แบบห้องรับประทานอาหาร

ขึ้นชื่อว่า "ห้องอาหาร" หรือ "DINING ROOM" แล้ว ทุกท่านต้องเห็นภาพว่าจะเป็นห้องที่ว่ากันเรื่องรับประทาน โดยเฉพาะ แต่ท่านผู้อ่านครับ ความหมายความเข้าใจของคน ทั่วไป จะเข้าใจเป็นแนวดังกล่าวแล้ว แต่ในมุมมองของมัณฑนา กรแล้วจะมีอะไรมากกว่ามากนัก "ห้องรับประทานอาหาร " หรือ " Dining Room " ที่ผมกล่าวนี้ ในมุมมองของนักออกแบบตกแต่งภายในต้องบอกว่ามี แนวคิดที่กว้างและหลากหลายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการมองแบบ สร้างบรรยากาศ สร้างอารมณ์ และสิ่งที่จะสร้างสรรค์ให้ได้ บรรยากาศได้อารมณ์ที่ว่าจะต้องประกอบด้วยวัสดุ, อุปกรณ์, แสงสว่าง, ความแปลกใหม่, การดึงจุดเด่นของวัสดุ, อุปกรณ์ และ แม้แต่แสงสว่างซึ่งก็คงต้องแยกว่าเป็นแสงธรรมชาติ หรือแสง จากไฟฟ้า หรือทั้งสองอย่างผสมกัน เท่านี้ยังไม่พอ ยังคงต้อง อาศัยความรอบรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เป็นตัวช่วยให้เกิด ตำแหน่ง จัดวางให้ถูกที่ ถูกจังหวะที่ควรจะเป็น ควรจะอยู่ให้ถูก ตำแหน่ง ถูกมุมมอง ได้อารมณ์ได้บรรยากาศดั่งที่ตั้งใจหรือโดน ใจผู้อยู่หรือเจ้าของบ้านนั่นเอง มัณฑนากรทุกวันนี้ จำเป็นต้อง รอบรู้ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ให้ทันกับ ภาวะ การเพิ่มและเปลี่ยนอย่างรวดเร็วผลงานที่ได้จึงจะออกมา เป็นที่น่าชื่นชม

ห้องอาหารแบบเปิดโล่ง

ภาพที่ 1 เป็นห้องอาหารแบบเปิดโล่ง สัมผัส ธรรมชาติ ความเรียบโล่งของเพดาน ผนัง และพื้น ช่วยสร้าง บรรยากาศให้กับห้องอาหารได้เป็นอย่างดี ความเรียบ โครงงานสี อ่อนครีมของเพดานและยังสลับกับสีของวัสดุที่เป็นไม้และผนัง สีเข้มวัสดุธรรมชาติ ผนังที่แขวนรูปสีเข้มออกดำ พร้อมโต๊ะ คอนโซลทรงสูง ของตกแต่ง เงาแสงแดดที่สาดเข้ามา กระทบกับผนังพร้อมกับเงาที่ทอดบนพื้นจากโต๊ะเก้าอี้ชุด อาหาร ได้อารมณ์บรรยากาศอบอุ่นจากแสงธรรมชาติ รูปแบบของชุดอาหารเรียบง่าย PROP ของตกแต่งก็นับว่ามี ความสำคัญมากโขเหมือนกัน

ชุดรับประทานอาหาร

ภาพที่ 2 เป็นภาพให้เห็นถึงของใช้ , ชุดเกี่ยวกับ การรับประทานอาหาร จานแก้ว ถ้วยแก้ว และท๊อปเป็น กระจกใสหนา ช่วยให้ผสานกลมกลืนกันได้อย่างสวยงาม

รับประทานอาหารภายนอก

ภาพที่ 3 ความสวยงามของเฉลียงด้านนอก หรือ ระเบียงด้านนอกบ้านเป็นส่วนที่ใช้สนทนาช่วงอาหารเช้า พื้นเซรามิคสีขาว เคาน์เตอร์สีน้ำเงิน ตัดกับทางออกสีแดง ชุดอาหารกระจกกลม เก้าอี้อาหารหุ้มผ้าสีเหลืองดูสดใสยาม เช้า ท่านผู้อ่านจะนำแนวคิดไปใช้บ้างก็ยังได้ครับ แต่ถ้ามี ต้นไม้ด้านขวาช่วยอีกสักหน่อยก็น่าจะดีขึ้นอีก

แบบห้องรับประทานอาหาร

ภาพที่ 4 ห้องอาหารที่ผสานกับวิวภายนอกที่สวยงาม เป็นที่น่าอิจฉาเป็นอย่างยิ่ง บรรยากาศสดชื่น โต๊ะอาหารกระจกพร้อมที่นั่งที่ดูเป็น Japanese Style สังเกตให้ดี ห้องอาหารที่เห็นนี้จะอยู่ชั้น 2 ต่อเนื่องกับภาพที่ 2 ที่เป็นเฉลียงหรือระเบียงอยู่ชั้นล่าง ภาพทิวทัศน์โดยรอบที่มีหน้าต่างเห็นได้โดยรอบเสมือนภาพ " Painting ชีวิต" ขนาดใหญ่ Panorama ที่ไม่ต้องหาซื้อ-หาตำแหน่งติดตั้ง แต่เราสามารถเสริม เติม แต่งภายในพื้นที่ของเราให้ผสาน กับทิวทัศน์โดยรอบได้ ไม่ยากเลย กลิ่นอายของTropical ก็โชยมาให้ได้สัมผัส แล้วเราจะเน้นเป็น Thai Style หรือ JAPANESS Style ก็เลือกได้ตามความนิยมเฉพาะตัว เจ้าของบ้านละครับ

แบบห้องรับประทานอาหาร

ภาพที่ 5 เป็นบรรยากาศได้ทั้ง LIVING ROOM( ห้องรับแขก ) และปรับเปลี่ยนเป็นห้องอาหาร ( Diningroom ) ได้ไม่ยาก โดยรูปแบบโครงงานสีออกเขียวทั้งผนัง ,ช่องแสง เจาะเป็นสีขาว ต่อจากผนังสีขาวเรียบ มีงานศิลป์ประดับอยู่ที่ผนังสีขาวเรียบ โต๊ะกลาง-โต๊ะอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงผิว (Texture) ที่บอกถึงความเป็นพื้นถิ่นที่เป็นตัวตนจริงหรือที่มัณฑนากรมักเรียกกันติดปากว่า ผิวดิบ หรือผิวดั้งเดิมของแท้มิได้มีการปรับเปลี่ยนผิดไปจากเดิมเบาะนั่งสีขาว หมอนอิงใหญ่เล็กไหมสีเขียว พร้อมโต๊ะที่จัดพร้อมชุดอาหาร รู้สึกได้เลยว่า มัณฑนากรมีความลึกซึ้งมากในการจัด Tropical Style ผสมกับ Modern Style ของความเรียบ แล้วดึงจุดเด่นของวัสดุและภูมิปัญญาพื้นถิ่นออกมาให้ผู้ได้พบเห็นต้องอดชื่นชมด้วยไม่ได้ เราคงพอนำไปเป็นแนวคิดได้กับการใช้ประโยชน์ของห้องรับแขกเป็นห้องอาหารได้ไม่ยากเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากห้องอาหารเดิมที่จำเจ มาใช้ในห้อง LIVING แทนบางโอกาส ไม่สงวนสิขสิทธิ์และไม่ผิดกฎหมายที่จะนำไปใช้บ้างครับท่านผู้อ่าน

ห้องนอนแบบไทย

ภาพที่ 6 ภาพนี้ก็ใกล้เคียงกับภาพที่ 5 ที่กล่าวแล้วเป็นบรรยากาศที่เปิดโล่งของพื้นที่ ( Space ) ประโยชน์ใช้สอยที่ใช้ได้ทั้ง LIVING และ DINING เป็นการจัดโต๊ะอาหารด้านหน้าให้เข้ากับศิลปะร่วมสมัย ( CONTEMPOLARY ) ทั้งงานแกะสลักและชุดอาหารเซรามิคบนโต๊ะอาหาร ผิวสัมผัสที่เป็นแบบหยาบๆ ให้อารมณ์ของคนพื้นถิ่นได้ดีเยี่ยม

แบบห้องรับประทานอาหาร

ภาพที่ 7 เป็นภาพการต่อเนื่องของห้องอาหาร ที่มีความผสานกลมกลืนกันได้ ทั้งภายใน ( Indoors ) และภายนอก ( Ooutdoors ) ใช้โต๊ะอาหารไม้และ เก้าอี้อาหารแบบสตูลกลมและม้ายาวไม้ ภูมิปัญญาพื้นถิ่นจริงๆ ไม่ต้องเสแสร้งนำมาใช้ นำมาจัดวางให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอยของคนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เราลองหันมาช่วยกันดูรอบตัวเรา ความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทยพื้นถิ่น แล้วค่อยๆพิจารณานำออกมาใช้ใช้อย่างรู้คุณค่า ใช้ให้คุ้มค่าที่บรรพบุรุษของเรา สั่งสมไว้ให้เรา อย่าตะกุยตะกายนำมาใช้จนดาดดื่น แล้วด้อยค่าในเวลาอันสั้น

แบบห้องรับประทานอาหาร

ภาพที่ 8 เป็นภาพที่ตั้งใจนำมาเป็นภาพสุดท้ายเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เปรียบเทียบชุดอาหารแบบ Modern ปัจจุบันในบรรยากาศ Tropical Style มีอะไรที่ให้ภาพลักษณ์ที่นุ่มนวล อบอุ่น แล้วใกล้ชิดกับเรามากที่สุด มากคน มากมุมคิด มากหลายความชอบ และมากจิตสัมผัส


ที่มา : บ้านแสนรัก