิวัติ” ของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ทั้งนี้เนื้อเรื่องที่เรารับรู้เกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ และนายสัญญานั้น แตกต่างกัน

การรับรู้ทางสังคมอีกประการหนึ่ง คือ การระบุสาเหตุของพฤติกรรม ซึ่งเป็นการที่บุคคลพยายามหาสาเหตุที่ทำให้บุคคลหนึ่ง ๆ แสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาเราสามารถระบุสาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลได้ 2 ประการ คือ สาเหตุแรกจากบุคคลผู้นั้นเองเป็นสาเหตุภายใน เช่น เกิดจากทัศนคติ บุคลิกภาพ อารมณ์ ฯลฯ อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือสาเหตุภายนอก เช่น ถูกจ้างวาน ถูกขู่บังคับ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการระบุสาเหตุของพฤติกรรม คือ

1. ความแตกต่าง ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปเมื่อมีสิ่งเร้าต่างๆกัน สาเหตุของพฤติกรรมอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมย่อมมาจากสาเหตุภายในตัวบุคคลนั้นเอง เช่น นาย ก. ดูภาพยนตร์เรื่องอื่นแล้ว เฉยๆ แต่พอดูเรื่อง เพื่อน-แพง แล้วร้องไห้ แสดงว่าภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน-แพง เป็นเรื่องน่าเศร้า

2. ความเป็นเอกฉันท์ ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมเหมือนบุคคลอื่น ๆ แสดงว่าสิ่งแวดล้อม คือ สาเหตุของพฤติกรรม แต่ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปเพียงลำพัง ย่อมแสดงว่าตัวเขาเองเป็นเหตุของพฤติกรรม อาทิ ทุกคนที่ดูภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน - แพง รวมทั้งนาย ก. ร้องไห้แสดงว่า สาเหตุที่ทุกคนร้องไห้แสดงว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่น่าเศร้า นาย ก. อาจมีประสบการณ์คล้าย ๆ ในภาพยนตร์ จึงก่อให้เกิดการความสะเทือนใจเป็นพิเศษ สาเหตุของการร้องไห้จึงเป็นเหตุจากตัวบุคคลเอง

3. ความสม่ำเสมอ ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่ง ๆ อย่างสม่ำเสมอ สาเหตุของพฤติกรรมอาจเกิดจากตัวบุคคลหรือสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าพฤติกรรมไม่มีความสม่ำเสมอ แสดงสาเหตุของพฤติกรรมจากตัวบุคคล เช่น นาย ก. ดูภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน - แพง หลายครั้งแล้วไม่ร้องไห้ ยกเว้นครั้งนี้ แสดงว่าวันนี้อารมณ์ของนาย ก. อาจไม่ปกติ แต่ถ้านาย ก. ร้องไห้ทุกครั้งที่ดูภาพยนตร์อาจแสดงว่าภาพยนตร์เศร้า หรือ นาย ก. เป็นคนอารมณ์อ่อนไหวง่ายก็ได้

การรับรู้ทางสังคมมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะหากว่าเรารับรู้บุคคลอื่นอย่างไร ปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมของเราที่มีต่อบุคคลนั้น ย่อมเป็นไปอย่างสอดคล้องกับการรับรู้ของเรา

การปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมักเกิดในกลุ่ม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจะต้องมีการรวมกลุ่มกัน ตั้งแต่กลุ่มที่เล็กที่สุด คือ กลุ่มครอบครัว หรือ กลุ่มเพื่อนสนิท 2 คน จนถึงกลุ่มขนาดใหญ่ คือ กลุ่มทางการเมือง หรือ กลุ่มประเทศ พฤติกรรมของคนในกลุ่มจึงย่อมมีผลต่อกันและกันเสมอในที่นี้จะได้กล่าวถึงการปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

1. พฤติกรรมภายในกลุ่ม

พฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ภายในกลุ่มมักจะแตกต่างจากเมื่ออยู่คนเดียว ดังจะเห็นได้จากเรื่องที่กล่าวมาแล้ว การแสดงพฤติกรรมเมื่อมีผู้อื่นอยู่ด้วย การคล้อยตาม พฤติกรรมไร้มนุษยธรรม และอื่น ๆ นอกจากนี้พฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ในกลุ่มซึ่งแตกต่างเมื่ออยู่ตามลพัง ยังได้แก่ อัตราการเสี่ยง และบทบาทของบุคคล

1.1 อัตราการเสี่ยง พฤติกรรมภายในกลุ่มที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ การตัดสินใจของกลุ่ม ได้มีการศึกษาการตัดสินใจในเรื่อง การเสี่ยงของกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเสี่ยงของคน ๆ เดียว เพื่อดูว่ากลุ่มหรือคน ๆ เดียวจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่ากัน ผลการศึกษาปรากฏว่าเมื่ออยู่ในกลุ่มอัตราการเสี่ยงจะสูงกว่า กล่าวคือ เมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บุคคลเลือกที่จะทำงานที่ยากกว่า เสี่ยงอันตรายมากกว่าและลำบากมากกว่าเมื่อต้องทำงานเพียงลำพัง ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุ 2 ประการคือ การกระจายความรับผิดชอบและค่านิยมทางวัฒนธรรม ในเรื่องของการกระจายความรับผิดชอบในกลุ่มนั้น หมายความว่า เมื่ออยู่กันหลายคน บุคคลรู้สึกว่าทุกคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบต่อผลการกระทำร่วมกัน ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็ไม่ต้องรับผิดชอบแต่ผู้เดียวจึงทำให้อัตราการเสี่ยงสูงมากว่าการที่จะต้องรับผิดชอลแต่เพียงผู้เดียว ส่วนเรื่องค่านิยมทางวัฒนธรรมนั้น จะเห็นได้จากสุภาษิตของไทยที่ว่า “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย”หรือ จากเนื้อเพลงที่กล่าวว่า “มาด้วยกัน ตายด้วยกัน เลือดสุพรรณเอ๋ย” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้ามีเพื่อนอยู่แล้ว บุคคลจะมีความกลัวที่จะทำอะไร ๆ มากกว่า และฮึกเหิมกว่าเมื่ออยู่คนเดียว

1.2 บทบาทของบุคคล : บุคคลแต่ละคนเป็นสมาชิกของหลายกลุ่มสังคมในเวลาเดียวกันเป็นสมาชิกของแต่ละกลุ่มสังคมนั้น หมายถึงการที่บุคคลจะต้องแสดงพฤติกรรมตามความหวังของสังคมนั้น ๆ ด้วยพฤติกรรมตามความคาดหวังนี้ก็คือบทบาทนั่นเอง ดังนั้น การแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมกับบทบาทจึงเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะถ้าสมาชิกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับบทบาท ความสับสนและความขัดแย้งในสังคมย่อยเกิดขึ้น เช่น ถ้าพ่อ – แม่ –ลูก มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน ครอบครัวก็จะไม่เป็นครอบครัวหรือผู้บริหารประเทศไม่มีพฤติกรรมตามความคาดหวังของสังคม ไม่บริหารประเทศโดยยึดประโยชน์ส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่ย่อมเกิดความขัดแย้งหรือความไม่สงบในประเทศขึ้น

2. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มก็เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้ของกลุ่มที่มรต่อกลุ่มอื่นย่อมมีผลต่อปฎิกิริยาตอบสนองของกลุ่ม เช่น นักเรียนโรงเรียนช่างกล ก. มีการรับรู้ที่ไม่ดีต่อโรงเรียนช่างอุตสาหกรรม ข. ถ้ากลุ่มนักเรียนจากโรงเรียน ก. พบกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียน ข. อาจเกิดทะเลาะวิวาทกันขึ้นดังที่มักเป็นข่าวอยู่เสมอ ๆ แม้ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มจะมีองค์ประกอบและพฤติกรรมต่าง ๆ คล้ายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์แตกต่างกันในสองลักษณะ ลักษณะแรกคือ ไม่มีสมาชิกคนใดในกลุ่มที่มีความสำคัญต่อกลุ่มตลอดเวลา เนื่องจากกลุ่มเป็นที่รวมของสมาชิกหลายคนซึ่งแต่ละคนย่อมมีความสามารถแตกต่างกัน เมื่อสถานการณ์นั้น ๆ ดังนั้นอาจมีการเปลี่ยนบทบาทกันในกลุ่มสมาชิก จึงไม่มีใครมีความสำคัญต่อกลุ่มแต่มีผู้เดียวตลอดเวลา แต่สมาชิกทุกคนมีความสำคัญต่อกลุ่มเท่า ๆ กัน

ลักษณะของกลุ่มอีกประการหนึ่ง คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะนำมาซึ่งความสามัคคีกลมเกลียวกันภายในกลุ่ม เราพบเห็นเสมอว่า เมื่อใดก็ตามที่ศัตรูจะมารุกรานคนในประเทศซึ่งปกติอาจจะทะเลาะเบาะแว้งกัน จะหันกลับมาร่วมมือร่วมใจกันป้องกันภัย นอกจากความขัดแย้งแล้วความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มยังเกิดขึ้นเมื่อมีภัยมาด้วย เช่น เวลาเกิดอุทกภัยหรืออัคคีภัย

การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอีกประเภทหนึ่ง คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ ซึ่งได้พัฒนาเป็นจิตวิทยาสังคม อีกสาขาหนึ่ง เรียกว่า จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเกิดนนั้นเพราะสิ่งแวดล้อมหลายอย่างบุคคลเป็นผู้สร้างขึ้น เช่น ความหนาแน่นและเสียง ซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

 

1. ความหนาแน่น

ความหนาแน่นเกิดจากการเพิ่มของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วและเกิดจากการโยกย้ายที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมากเข้ามาอยู่ในที่อันจำกัด เช่น ในเมืองใหญ่ ๆ การศึกษาของนักจิตวิทยาหลายท่านแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของประชาชนกับลักษณะความบกพร่องทางสัมคม เช่น สุขภาพจิตเสื่อม และอาชญากรรม กล่าวคือ ที่ ๆ มีความหนาแน่นของประชากรสูง จะมีอัตราของคนที่มีสุขภาพจิตเสื่อมสูงและมีอาชญากรรมสูง นอกจากนี้ยังพบอีกว่า แหล่งที่มีความหนาแน่นสูง และมีอาชญากรสูงนั้น มักเป็นแหล่งยากจน ดังนั้น ความยากจนจึงอาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงของอาชญากรรม มิใช่ความหนาแน่น เพราะที่ ๆ มีความหนาแน่นสูง แต่ไม่ยากจนนั้นไม่มีอาชญากรรมสูงไปกว่าที่ ๆ มีความหนาแน่นต่ำและไม่ยากจนแต่อย่างใด

ประชาชนในชนบทประสบกับความแห้งแล้งของธรรมชาติ หนี้สินและไม่มีที่ทำมาหากินทำให้เกิดความยากจน และเกิดการหลั่งไหลของชนบท เข้าสู่กรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ ๆ อีกหลายเมือง โดยหวังว่าเมืองเหล่านี้ คือแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ และที่ทำมาหากินแหล่งใหญ่ของตน สิ่งที่ตามมา คือ ความหนาแน่นภายในเมืองใหญ่ เกิดชุมชนแออัดขึ้นมากมายในที่ ๆ ว่างเปล่า นอกจากนั้น ยังเกิดอาชญากรรมทั้งใหญ่และย่อมรวมทั้งปัญหาสังคมอื่น ๆ ด้วย การจะแก้ปัญหาเรื่องอาชญากรรม และความหนาแน่นอย่างถูกต้องจึงต้องแก้ไขโดยการขจัดความยากจนของชาวชนบทลง

นักจิตวิทยาบางท่านได้แยกความแตกต่างระหว่างคำว่า ความหนาแน่น (Dinsity) กับฝูงชน (Crowd) โดยกล่าวว่า ความหนาแน่นเป็นสภาพทางกายภาพ หมายถึง จำนวนประชากรต่อจำนวนเนื้อที่ ส่วนฝูงชน เป็นสภาพทางจิตวิทยา หมายถึง ความไม่สุขสบายอันเนื่องมาจากการมีคนอยู่มากเกินกว่าความต้องการ ดังนั้น ความหนาแน่นจะมีผลต่อพฤติกรรมเมื่อก่อให้เกิดฝูงชนขึ้น ซึ่งความหนาแน่นไม่จำเป็นต้องก่อให้เกิดสภาพฝูงชนเสมอไป เช่น ในสนามกีฬาหรือในการฟังดนตรีมีความหนาแน่นสูง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความไม่สบายใจ (ไม่เกิดสภาพฝูงชนขึ้น) หากว่ามีคนชมกีฬาหรือฟังดนตรีน้อย ๆ อาจหมดความสนุกไปด้วยซ้ำ แต่ในที่นี้ขอให้คำทั้งสองในความหมายเดียวกัน บุคคลที่อยู่ในที่มีความหนาแน่นนาน ๆ จะเกิดการปรับตัวเพื่อให้อยู่ในสังคมนั้น ๆ ได้แต่จะก่อให้เกิดความคับข้องใจได้ง่ายด้วย

3. เสียง

เมื่ออยู่ในที่มีความหนาแน่นสูง ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ มลภาวะในเรื่องของเสียง ถ้าอยู่ในที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม แม้เพียงชั่วเวลาไม่นานก็จะพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งกายภาพและทางพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไป คือ หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและมีลักษณะการถูกเร้าสูง ลักษณะทางพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาลดลง เมื่อเสียงอึกทึกหยุดลง ลักษณะต่าง ๆ ก็เข้าสู้ภาวะปกติ ได้มีการศึกษาในเด็กเล็กพบว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังมาก ๆ จะมีความสามารถในการอ่าน และการแยกความแตกต่างของเสียงได้น้อยกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในที่ ๆ เงียบสงบกว่า

นอกจากเสียงแล้ว อุณหภูมิเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลด้วยโดยข้อเท็จจริงแล้ว อุณหภูมิมิได้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยตรง แต่อุณหภูมิจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายและสภาพอารมณ์ เช่น ความร้อนทำให้เกิดความหุดหงิดง่ายแก่การถูกเร้าและสภาพอารมณ์นี้จะเป็นผลต่อพฤติกรรมของบุคคล เช่น โมโหง่าย เป็นต้น

 

แนวคิดโดยสรุป

  1. อิทธิพลทางสังคม หมายถึง การที่พฤติกรรมของบุคคลหนึ่งมีผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของอีกบุคคลหนึ่ง ส่วนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึงการที่พฤติกรรมของบุคคลมีอิทธิพลต่อซึ่งกันและกัน
  2. จิตวิทยาสังคม เป็นการศึกษาอิทธิพลของบุคคลทีมีต่อความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของบุคคล
  3. พฤติกรรมเป็นผลจากสิ่งเร้าทางสังคมโดยผ่านกระบวนการเร้า การเสริมแรงและการได้รับข้อมูล การเร้าโดยการปรากฏกายของผู้นั้น จะทำให้พฤติกรรมที่เด่นอญุ่แล้วเด่นยิ่งขึ้นและพฤติกรรมที่ด้อยยิ่งด้อยลง
  4. บุคคลเป็นแหล่งของแรงเสริมทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
  5. ปัจจัยที่ทำให้บุคคลชอบหรือไม่ชอบซึ่งกันและกัน คือ ความใกล้ชิด ความคล้ายคลึงกัน ความแตกต่าง ความคุ้นเคย ความสมดุล และผลประโยชน์ -- ผลเสียที่จะได้รับ
  6. บุคคลจะถูกลงโทษถ้ามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากกลุ่ม บุคคลไม่กลัวการลงโทษเมื่ออยู่ในภาวะไร้มนุษยธรรม
  7. เราจะสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่น เพื่อให้เป็นข้อมูลในการติดสินที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา ดังนั้น จึงเกิดกระบวนการเปรียบเทียบทางสังคม
  8. บุคคลอาจเกิดคล้อยตามกลุ่มโดยเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความเชื่อของตนตามพฤติกรรมและความเชื่อของกลู่ม โดยการยอมทำตามหรือยอมรับเป็นส่วนตน
  9. เราเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองโดยศึกษาปฏิกิริยาของผู้อื่นที่มีต่อเรา และโดยการสังเกตพฤติกรรมของตนเอง
  10. . อิทธิพลทางสังคมโดยตั้งใจเกิดจากการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ และการชักชวนให้เปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งจะต้องอาศัยผู้สื่อสารที่น่าเชื่อถือและน่าพึงพอใจ นอกจากนั้น อาจเปลี่ยนทัศนคติโดยทำในเกิดการขัดแย้งทางความคิด และอิทธิพลทางสังคมโดยตั้งใจที่รุนแรงที่สุด คือการล้างสมอง
  11. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามทฤษฏีของ Thibaut และ Kelley นั้น ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ผลประโยชน์มากกว่าผลเสีย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะคงอยู่เมื่อประโยชน์ที่ได้สูงกว่าระดับความคาดหวัง
  12. การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมขึ้นอยู่กับการรับรู้ทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยการเกิดความประทับใจ และการระบุสาเหตูของพฤติกรรม ความประทับใจเกิดจาก Stereotype ความประทับใจครั้งแรก -- ครั้งหลัง ลักษณะที่เป็นแกนกลางและเนื้อเรื่อง ความประทับใจครั้งแรกมีอิทธิพลมากกว่าความประทับใจครั้งหลัง
  13. การระบุสาเหตุพฤติกรรม คือ การศึกษาว่าเหตุใดบุคคลจึงแสดงกรรมหนึ่ง ๆ ออกมา ซึ่งอาจมีสาเหตุจากตัวบุคคลเอง หรือจากสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อการระบุสาเหตุของพฤติกรรม คือ ความแตกต่าง ความเป็นเอกฉันท์ และความสม้ำเสมอ
  14. การปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มก่อให้เกิดบทบาทต่าง ๆ ของสมาชิกและอัตราการเสี่ยงที่สูงกว่าการอยู่ตามลำพัง
  15. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคล้ายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ต่างกันตรงที่ไม่มีสมาชิกคนใดมีอำนาจเด็ดขาดในกลุ่ม และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
  16. สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ได้แก่ ความหนาแน่นและมลภาวะทางเสียง