การลงทุนในทองคํา

หลายคนอาจจะเคยได้ ยินคนเถ้าคน แก่ หรือ อาจจะกระทั่งตัวเองได้เคยซื้อ (ถ้าแก่พอ) ทองคำบาทละ 400 บาท สมัยนั้น (ปี พศ. 2516) ทองคำ 1 ออนซ์ ถูกกำหนดตายตัวไว้แค่ 42.22 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 20 บาทกว่าๆ ครับ วันนี้ ราคาระดับหมื่นกว่าบาทแล้ว และอาจจะไปถึง 2หมื่นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกิดอะไรขึ้นกับทองคำ ใครไม่รู้ประวัติ ก็มาฟังผมเล่าฉบับย่อสุดๆ (เพราะรู้นิดเดียว ฮิฮิ)

สมัยก่อน ราวปี 1875-1914 ทองคำถูกใช้เป็นมาตรฐานระบบการเงิน ซึ่งกำหนดความแตกต่างด้วยปริมาณทองคำสำรองระหว่างสกุลเงินของ 2 ประเทศ ระบบนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะต้องสำรองทองคำในปริมาณมหาศาลเพื่อรักษาดี มานด์/ซัพพลายทางการเงินให้มีเสถียรภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานใหม่หลังสหรัฐตั้งตัวเป็นเจ้าโลกแทนอังกฤษที่เสื่อม อำนาจลง เรียกว่า ข้อตกลงเบรตัน วูดส์ ใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเวลาต่อมา
หนึ่งในสาระสำคัญของเบรตัน วูดส์คือ การตี ค่าตายตัวเอาไว้ว่า 35 ดอลลาร์เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์ และเงินสกุลทั่วโลกจะผูกค่าเอาไว้นิ่งกับค่าดอลลาร์ อำนาจครอบงำจากดอลลาร์จึงเกิดขึ้น
เงินดอลลาร์กลายเป็นเงินสากลและถูกนำไปใช้ทั่วโลก และตกค้างในประเทศต่างๆในจำนวนพอๆกับในสหรัฐฯ เมื่ออเมริกันกระโจนเข้าสู่สงครามเวียดนาม และช่วงสงครามเย็น ภาระที่แบกรับมากเกินของรัฐบาลอเมริกัน ทำให้ดอลลาร์เริ่มมีค่าน้อยลงกว่าทองคำ สหรัฐขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศเริ่มแคลงใจ สงสัยว่าสหรัฐพิมพ์แบงค์ออกมาใช้มากกว่าทองคำที่เป็นทุนสำรองอยู่ จึงนำดอลล่าร์ไปแลกทองคำกลับมา และแน่นอน สหรัฐไม่มีปัญญาหาทองคำมาให้แลกคืนได้พอหรอก เพื่อปกป้องค่าดอลลาร์ไว้ ใน ค.ศ. 1971 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยนั้น ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์คงที่กับทองคำ ยุติการซื้อขายทองคำกับดอลลาร์เอาดื้อๆ เป็นการฉีกข้อตกลงเบรตันวูดส์อย่างสิ้นเยื่อใย และแน่นอน ประเทศอื่นก็ทำอะไรไม่ได้

สหรัฐเป็นผู้ที่มีทองคำเป็นทุนสำรองมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ละมั๊งครับ ทั้งที่ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องมายาวนาน นับตั้งแต่ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้าโลก ประเทศอื่นเอาทองคำไปแลกกระดาษดอลล่าร์มาเพื่อใช้เป็นทุนสำรองในการซื้อ ขาย ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ข้าวสาร สากกะเบือ เรือรบ เพราะระบบการเงินที่เอาตัวเองเป็นแกน พอระบบที่ตัวเองตั้งขึ้น มันไปไม่ได้ เพราะตัวเองใช้เกินตัว ก็ชักดาบเอาดื้อๆ โดยไม่มีใครกล้าหือ

แล้วทำไมเราต้องไปยุ่งกับดอลล่าร์ด้วย
- เพราะสหรัฐเป็นผู้ที่ถือครองทองคำมากที่สุด มีอิทธิพลในการกำหนดราคาทองคำมากที่สุด
- เพราะทองคำ ถูกกำหนดมูลค่าเป็นดอลล่าร์ ความสัมพันธ์จึงแนบแน่นเกินจะหลีกเลี่ยง
นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆที่สหรัฐประดิษฐ์ขึ้น ล้วนเป็นที่มาของฟองสบู่เศรษฐกิจที่แตกมาหลายครั้ง และสะเทือนไปทั่วโลก รวมถึงนวัตกรรมล่าสุด ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤติซัพไพร์มที่กำลังลามทั่วโลกขณะนี้ ทั้งหมด ยังคงเกิดจากพฤติกรรมกร่าง ใช้จ่ายเกินตัวเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมาครับ และคงไม่ต้องเดาเลยว่า มูลค่าทองคำจะสูงขึ้นไปได้อีกขนาดไหน เมื่อเทียบกับดอลล่าร์

ปัจจัยพื้นฐานของทองคำ

แปลกใจกันบ้าง หรือไม่ว่า ทำไมนักวิเคราะห์จึงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่า ทองคำจะขึ้นไปถึง 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น ถ้าได้อ่านบทที่ 1 ถึงความสัมพันธ์ ระหว่างทองคำกับดอลล่าร์แล้ว คงพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วว่า ทองคำคงไม่ลดมูลค่าง่ายๆ ตราบเท่าที่สหรัฐยังคงพิมพ์แบงค์ออกมาใช้เองไม่หยุด

เมื่อปี 2006 World Gold Council ได้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาทองคำ ได้พบว่า

- ระยะยาว ราคาทองคำมีสัดส่วนความสัมพันธ์แบบ 1:1 กับเงินเฟ้อของสหรัฐ
- ราคาทองคำ ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินเฟ้อในส่วนอื่นๆของโลก
- ความเบี่ยงเบนจากปัจจัยอื่น เช่น การเมือง ความเสี่ยงทางการเงิน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะกินเวลาสั้นๆหรือเป็นปี แต่สุดท้าย ก็จะกลับมาอยู่ที่ความสัมพันธ์หลัก คือเงินเฟ้อสหรัฐเท่านั้น

หมายความว่า หากเงินเฟ้อสหรัฐขยับ 1% ราคาทองคำจะขยับ 1% ด้วยนั้นแหละครับ และนั่นคือที่มา ที่นักวิเคราะห์ทั้งหลาย ทำนายว่า ทองคำมันจะไป 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น เพราะเทียบจากอดีตเมื่อครั้งลอยแพมูลค่าทองคำจนถึงปัจจุบัน ทองคำมันควรจะพุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว แล้วจริงหรือเปล่า ทำไมสิ่งที่เห็นอยู่ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเงินเฟ้อเท่าไหร่เลย เห็นทองคำวิ่งตามดอลล่าร์บ้าง น้ำมันบ้าง จนเวียนหัวไปหมด งานวิจัยมันบอกชัดครับ ว่าความเบี่ยงเบนไม่เกี่ยว สุดท้ายเมื่อปัจจัยที่ทำให้ราคาเบี่ยงเบนนั้นจบลง มันก็จะกลับเข้ามาหาความเป็นจริง เพียงแต่ว่า ในมุมมองการลงทุนของเรา กลับต้องมาศึกษาไอ้ปัจจัยเบี่ยงเบนพวกนี้ เพราะคือตัวแปรสำคัญ ตราบเท่าที่ราคาทองคำ มันยังไม่เข้าหาความจริง ที่ 2000 เหรียญกว่าๆโน่น และการที่อเมริกาในช่วงนี้ เร่งพิมพ์แบงค์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจประชาคมโลก ทำให้มีการคำนวณและป่าวประกาศราคาทองคำ 5000 เหรียญแทนซะแล้ว

ปัจจัยเบี่ยงเบนราคาทองคำที่เราต้องรู้

ใครๆก็พูดว่า ราคาทองคำมาจากปัจจัยคือดีมานด์การใช้งานจริง กับดีมานด์การลงทุน แต่นั่นมันปัจจัยพื้นฐานจริงๆ ที่ไม่มีมือมืดมาเกี่ยวข้องครับ คุณแปลกใจมั๊ยล่ะ ว่าทำไมราคาทองคำมันยังอยู่ห่างจากความเป็นจริงมากขนาดนั้น ใครพอจำได้ ทองคำ เคยโดนกดราคาลงถึงแค่ 256 เหรียญในปี 1999

the Central Bank Gold Agreement CBGA

นั่นเป็นเพราะมีภาพมายาที่ถูกสร้างขึ้น เพราะทองคำถือเป็นศัตรูตัวฉกาจกับระบบการเงิน นวัตกรรมใหม่ของสหรัฐ ความร่วมมือกันของเหล่าธนาคารกลางที่รวมหัว ประชุมกันที่กรุงวอชิงตันจึงเกิดขึ้น หัวเรือใหญ่ไม่ใช่ใครที่ไหน คือสหรัฐกับอังกฤษนั่นแหละ ข้อตกลงร่วมกันที่ออกมารู้จักกันในชื่อ the Central Bank Gold Agreement CBGA นั่นเอง
ในปี 1999 นับเป็นจุดเริ่มต้นของข้อตกลงที่ว่า โดยธนาคารต่างๆมีโควตาในการขายทองคำไม่เกิน 400 ตัน ระหว่างปี 1999-2004 และข้อตกลงฉบับที่ 2 กำหนดไว้ที่ 500 ตันต่อปี ระหว่างปี 2004-2009

ราคา ทองคำลดลงต่ำสุดในช่วงปี 1999 จากการที่อังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ตัดสินใจขายทองคำออกมามากกว่าครึ่งหนึ่งของทองคำสำรองที่มีในคลัง นัยว่า เลิกใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง ยกเลิกบทบาททองคำในฐานะทุนสำรอง ว่างั้น ทำให้ราคาทองคำรูดลงอย่างรวดเร็วจาก 300 กว่าเหรียญ เหลือ 250 กว่าเหรียญ
หลายปีต่อมา จากการกระทำอย่างต่อเนื่อง ตามข้อตกลง CGBA ทำให้ราคาทองคำซึมอยู่หลายปี แต่ความพยายามดังกล่าว มันเป็นการฝืนความจริง ในที่สุด ทองคำก็กลับมาทวงสิทธิ์ของตัวเองคืน

The Manipulation Of The Gold Market

เหล่าธนาคารกลางนำโดยสหรัฐ มีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่ค่อยลับเท่าไหร่ เข้ามาดูแลราคาทองคำ ผ่านการซื้อขายทำธุรกรรมในตลาดทองคำ เหมือนอย่างพวกกองทุนเฮดฟันด์ทั้งหลายทำนั่นแหละ แต่วัตถุประสงค์ต่างจากเฮดฟันด์ คือไม่ได้เข้ามาหากำไร แต่เข้ามาควบคุมราคา ไม่ให้พุ่งเข้าหาราคาจริงตามเงินเฟ้อเร็วเกินไป ซึ่งเรียกว่า The Manipulation Of The Gold Market พวกนี้แหละที่เราต้องแหยงในการลงทุนทองคำ เพราะจะเข้ามาทำลายอารมณ์กระทิงในตลาดทองคำเป็นระยะ ตามแต่อารมณ์มัน

The Gold Anti-Trust Action Committee GATA

ทางฝั่งผู้บริโภค ก็มีการตั้งองค์กรขึ้นมาในปี 1999 เช่นเดียวกันครับ เรียกว่า The Gold Anti-Trust Action Committee GATA เพื่อสนับสนุนและรับหน้าที่ต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพื่อการครอบงำตลาด ทองคำ ไม่ให้กำหนดราคาและทิศทางตลาดตามอำเภอใจ

ดีมานด์การใช้งานจริง

ในแง่การลงทุนของพวกเรา จะหันกลับมาดูปัจจัยนี้ เมื่อราคามันหล่นลงมาหลังการปั่นขึ้นไปสูงๆแล้ว หรือเรียกว่า การปรับฐานใหญ่นั่นแหละ ปกติ ทุกปีจะมี 1 รอบ เรียกว่าเป็นวัฏจักรของราคาทองคำครับ โดยมีช่วงเวลาขาลงอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนโดยประมาณ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของฝรั่ง รวมถึงดีมานด์จากขาใหญ่อย่างอินเดีย ซึ่งเป็นชาติที่คลั่งใคล้ทองคำมากที่สุด ลดลงในช่วงนี้ ขณะที่ช่วงเดือนที่ราคาทองคำเป็นขาขึ้น จะเป็นช่วงราวเดือนตุลาคมไปจนถึงราวปลายเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่ทั่วโลก ต่างก็ซื้อทองเพื่อใช้งานจริงทั้งนั้น
ช่วงการปรับฐานใหญ่ที่ว่านั้น ราคาจะหล่นลงมาจนกว่าผู้ซื้อทองคำเพื่อการใช้งานจริงๆจะพอใจและมีแรงซื้อ กลับเข้ามามาก พวกนักลงทุนจึงจะมั่นใจ และไล่ราคาขึ้นไปเล่นกันที่สูงๆต่อ เท่ากับว่า ดีมานด์การใช้งานจริงนี้ คือตัวกำหนดราคาฐานที่แข็งแกร่งนั่นเอง
5 ปีที่ผ่านมา ราคาก็ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่สมดุลระหว่างซัพพลายและดีมานด์ครับอ
- ผลผลิตจากเหมืองที่ลดลงเรื่อยๆ แหล่งผลิตเก่ากำลังการผลิตตก ขณะที่แหล่งผลิตใหม่ๆเกิดขึ้นน้อย
- ความต้องการทองคำจากประเทศจีน และอินเดียว ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจนซัพพลายไม่เพียงพอ 2 ประเทศนี้ ประชากรรวมกันหลายพันล้านคน หากคิดเหมือนกันว่าอยากได้อะไร คงไม่ต้องบอกนะครับ ว่าของที่ต้องการนั้น จะขาดแคลนไปในทันที
ความต้องการใช้งานจริง ไม่ใช่เป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาผันผวน เพราะสามารถกะเกณฑ์ได้ครับ ไอ้ที่ทำให้ผันผวนคือปัจจัยต่อไป

ดีมานด์ความต้องการลงทุน

ในฐานะที่ทองคำ มีบทบาทเป็นเงินอีกสกุลที่มีเสถียรภาพมาก ความต้องการใช้งานจริง จะมีผลต่อราคาทองคำเป็นวัฏจักรครับ แต่ตัวขับเคลื่อนหลักในเวลานี้ ต้องบอกว่า คือ ความต้องการในการลงทุนมากกว่า ยิ่งราคาทองคำสูง ความต้องการใช้งานจริงมีแต่จะลดลง ขณะที่ความต้องการสำหรับ เพื่อการลงทุนกลับเพิ่มขึ่นเรื่อยๆ กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบ่งได้ 3 กลุ่ม

NON COMMERICAL เป็นกลุ่มสถาบันการเงิน หรือ พวกนักเก็งกำไร หรือกองทุนขนาดใหญ่ พวกนี้เข้ามาตลาดเมื่อไหร่ จะเป็นตัวกำหนดราคาและสร้างความผันผวนในตลาดได้มากครับ เมื่อพวกนี้เข้ามาเมื่อไหร่ ปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรา ต้องรีบโดดเข้า และเตรียมโดดออกตามให้ทัน

COMMERCIAL เป็นกลุ่มผู้ผลิต ที่เข้ามาขายกันความเสี่ยงในตลาดล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นผู้ขายออก หรืออยู่ตรงข้ามกับนักเก็งกำไรนั่นแหละ พวกนี้ เมื่อไหร่ที่เริ่มซื้อสัญญากลับหรือไม่ค่อยขายเข้ามา ก็เป็นสัญญาณว่า ราคากำลังจะขึ้นแล้ว

NON REPORTABLE พวกนี้คือปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรานี่แหละครับ

ปัจจัยความต้องการเพื่อการลงทุนนี้ จะอ่อนไหวกับทิศทางตลาดโดยรวมค่อนข้างมาก โดยในปัจจุบัน ทิศทางของปัจจัยนี้ ถูกกำหนดโดย นโยบายของเฟด หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ เป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ทั้งในเทอมดอกเบี้ยและนโยบายที่มีต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ หรือพูดอีกทางคือ พฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัวที่ไม่ละ กำลังค่อยๆโผล่ออกมา เหมือนบ้านที่ไม่เคยกวาดสิ่งสกปรกออกจากบ้าน เอาแต่กวาดซุกใต้พรมแล้ว นั่งทับไว้ จนตอนนี้ พรมคงปูดเป็นภูเขาลูกใหญ่แล้วมั๊ง คนนั่งทับ ก็กำลังนั่งง่อนแง่นอยู่บนยอด ทำเป็นไม่สนใจสิ่งหมักหมนที่อยู่ใต้พรม

ความรุนแรงทางการเมืองโลก จากการที่สหรัฐวางตัวเป็นเจ้าโลกและคุกคามประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมตนเอง เพื่อเข้าไปยึดครอบครองทรัพยากรของประเทศอื่น ระเบิดเวลาที่ทิ้งไว้หลายจุดทั่วโลก ทั้งอิสราเอล อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน และอีกหลายประเทศ อีกไม่นานคงได้ประทุรุนแรง

นวัตกรรมทางการเงิน ตามแนวทางสหรัฐ เวลานี้กำลังย้อนกลับมาเล่นงานผู้คิดค้น ทั้งกรณีฉีกข้อตกลงเบรตัน วูดส์ พิมพ์แบงค์ใช้ไม่อั้น อนุพันธ์ทางการเงินเพื่อสร้างเม็ดเงินอย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกรณีซัพไพร์ม การเปิดเสรีทางการเงินรวมทั้งบีบทั้งปลอบให้ประเทศอื่นเชื่อทำตาม การสร้างระบบเก็งกำไร เหล่านี้ล้วนช่วยสร้างเศรษฐกิจสหรัฐให้ขึ้นมาอยู่ชั้นแนวหน้าพร้อมๆกับการ เผชิญความเสี่ยงมหันต์ที่ตามเป็นเงามานาน และกำลังเริ่มแผลงฤทธิ์อีกครั้ง ราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูง รวมถึงโภคภัณฑ์ต่างๆและทองคำ คือตัวแทนเงามืดที่ตามสหรัฐมานานนั่นเอง

ปูพื้นฐานปัจจัยพื้นฐานกัน แล้ว งวดต่อไปคงเริ่มเข้าเรื่องสิ่งที่พวกเรารอ คือปัจจัยเทคนิคเสียที ใครอ่านความเห็นผมมาตลอด อาจเคยเห็นผมเขียนไว้เสมอว่า

ปัจจัยพื้นฐาน เป็นตัวบอกว่า ราคาจะไปทางไหน ส่วนปัจจัยเทคนิค จะบอกว่า จะไปได้แค่ไหน