เครื่องเรือนในครัว

เครื่องเรือน

ในห้องครัวแบบสากลประกอบด้วยเครื่องเรือนดังนี้

- ตู้ส่วนกลาง ขนาดความลึก 0.50-0.55 เมตร ความสูงนิยม ให้พอดี ระดับใต้หน้าต่างคือประมาณ 0.80 – 0.90 เมตร ความยาว ขึ้นอยู่กับ ขนาดของห้องครัว ห้องครัวที่มีเนื้อที่แคบ จะมีตู้หนึ่งใบยาว ตลอดแนวฝาด้านหนึ่ง ถ้าห้องครัวมีขนาดกว้าง จัดเป็นรูปตัวแอลหรือตัวยู ก็อาจมีตู้ได้ 2-4 ใบส่วนบนเป็น ลิ้นชักสำหรับเก็บมีด ช้อนส้อม และ เครื่องครัวชิ้นเล็ก ส่วนล่างเป็นตู้บานเปิด หรือบานเลื่อน เก็บ เครื่องครัว ชิ้นใหญ่ จาน ชาม ฯลฯ นิยมกรุตู้ ด้วยวัสดุทนไฟ และ ทำความสะอาดง่าย เช่น ฟอร์ไมกา เป็นต้น

- ที่เตรียมอาหาร ประกอบด้วยอ่างน้ำทำด้วยโลหะไม่เป็นสนิม และ ที่สำหรับ การเตรียมอาหาร เช่น หั่นเนื้อ ผัก ฯลฯ มีขนาดเท่ากับ ตู้ บางทีนิยมทำเป็นส่วนเดียวกับตู้ ตอนล่างของเตรียมอาหาร นี้ อาจทำเป็นชั้นโปร่ง เพื่อวางสิ่งของหรือทำเป็นตู้เก็บภาชนะต่าง ๆ ก็ได้

- ตู้แขวนติดผนัง ขนาดความลึก 0.35-0.40 เมตร ความยาว ให้ได้สัดส่วน กับตู้ส่วนล่างแขวนติดผนังโดยสูงเท่ากับ ระดับวงกบ ของประตูหน้าต่าง ซึ่งสูงจากพื้นประมาณ 1.60-1.70 เมตร ตู้แขวนนี้ สำหรับเก็บตำราอาหาร เครื่องปรุงอาหารเครื่องแก้ว และ เครื่องครัว ที่มีน้ำหนักไม่มากนัก

ห้องครัวแบบสากล

ตู้เย็น สำหรับเก็บอาหารสด ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในบ้าน

เตา สำหรับหุงต้ม มีหลายแบบ ได้แก่

-เตาถ่าน นิยมใช้ในครัวไทยยุคก่อน ปัจจุบันเกือบไม่มีแล้ว มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.15 ถึง 0.30 เมตร มีทั้งที่เป็นเตาเดี่ยว และก่อเป็นตู้มี 2-3 เตา ประกอบกัน พื้นด้านบนของตู้ปูกระเบื้องเคลือบซึ่งง่าย ต่อการทำความสะอาด ส่วนล่างของตู้ใช้เป็นที่เก็บขี้ไต้ ถ่าน พัด ฟืน คีมคีบถ่าน เตาถ่านมีข้อเสียคือมีเขม่าและขี้เถ้ามาก ทำให้ห้องครัวสกปรกได้ง่าย

-เตาแก๊ส มีทั้งแบบที่มีแต่หัวเตา แบบเตาเดี่ยวที่มีโครงภายนอกตั้งบนโต๊ะ ไปจนถึงแบบที่เป็นตู้ใหญ่มีหัวเตา 3-5 หัว และ ด้านล่างเป็น เตาอบ และมีที่เก็บถังแก๊ส แต่โดยทั่วไปนิยมเก็บถังแก๊สไว้ภายนอกบ้านเพื่อความปลอดภัย โครงภายนอกของเตาแก๊ส นิยมใช้โลหะ ที่ไม่เป็นสนิม ถ้าเป็นตู้ใหญ่มักเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ (enamel) ซึ่งง่ายต่อการทำความสะอาด

-เตาไฟฟ้า มีให้เลือกใช้หลายขนาดเช่นเดียวกับเตาแก๊ส โดยต้องคำนึงถึงระบบจ่ายไฟฟ้า ให้มีกำลังไฟฟ้ามากพอต่อการใช้งาน และระบบความปลอดภัยของเตาที่ดี

เตา แบ่งตามประเภท

เตาเปิด (Open Burner) เตาเปิดจะมีหัวเตาแบบตะแกรงแยกกัน ทำให้สามารถปรับความร้อนได้ง่าย เตาเปิดเป็นเตาด้านบนแบบอเนกประสงค์ที่สามารถใช้ได้กับหม้อและกระทะทุกรูปแบบ ทำให้เป็นเตาด้านบนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด เตาแบน (Flattop) เตาแบนประกอบด้วยเหล็กหล่อหรือโลหะแผ่นหนาตั้งอยู่บนแหล่งกำเนิดความร้อน สามารถกระจายความร้อนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เตาแบนเหมาะสำหรับวิธีการทำอาหารที่ใช้น้ำมันเล็กน้อยหรือไม่ต้องใช้เลย เช่นเดียวกับกระทะก้นแบน เตาแม่เหล็กไฟฟ้า (Induction Cooktop) เตาแม่เหล็กไฟฟ้าใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าระหว่างเตากับกระทะโลหะ จึงให้ความร้อนที่กระทะโดยตรงในขณะที่พื้นผิวส่วนบนของเตายังเย็นอยู่ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลไหม้พุพองและประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

 

เตาอบธรรมดา (Conventional Oven) เตาอบธรรมดาโดยทั่วไปจะใช้ในการปิ้งหรืออบอาหารที่มีขนาดใหญ่ เตาอบประเภทนี้ใช้ความร้อนจากด้านล่างถ่ายเทขึ้นมาผ่านชั้นรองและเข้าไปในช่องว่างต่างๆ เพื่อทำให้อาหารสุก เตาอบลมร้อน (Convection Oven) เตาอบลมร้อนเป็นการปรับปรุงของเตาอบธรรมดา โดยจะใช้พัดลมเพื่อหมุนเวียนลมร้อนไปรอบๆ อาหาร การกระจายความร้อนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้อาหารทุกประเภทตั้งแต่เนื้อย่างไปจนถึงขนมอบเบาฟูสุกได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง เตาอบไมโครเวฟ (Microwave Oven) ร้านอาหารส่วนใหญ่จะใช้เตาอบไมโครเวฟเพื่อละลายน้ำแข็งที่ติดอยู่กับอาหารอย่างปลอดภัยและรวดเร็วเพื่อประหยัดเวลาในการเตรียม ไม่ได้เอาไว้ใช้ทำอาหารอย่างจริงจัง

 

เตาย่าง

เตาย่าง (Grill) เตาย่างจะทำให้อาหารสุกด้วยความร้อนที่เกิดขึ้นจากด้านล่าง ทั้งจากไม้ฟืน ถ่าน แก๊สหรือไฟฟ้า โดยทั่วไปจะใช้เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นควันหรือรสชาติเกรียมๆ เครื่องย่าง (Broiler) โดยทั่วไปแล้วเครื่องย่างจะพบติดตั้งอยู่กับเตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้าที่มีแหล่งความร้อนจากด้านบน มักใช้เพื่อทำให้ผิวด้านนอกของอาหารเกรียมเล็กน้อยในขณะที่ด้านในยังชุ่มชื้น เตาปิ้งซาลามันเดอร์ (Salamander) เตาปิ้งซาลามันเดอร์มีแหล่งความร้อนจากด้านบนเช่นเดียวกับเครื่องย่าง เป็นอุปกรณ์เดี่ยวที่ใช้เพื่อเคลือบผิวหรือทำให้ผิวอาหารเงางามเป็นหลัก ร้านอาหารบางแห่งยังใช้อุปกรณ์นี้เพื่ออุ่นอาหารหรืออุ่นจานก่อนเสิร์ฟอีกด้วย

 

-อ่างล้างจาน มีหลายชนิดให้เลือก เช่น กระเบื้องเคลือบ อะลูมิเนียมสเตนเลสสตีล ฯลฯ ขนาดมาตรฐาน คือ 0.35 x 0.50 เมตร ลึก 0.15-0.20 เมตร อ่างคู่จะใช้งานในการล้างได้สะดวกมากกว่าอ่างเดี่ยว บริเวณด้านข้างของอ่าง มีที่วางสิ่งของที่ต้องการล้าง และมีที่วางพักน้ำ เมื่อล้างเสร็จแล้ว การติดตั้งอ่างล้างจานที่มีระดับอ่างสูงพอเหมาะ คือให้ผู้ใช้วางฝ่ามือแตะก้นอ่าง ได้พอดี โดยไม่ต้องงอข้อศอก หรือก้มตัว

นอกจากนี้ ในห้องครัวควรมีการระบายอากาศโดยติดตั้งอุปกรณ์ดูดควันและกลิ่นซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ ปล่องไฟ พัดลมดูดอากาศ หรือเครื่องดูดควัน