วิตามินอี (Tocopherol)

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Tab 5

วิตามินอี (Tocopherol)

ความเป็นมา วิตามินอี เป็นสารอาหารที่มีประวัติการค้นพบมานานกว่าศตวรรษ จัดอยู่กลุ่ม วิตามินชนิดละลายในไขมัน (fat soluble vitamin) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน สีเหลืองอ่อน ไม่ละลายในน้ำ ละลายได้ในสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ วิตามินอีมีความสำคัญต่อการ ทำงานของระบบสืบพันธุ์ จึงเรียกชื่อตามความหมาย คือ Tocopherol มาจากภาษากรีก Tokos แปลว่า เด็ก (children) และ Pheno แปลว่า ทำให้เกิด (to bear)

วิตามินอีมีมากในพืช ในสัตว์พบน้อยมาก อาหารที่ให้วิตามิน ได้แก่ อาหารจำพวก ผัก น้ำมัน ไข่ เนย ข้าวบาเลย์ ข้าว ข้าวโอ๊ต แม้ว่าความต้องการวิตามินอีของมนุษย์ ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่า วัน หนึ่ง ๆ คนเราต้องการปริมาณเท่าใด จากการศึกษาค้นคว้าของนักโภชนาการ พบว่า วิตามินอี ป้องกันการ เกิดออกซิเดซัน (antioxidation) ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินเอ แคโรทีน และวิตามินซี วิตามินอีใน อาหารมีได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน ชนิดที่มีประสิทธิภาพทางชีวเคมีมากที่สุด คือ แอลฟา ( α - Tocopherol) เพื่อแสดงปริมาณที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ นักโภชนศาสตร์จึงได้ เสนอให้ใช้หน่วยของวิตามินอีรวมเป็นมิลลิกรัมของ α - tocopherol equivalent แทนหน่วยสากล (Intenational Unit หรือ IU) ซึ่งคำนวณได้จากปริมาณ (มก.) ของ α - Tocopherol ในอาหารและเพิ่ม ปริมาณอีกร้อยละ 20

วิตามินอีวิตามินอี มักจะไปควบคู่กับวิตามินบีเสมอ ทางการแพทย์จึงเรียกว่า วิตามิน พี่น้อง วิตามินอีมี ส่วนช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และอาการหลอดเลือดแข็ง ทำให้การทำงานของหัวใจและการไหลเวียนของ โลหิตเป็นปกติ นอกจากนี้ยังช่วยเก็บออกซิเจน และลดคอเรสเทอรอลในโลหิต ทำให้ไม่เกิดลิ่มในหลอดเลือด (thrombosis) ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ง่าย จึงอาจกล่าวได้ว่า วิตามินอีเป็นยาอายุวัฒนชนิดหนึ่ง ในแง่ของ ชีววิทยา คนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี การทำงานของระบบต่าง ๆจะเสื่อมลง เช่น ชีพจรเต้นช้าลง 15% โลหิต ไหลผ่านไตลดลง 65% อาการเต้นของหัวใจลดลง 30% การทำงานของปอดลดลง 60% การขาดวิตามินอี และการขาดออกซิเจนในโลหิต อาจเป็นสาเหตุใหญ่แห่งความชรา ผู้ที่ได้รับวิตามินอีอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ เยาว์วัยเรื่อยมา จะแก่ตัวช้าลงกว่าผู้ที่ขาดสารอาหารชนิดนี้

ลักษณะเด่น ความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation stress) เรียกย่อ ๆ ว่า OS ได้กลายเป็นคำที่มี ความสำคัญ ในวงการ โภชนาการ และการแพทย์ในศตวรรษที่ 21 ไปแล้ว เนื่องจาก OS มี ส่วนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ นับตั้งแต่ต้อกระจก ไปจนถึงมะเร็ง ซึ่งตัวการสำคัญคือ ฟรี แรดดิคัล (free radicle) ที่ จะทำลายเซลล์ และเนื้อเยื่อของร่างกายอย่างมีขั้นตอน แพทย์พบว่ามีวิธีง่าย ๆ แต่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันได้ เช่น หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิด OS โดยภาพรวมอาหารจากธรรมชาติ อาหารที่ไม่ผ่าน กระบวนการผลิต อาหารเสริมจัดเป็นสารป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ดีที่สุด สารแอนดิออกซิเดชันที่สำคัญ เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี เบตา-คาโรทีน เซเลเนียม สังกะสี แต่สารที่แพทย์สนใจค้นคว้าอย่างจริงจัง คือวิตามินอี เนื่องจากเห็นว่ามีคุณค่าโดยตรงเกี่ยวกับโลหิต ทำให้เลือดลมดี และหัวใจทำงานปกติ ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีโทษ เหมือนเช่นยาหรือสารอื่น ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าร่างกายสามารถกำจัดออกได้ง่าย การตรวจวิเคราะห์วิตามินอี สามารถเลือกวิเคราะห์ได้ทั้งวิธี เคมี และใช้เครื่องมือ HPLC (High Performance Liquid Chromatography) ในปัจจุบันวิธีหลังจะเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากสามารถ ตรวจทานได้ แม้ในปริมาณน้อย ๆ การวิเคราะห์โดย HPLC สามารถเลือกได้ทั้งใน mode ของ normal phase หรือ reveresed phase ปัจจัยที่มีผลต่อ retention time ของสารคือ polarity ของ mobile phase อย่างเดียวเท่านั้น

การวิเคราะห์วิตามินอีของกลุ่มงานชีวเคมี กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ - เทคนิคที่ใช้ : High Performance Liquid Chromatography (HPLC)

  • Standard solution for external calibration : α - tocopherol
  • การเตรียมตัวอย่าง : ตัวอย่าง saponified ด้วย alcoholic potassium hydroxide ประมาณ 15 นาที แล้วแยกวิตามินอีออกด้วยอีเทอร์ ระเหยอีเทอร์ให้แห้ง ด้วย Rotary evaporator ละลายส่วนที่เหลือด้วยเมทานอล สำหรับนำไปตรวจวัดด้วยเครื่อง HPLC
  • HPLC condition
  • UV-detector ที่ความยาวคลื่น 292 nm.
  • Staniless steel column C18, 12.5 cm length, inner diameter 4 mm
  • Mobile phase : เมทานอล+น้ำ (97+3 มล.)
  • Flow rate 1 ml/min
  • Pressure 1200-1400 psi
  • Ambient temperature
  • Injection volume : 20-50 μl.
  • Vitamin E retention time 9.8 นาที
  • อัตราค่าวิเคราะห์ 1000 บาท/ตัวอย่าง

ประโยชน์ที่ได้รับ
- เป็นข้อมูลโภชนาการสำหรับประชาชนทั่วไป และผู้ที่ต้องการใช้บริการตรวจวิเคราะห์วิตามินในอาหาร
กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนทั่วไป
- กลุ่มผู้ผลิตอาหาร

Source : นว 8ว สุนทรี เปรื่องการ กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ประโยชน์ของวิตามินอีต่อร่างกาย

เนื่องจากผนังของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายมีไขมันที่ไม่อิ่มตัวเป็นโครงสร้างหลัก โครงสร้างที่ว่านี้จะถูก ทำลายได้ง่ายด้วย กระบวนการออกซิเดชัน (oxidation) และส่งผลให้เกิดสารอนุมูลอิสระ (free radicals) ชนิดต่างๆ ตามมา ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างภายในเซลล์ที่สัมผัสกับ สารอนุมูลอิสระ วิตามินอี เป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ (potent antioxidant) ซึ่งมีผลในการป้องกันการทำลายเซลล์ หรือลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ยังมีผลช่วยปกป้องการเสื่อมสลายของเยื่อหุ้มเซลล์ (stabilize) ที่บุอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา ตับ เต้านม หลอดเลือด และเม็ดเลือดแดง ทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคงทนมากขึ้นด้วย

วิตามินอีกับโรคมะเร็ง
คุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของวิตามินอี นอกจากจะช่วยป้องกันเซลล์จาก การทำลายของปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการเกิดอนุมูลอิสระแล้ว วิตามินอียัง ช่วยป้องกันการเกิดสารไนโตรซามีน (nitrosamines) ตัวการหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โดยเกิดจากการทำปฏิกิริยาของสารจำพวกไนไตรท์ที่มีในอาหารที่รับประทานเข้าไป ภายในกระเพาะอาหาร และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า วิตามินอียังมีผลช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้

วิตามินอีกับการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
กระบวนการออกซิเดชันของไขมันชนิด LDL (low density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดเลวในเลือดจะ มีผลทำให้เส้นเลือดเกิดความเสียหายอย่างมาก มีหลักฐานที่แสดงว่าวิตามินอี มีคุณสมบัติช่วยลดการเกิดกระบวนการที่ว่านี้ และช่วยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น และยังช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดสมองด้วย โดยได้มีการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่าคนที่ได้รับวิตามินอีอย่างน้อยวันละ 100 IU หลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจจะช่วยป้องกันการสะสมของไขมันที่ผนังเลือดได้ และคนที่ได้รับวิตามินอีประมาณวันละ 400-800 IU อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อยปีครึ่งจะช่วยป้องกันอัตราการเกิดโรคหัวใจวายได้ถึง 77%

วิตามินอีกับโรคเบาหวาน
เชื่อกันว่าสาเหตุที่คนเป็นโรคเบาหวานจะมีการสะสมของสารอนุมูลอิสระเนื่อง จากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายผิดปกติ นอกจากนี้แล้วยังมีอัตราการตายจากการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้สูง มีงานวิจัยที่แสดงว่าคนเป็นโรคเบาหวานที่รับประทานวิตามินอีเพียงวันละ 100 IU จะช่วยทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ดี และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดอีกด้วย

วิตามินอีกับโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจก (cataracts) เป็นความผิดปกติของเลนส์ตาทำให้มองภาพไม่ชัดเจน และอาจตาบอดได้ โดยเชื่อว่าเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ผิดปกติของโปรตีนในเลนส์ตา มีการศึกษาพบว่าสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจำพวกวิตามินอีสามารถ ช่วยป้องกัน และชะลอการเกิดของโรคต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่พบว่าสารในกลุ่มนี้ไม่ช่วยให้เกิดผลดีได้ในคนที่สูบบุหรี่ โดยพบว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคต้อกระจก อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกของสารต้านอนุมูล อิสระและวิตามินอีเกี่ยวกับโรคต้อกระจก

วิตามินอี สารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่
สารอนุมูลอิสระจะมีผลทำให้เซลล์เกิดความเสียหายและตายได้ในที่สุด ซึ่งนอกจากจะเป็นสาเหตุทำให้ ร่างกายอ่อนแอและแก่เร็วกว่าปกติแล้ว หากเกิดที่สมองก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังทางสมองต่างๆ เช่น โรคสมองเสื่อม (Alzheimer's disease) โรคพาร์คินสัน (Parkinson's disease) เป็นต้น จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าผู้ที่รับประทานวิตามินอี 1,300 IU ต่อวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีจะช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมองได้

วิตามินอีช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของระบบสืบพันธุ์
มีการศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับวิตามินอีวัน ละ 800 IU อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน สามารถช่วยลดอาการต่างๆ เช่น อาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า ซึมเศร้า และเจ็บหน้าอกได้ นอกจากนี้ในผู้ชายที่มีระบบสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ พบว่าเมื่อได้รับวิตามินอี วันละ 200 IU อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน จะมีโอกาสมีบุตรสูงขึ้น เนื่องจากวิตามินอีช่วย ลดระดับของอนุมูลอิสระในน้ำอสุจิ จึงทำให้ผนังเซลล์อสุจิแข็งแรงขึ้น และส่งผลให้มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นถึง 30% แต่ก็อาจไม่ปรากฏผลหากคนนั้นเป็นคนสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำลายความแข็งแรงของอสุจิ และอาจทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมโทรมลง

วิตามินอีกับผิวพรรณ
สถาบันโรคผิวหนังหลายแห่งมีการวิจัยพบว่าวิตามินอีช่วย ป้องกันผิวจากการไหม้เกรียม ริ้วรอยเหี่ยวย่นและรอยแผลได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานหรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เนื่องจากการเกิดแผลหรือการอักเสบบนผิวหนัง หรือการถูกแสงแดดเผาไหม้จะทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระขึ้น วิตามินอีจะ ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดซับสารอนุมูลอิสระก่อนที่จะทำให้เนื้อเยื่อ ต่างๆ เสียหาย จึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของผนังเซลล์ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงขึ้น และช่วยให้ทนต่อรังสี UV ในแสงแดดได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องสำอางจึงนิยมนำวิตามินอีมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์

วิตามินอี และอนุพันธ์ของวิตามินอีกับผิว

วิตามินและการมีสุขภาพดีเป็นที่กล่าวกันมานาน ส่วนวิตามินกับ เรื่องความสวยงามมีการศึกษาวิจัย และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การใช้วิตามินในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยป้องกัน และซ่อมแซม การสึกหรอของเส้นผม ผิว และเล็บได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินช่วยป้องกัน ช่วยยืดเวลาและยับยั้งการเสื่อมสภาพของผิว ช่วยชลอความแก่ ช่วยลดการเกิดริ้วรอยตีนกา วิตามินที่เป็นส่วนผสมในครีมและโลชั่นทาผิว จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ในการบำรุงผิว ซึ่งเป็นคุณสมบัติตามธรรมชาติของวิตามินเอง วิตามินที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในเครื่องสำอางได้แก่ วิตามินอี,เอ,ซี,แพนทีนอล(provitamin B5) และอนุพันธ์ของแพทีนอล วิตามินที่กล่าวมานี้ มีคุณสมบัติแทรกซึมลงไปในผิวหนัง แพนทีนอลและวิตามินอี จะแทรกซึมลงไปในเส้นผมและเล็บได้ เมื่อใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ ในเรื่องของผิววิตามินอี จะมีบทบาทและคุณบัติหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อผิว จึงเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง จากการศึกษาอย่างกว้างขวาง สรุปผลว่า วิตามินอี นอกจากจะเป็นสารบำรุงทำให้ผิวชุ่มชื้นแล้ว ในรูปของเอสเตอร์จะช่วยลดการอักเสบของผิวและช่วยป้องกันอันตรายที่เกิด จากรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต ในธรรมชาติวิตามินอีจะอยู่ในรูป tocopherol โดยตำแหน่ง อัลฟ่า tocopherol จะให้คุณสมบัติทางชีววิทยาสูงสุด คือมีประสิทธิภาพสูงสุด วิตามินอีในรูปที่ไม่ได้เป็นเอสเตอร์ จะพบใน wheat germ oil และน้ำมันจากพืชอื่น ๆ และมีคุณสมบัติเป็น antioxidant วิตามินอีในรูปของวิตามินอีอะซีเตต มีคุณสมบัติดีที่สุดในการรักษาอาการขาดวิตามินอีโดยการกิน ทั้งนี้เพราะวิตามินอีอะซีเตต มีความคงสภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ดีกว่าวิตามินอีแบบอิสระ ในทางเครื่องสำอางวิตามินอีนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ทั้งรูปที่เป็นแอลกอฮอล์ และอะซีเตต วิตามินอีอะซีเตตในปริมาณสูง จะพบบริเวณชั้น stratum corneum และบริเวณชั้นของผิวหนัง สำหรับเส้นผมวิตามินอีจะถูกดูดซึมโดยตรงบริเวณ hair cortex
วิตามินอีและอนุพัธ์ของวิตามินอี มีคุณสมบัติ antioxidant ซึ่งจะไป neutralized การเกิด free radicals โดยการไปเพิ่ม electrons ใน cell membranes ดังนั้นวิตามินอีเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาผิว มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าวิตามินอี ช่วยลด psoriasis erythema และช่วยลดการเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง ช่วยรักษาแผลเป็น และช่วยลดริ้วรอยบนผิว
นอกจากนี้อนุพัธ์ของวิตามินอี เช่น alpha tocopherol acetate มีคุณสมบัติในการเกิด free radical ซึ่งจะไปทำลาย DNA ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั้งครีมและโลชั่นบำรุงผิว จะนิยมใช้ alpha tocopherol acetate มากกว่าส่วนผสมของ alpha tocopherol, beta tocopherol, gamma tocopherol และ delta tocopherol ซึ่งส่วนผสมของอนุพันธ์ tocopherol ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น โลชั่นบำรุงผิวจะใช้ร่วมกับวิตามินอีในระดับความเข้มข้นสูงตั้งแต่ 5% ขึ้นไป
การศึกษาทางด้านคลีนิก (Vitamin E clinical Studied) พบว่าในการใช้วิตามินอีสามารถดูดซึมทางผิวหนังโดยไม่ต้องถูกเปลี่ยนเป็น free alpha tocopherol
ในการศึกษาประสิทธิภาพของครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีในผู้หญิงจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 42-64 ปี พบว่า ครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ทดสอบที่ใช้ครีมมีส่วนผสมของวิตามินอี ทาบริเวณ eyelid เทียบกับครีมที่ไม่มีส่วนผสมของวิตามินอี พบว่าช่วยทำให้ผิวเรียบและลดริ้วรอย

วิตามินอีจำแนกตามคุณสมบัติได้ดังนี้

1. การเป็นสาร antioxidant วิตามินอีเป็น สาร antioxidant ได้เพราะสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ lipid ชนิดไม่อิ่มตัว (lipid peroxides) ในผิวหนังได้ ทั้งนี้เพราะเยื่อบุเซลล์ (cell membrane) ประกอบด้วย phospholipid ซึ่งส่วนใหญ่เป็น lipid ชนิดไม่อิ่มตัวสามารถเกิด lipid peroxides ได้ และมีผลต่อความแก่ก่อนวัยของผิว เมื่อเกิดปฏิกิริยา lipid peroxides จะได้ malondialdehyde (MDA) ซึ่ง MDA จะทำปฏิกิริยา cross-link กับสารคอลลาเจน ทำให้ปริมาณ soluble collagen ลดลง และ insoluble collagen เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความยืดหยุ่นของผิวลดลง จากการทดลองในหนูไม่มีขน (hairless mice) พบว่ามิตาวิตามินอีอะซีเตต ในปริมาณ 5% จะช่วยลดการเกิด MDA ลงไป 40-80% ต่อมามีการทดลองในคน ผลการทดลองสนับสนุนคุณสมบัติวิตามินอีและอนุพันธ์ของวิตามินอี ว่าสามารถช่วยลดความชราภาพของผิว เนื่องจากป้องกันการเกิด free radical และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ให้ลดลง วิตามินอีจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิด free radical และยับยั้งการเกิด lipid peroxide

2. การชลอความชราภาพของผิว เป็นที่ทราบกันว่า free radical มีผลต่อความชราภาพของผิว เพราะจะทำให้มีการทำลายเซลล์และทำให้เซลล์ตาย การออกกำลังกายที่มากเกินไปและความเครียดทำให้มี free radical เกิดขึ้นในขณะที่ปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ free radical ยังเกิดจากเอ็นไซม์ต่าง ๆ ได้ เช่น superoxide dimutase และ catalase วิตามินอีช่วยชลอความชราภาพของผิว จากการทดลองพบว่า วิตามินอี ในปริมาณ 5% เมื่อทาบนผิวจะช่วยลดปริมาณเอ็นไซม์ ornitine dicarboxylase บนผิว ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อผิวโดนแสง UV ได้ถึง 91% วิตามินอีช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวโดยมีผลต่อ elastic fiber ในผิวชั้น dermis และ connective tissue collagen เนื่องจากวิตามินอี ไม่สามารถซึมซับไปได้ถึง subepidermis tissue ดังนั้นการใช้วิตามินอี จะได้ผลดีถ้ามีการรับประทานร่วมด้วย

3. การป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเลต แสงแดดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย มีการทดลองในผิวสัตว์ทดลองพบว่าแสง UV-B (ความยาวคลื่น 220-320 นาโนเมตร) เป็นตัวทำให้เกิด free radical ในผิวหนังสัตว์ทดลอง แต่ถ้ามีการทาวิตามินอีอะซีเตต ในผิวของหนูไม่มีขน ก่อนจะฉายแสงอุลตร้าไวโอเลตในช่วง UV-B พบว่าวิตามินอีอะซีเตต ช่วยลดอาการแดงได้ 40-55 % จากการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน พบว่า ผิวที่ทาวิตามินอีอะซีเตตก่อนการฉายแสงอุลตร้าไวโอเลตในช่วง UV-B จะมีการป้องกันเซลล์ผิวชั้นนอก และช่วยป้องกันการอักเสบด้วย โดยสรุป วิตามินอีอะซีเตต สามารถยับยั้งกลไกการเกิด free radical เนื่องจากการได้รับแสง UV-B

4. การให้ความชุ่มชื้นกับผิว ปัจจัยที่มีผลสำคัญที่สุดต่อความชราภาพของผิวคือ ผิวแห้ง และการขาดสมดุลย์หรือเกิดความบกพร่องของความสามารถในการอุ้มน้ำของ Stratum corneum ในชั้นผิวหนังจะทำให้สูญเสียน้ำและแห้ง จากการศึกษาคุณสมบัติการให้ความชุ่มชื้นกับผิว โดยใช้วิตามินอีอะซีเตต ในรูปของอีมัลชั่นที่ความเข้มข้น 1,2.5 และ 5% ทาบนผิวและวัดค่าการสูญเสียน้ำ (transepidermal water loss, TEWL) พบว่าวิตามินอีอะ ซีเตตที่ความเข้มข้น 1.0 และ 2.5% จะไม่ค่อยเห็นผลเท่าไรนัก แต่ที่ความเข้มข้น 5.0% จะลดการสูญเสียน้ำได้ 19% หลังการทา 3 นาที และ 24% หลังการทาต่อเนื่องกัน 4 วัน ซึ่งประสิทธิภาพของวิตามินอีอะซีเตตจะเพิ่มขึ้นหากทาซ้ำและทาบ่อย ๆ

5. การดูแลและปรับสภาพเส้นผม อนุพันธ์ของวิตามินอีซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลปรับสภาพผม คือ วิตามินแพนที นอล (Panthenol) ซึ่งมีคุณสมบัติดีมากในการให้ความชุ่มชื้นบนเส้นผมและหนังศีรษะ จะคงอยู่บนเส้นผมและหนังศีรษะได้เป็นเวลานาน ต่อมาได้มีการศึกษาซึ่งชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าวิตามินอื่น ๆ และอนุพันธ์เหล่านั้น นอกเหนือจากแพนทีนอล มีบทบาทสำคัญในการดูแลและป้องกันเส้นผม หนังศีรษะไม่ให้ถูกทำลายโดยความร้อน ความแห้ง การดัดหรือย้อมผม เส้นผมต้องสัมผัสกับสารเคมี จากการทดลอง ใช้แชมพูและครีมนวดผม ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีอะ ซีเตต 1% สระผมที่ไม่เคยดัดหรือย้อมมาก่อน และประเมินผลความสามารถในการติดค้างบนเส้นผมและการแทรกซึมไปในเส้นผม พบว่า มีการติดอยู่บนเส้นผมและหนังศีรษะได้นาน หลังจากการใช้ติดต่อกัน 5 ครั้ง

6. การช่วยลดการอักเสบ วิตามินอี สามารถลดและบรรเทาการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการระเคืองต่อผิว อาการแพ้รวมกับการอักเสบและการคันด้วย อนุพันธ์วิตามินอีใหม่ ๆ ที่น่าสนใจนอกเหนือจากวิตามินอีอะซีเตตได้แก่ วิตามินอีลิโนลีเอท (Vitamin E Linoleate) และวิตามินอีนิโคติเนท(Vitamin E Nicotinate) วิตามินอีลิ โนลีเอท สามารถแทรกซึมลงไปได้ถึงเซลล์ผิวหนังชั้น stratum corneum ช่วยรักษาระดับน้ำ ในเซลล์ ทำให้ผิวชุ่มชื้น มีคุณสมบัติเป็นตัวให้ความชุ่มชื่นผิวได้ระยะเวลานาน ทั้งนี้ เพราะมีการสะสมวิตามินอีลิโนลีเอท ในชั้น stratum corneum และส่วนบนของชั้นepidermis สำหรับวิตามินอีนิโคติเนทจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต(microcirculation) ช่วยทำให้สภาพผิวดีขึ้น

จะเห็นว่าวิตามินอี โดยเฉพาะอีอะซีเตตมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันผิวและช่วยบำรุงรักษาผิว การใช้วิตามินอีและวิตามินอีอะซีเตตเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินอีหรือวิตามินอีอะซีเตต ที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอาง ปริมาณวิตามินอีอะ ซีเตตที่ใช้เป็นส่วนผสมในครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด และครีมปรับสภาพเส้นผมจะต้องมีปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย พบว่าปริมาณวิตามินอีอะ ซีเตตควรมีปริมาณ 5% ในครีมบำรุงผิว 1% ในครีมปรับสภาพเส้นผม จึงจะให้ผลในการใช้ ดังนั้นผู้บริโภคที่ใช้เครื่องสำอางดังกล่าวควรพิจารณาเลือกซื้อเครื่อง สำอางที่ระบุปริมาณวิตามินอี และวิตามินอีอะซีเตตบนฉลากเพื่อจะได้ประโยชน์อย่างสูงที่สุดจากการใช้ อย่างไรก็ตามการใช้วิตามินอี ถ้าจะให้ได้ผลดีก็ควรต้องใช้ร่วมกับการรับประทาน โดยการควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด

* แหล่งที่พบ
o วิตามิน อีพบมากใน น้ำมันพืช เช่นจากถั่วเหลือง ข้าวโพด และดอกคำฝอย น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันตับปลา น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน นอกจากนั้นยังพบในผักใบเขียว และพบน้อยลงใน เนื้อ ปลา ผลไม้ เป็นต้น

* ปริมาณที่แนะนำ
o โดย ทั่วไปควรรับประทานป้องกันการขาดวิตามินอีวันล่ะ 100 IU (INTERNATIONAL UNIT โดย 1 IU เท่ากับ activity ของ 1 มิลิกรัมของ dl-alphatocopheryl acetate) โดยปริมาณที่แนะนำ ทารก อายุ 0 1 ปี ควรรับประทานวิตามินอี 4.47 5.96 IU เด็ก 1-3 ปี 7.4 IU 4 - 6 ปี 8.94 IU 7 9 ปี 10.43 IU เด็กผู้ชาย 10 12 ปี 11.92 IU 13 15 ปี 13.41 IU 16 19 ปี 14.9 IU เด็กผู้หญิง 10 19 ปี 11.92 IU ผู้ชาย 60 ปีขึ้นไป 14.9 IU ผู้หญิง อายุ 20 60 ปี 11.92 IU หญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 2.98 IU ขึ้นไป หญิงให้นมบุตร มากกว่า 4.47 IU ขึ้นไป

* ผลของการขาด
o ยัง ไม่มีหลักฐานว่าคนที่มีสุขภาพปกติและมีการดูดซึมอาหารได้ดีจะมีภาวะขาด วิตามินอี นอกจากทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่จะเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย แต่อย่างไรก็ตามอาการที่ขาดวิตามินอีคือ ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะผิดปกติ โดยเฉพาะปลายมือปลายเท้า อาจส่งผลต่อระบบหัวใจโดยส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีการแตกของเม็ดเลือดแดงได้ง่าย อายุของเม็ดเลือดลดลง การดูดซึมเหล็กลดลง และอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ตับและไตถูกทำลายได้

* ผลของการได้รับมากไป
o พบ ว่าถ้าได้รับวิตามินอีวันล่ะ 300 มิลลิกรัมเป็นเวลาหลายเดือนจะส่งผลให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ซึม สายตามัว ถ้ามากกว่า 2000 มิลลิกรัมขึ้นไปเป็นเวลา 3 เดือน จะเกิดอาการมุมปากและริมฝีปากอักเสบ กล้ามเนื้อไม่มีกำลังได้ ในคนปกติไม่ควรเสริมวิตามินอี เพราะไม่มีหลักฐานแสดงถึงประโยชน์ และในแต่ละวันการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะได้รับวิตามินอีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ จะ ถูกดูดซึมที่ลำไส้ เข้าไปในระบบน้ำเหลือง ต่อไปสู่กระแสเลือดในรูปของไคโลไมคอล พบว่าการดูดซึมวิตามินอีต่ำๆ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินอีปริมาณสูงๆ และส่งต่อไปเก็บสะสมที่ตับ นอกจากนี้ยังพบอยู่ตาม เนื้อเยื่อไขมัน หัวใจ ปอด และอยู่ในชั้นผิวหนังของอวัยวะนั้นๆ มีการสะสมได้เป็นเวลานาน มีการขับออกทางอุจจาระโดยผ่านที่ตับ ส่วนเมตาบอไลต์จะออกทางปัสสาวะ
o สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์
+ วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินบี 1 INOSITOL วิตามินซี แมงกานีส เซเลเนียม
o อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
+ มลภาวะทางอาหาร คลอรีน ยาปฏิชีวนะ เหล็ก ที่อยู่ในรูป ferric iron น้ำแร่ ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ฮอร์โมนเอสโทรเจน
o การเสื่อมสลาย
+ การ ปรุงโดยใช้ความร้อนสูง หรือถูกแสงแดด การขัดสี การบดเพื่อทำแป้ง และการกลั่นน้ำมันพืช รวมทั้งการแปรรูปที่มีความสลับซับซ้อน จะทำให้สูญเสียวิตามินอีได้
o การประเมิน
+ สามารถ ประเมินหาปริมาณวิตามินอีในร่างกายได้ด้วยต่างๆต่อไปนี้ วิธีการวัดปริมาณวิตามินอีในเลือด และวิธีประเมิณสัดส่วนวิตามินอีต่อโคเลสเตอรอลในเลือด โดยคนปกติจะมีปริมาณวิตามินอีในซีรัมและพลาสม่าเท่ากับ 5 18 มิลลิกรัมต่อลิตร

Content for id "textContent" Goes Here