ห้องรับประทานอาหารแบบไทย

ห้องรับประทานอาหารรูมแบบการตกแต่ง บรรยากาศแบบไทย ( Diningroom Thai Style ) ปกติ แล้ว ห้องอาหารที่เป็นสไตล์ไทย เราต้องถือว่าเป็นลักษณะการ ตกแต่งที่มีเอกลักษณ์แบบไทย มีทั้งที่ค่อนข้างเป็นไทยเต็มร้อย มี ลายแกะลวดลายไทยมาก มัณฑนากรบางท่านก็ชอบที่จะใช้ บรรยากาศออกไทย โดยอาศัยเฟอร์นิเจอร์ผสมการตกแต่ง เพดาน ผนังออกไทย แต่บางท่านก็ใช้วิธีการแบบผสมผสาน ระหว่างไทยสไตล์กับโมเดิร์นสไตล์ อาศัยการตกแต่งเป็น โมเดิร์นแล้วใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เป็นรูปแบบไทย รวมทั้งของ ตกแต่ง เป็นแบบไทยก็ถือว่าเป็นรูปแบบที่ยอมรับได้

ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของบ้าน และมัณฑนากรร่วมกัน สร้างบรรยากาศ อารมณ์ ให้เป็น " ห้องอาหารไทยสไตล์ " การตกแต่งห้องอาหารไทย นอกจากการตกแต่งเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งแล้ว สิ่งที่สำคัญก็ยังมีให้ต้อง คำนึงถึงกัน และไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือเรื่องของ โครงงานสีที่ ใช้ สีที่ใช้กับห้องหาหารไทยให้ได้อารมณ์หรือสร้างอารมณ์ให้ เกิดก็ต้องอาศัย แสงสว่าง ( Lighting ) การวางตำแหน่งของ แสงสว่างการกำหนดความสว่าง ของแสง ที่ใช้ในห้องอาหาร ก็ ช่วยสรรสร้างให้ห้องอาหารเป็นห้องที่ประทับใจสำหรับแขกผู้ มาเยือน บ่งบอกถึงรสนิยมของเจ้าของบ้านได้อีกทางหนึ่ง เราคงต้องยอมรับว่าการตกแต่ง " ห้องอาหารไทยสไตล์ " แม้จะเป็นรูปแบบที่อยู่ใกล้ชิดกับตัวเรามาก นับแต่เกิดจนโต เห็นด้วยตาสัมผัสด้วยใจ ห้องรับประทานอาหารแบบไทยเข้าใจด้วยเสียงและอารมณ์ด้วยประสาท สัมผัสที่ธรรมชาติให้มาสมบูรณ์สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้มาโดยไม่ ต้องซื้อหา ไม่เสียเงิน แต่ใช้เวลาการใส่ใจ สักหน่อยจากการที่เกิด เป็นคนไทยก็มีโอกาสได้สิ่งเหล่านี้,สั่งสมด้วยกาลเวลา ประสบการณ์ความรักความชอบที่เกิดจากพรสวรรค์เฉพาะตัว มากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละท่าน บางท่านมีมากและมีโอกาส ศึกษาทางด้านมัณฑนศิลป์ ก็ประกอบอาชีพเป็นนักออกแบบ ตกแต่งภายในเป็นมัณฑนากร แต่บางท่านมีพร้อมที่ธรรมชาติให้ มา แต่ขาดโอกาสเข้าศึกษาในสาขาดังกล่าว แต่ด้วยใจรักและ สนใจจนมีความสามารถออกแบบตกแต่งภายในได้เอง ก็ต้องถือ ว่าพระเจ้าได้ปูนบำเหน็จในความวิริยะอุตสาหะของท่านผู้นั้น

แต่บางท่านที่ได้มาธรรมชาติและโอกาสบางส่วน แต่ชีวิต ต้องศึกษา และประกอบอาชีพสาขาหรือสายงานอื่น แต่ก็มี ความรักความชอบในงานศิลปะ ชอบดูใฝ่รู้ เมื่อโอกาสมีมา ท่านเหล่านี้ผมถือว่าน่ายกย่องอย่างมาก และเป็นผู้มีพระคุณ อย่างสูงสำหรับกลุ่มคนที่มีอาชีพเป็นศิลปิน มัณฑนากร สถาปนิก รวมทั้งนักออกแบบทุกสาขา ท่านเหล่านี้จะเป็นคน ส่วนใหญ่ในสังคมที่ช่วยจรรโลงให้คนในสายอาชีพศิลปะได้ มีโอกาสสร้างงานสร้างฝันให้เป็นจริง เพื่อคนปัจจุบันและ คนรุ่นหลังที่จะเติบโตต่อมาในอนาคต เช่นเดียวกับที่บรรพ บุรุษคนรุ่นเก่าได้สั่งสมงานศิลปะทุกแขนงด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่ไม่มีตัวช่วย เหมือนปัจจุบันให้ดำรงคงอยู่จน ปัจจุบันให้พวกเราได้มีโอกาสพบเห็นศึกษา และนำมาเป็น แนวทาง แรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะต่อ การตกแต่ง " ห้องอาหารไทยสไตล์ " ที่มีผลงาน ให้ได้ดูกันต้องถือว่ามัณฑนากรที่สร้างฝันสร้างงานร่วมกับ เข้าของบ้านเป็นแกนหลักที่จะให้เกิดผลงานเป็นอย่างไร เรา พอประมาณได้ดังนี้

ความประสงค์ต้องการของเจ้าของบ้านเจ้าของงาน เป็นเบื้องต้นที่มัณฑนากรต้องรับรู้สิ่งแวดล้อมดั้งเดิม รวมถึง ของเก่าที่มีหรือสะสมไว้แล้วหรือมีมาก่อน ปัจจัยเหล่านี่ล้วน เป็นข้อกำหนดให้มัณฑนากรสร้างงานสร้างฝันตามให้ได้ผล งานออกมาเป็นที่ชื่นชมของเจ้าของและผู้พบเห็น เช่น ภาพที่ 1

บรรยากาศห้องอาหารไทย ที่มีองค์ประกอบช่วยสร้างบรรยากาศได้เป็นอย่างดี เรือนไทยเดิมที่มีรูปแบบสีสันของไม้ธรรมชาติลักษณะของผนัง หน้าต่าง ต้องถือว่าใช้ของเดิมโดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลง เสริมเน้นผนังให้ดูดีขึ้นด้วยภาพเขียนแบบจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยนำมาใส่กรอบติดประดับผนัง และจานลายคราม เท่านี้ก็เพียงพอและพอดีไม่ไปแย่งและแข่งกับผนังของเรือนไทยเดิม เพดานได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็น เพดานเรียบแล้วใช้โทนสีให้เข้าได้กับผนังเสริมความสวยของเพดานเรียบด้วยโคมไฟแก้วเจียรไนแม้จะเป็นรูปแบบของตะวันตก แต่ก็ยังดูเข้าได้กับบรรยากาศไทยโต๊ะอาหารมีลายแกะออกไทย ปิดทองคำเปลวหลุดลอกด้วยกาลเวลา ท๊อปบนหรือหน้าโต๊ะเป็นไม้จริงเฟรมโดยรอบมีความหนาสีเข้มบอกถึงความเป็นของเก่าสะสมมานาน เก้าอี้อาหารสีแดงเบาะหุ้มผ้าไหมสีแดงรูปแบบเป็นสไตล์จีน แต่ก็ยังดูกลมกลืนเข้าได้กับโต๊ะอาหารไทย การจัดชุดรับประทานอาหาร ที่ใช้ผ้ารองจานสีแดงตัดกับชุดอาหารเป็นเครื่องเคลือบลายครามออกสีน้ำเงินของลวดลายบนพื้นกระเบื้องขาว ทำให้ดูบรรยากาศเป็น "ห้องอาหารไทย" ที่ใช้ชุดอาหารที่ทำในสมัย"หมิง" ของจีนเข้าได้กับเก้าอี้จีนที่นำมาใช้ โต๊ะอาหารไทยมีลายแกะเข้าได้กับลายแกะช่วงล่างของหน้าต่างเรือนไทย อีกทั้งยังได้โคมไฟแก้วเจียรไน(CHANDELIER) จากสมัยศตวรรษที่ 19 และที่ทำให้โครงงานสีภายในห้องดูดีด้วยการดึงธรรมชาติของต้นไม้ใบสีเขียวเข้ามาผสานกับสีภายในทำให้ได้อารมณ์ สไตล์ไทยเต็มร้อยโดยไม่ต้องดัดแปลง ต้องถือว่าเป็นแนวทางการ ตกแต่ง "ห้องอาหารไทยสไตล์" โดยอาศัยของเก่าที่มีหรือสะสมผสมกับห้องของเรือนไทย บวกกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้งและตัวเสริม จะดีมากน้อย อารมณ์ถูกใจหรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับการจัดวางที่ถูกที่ ถูกจังหวะ เสริมเน้นด้วยแสงจากจากธรรมชาติและโคมไฟที่ใช้แสงพอดีกับอารมณ์ที่ได้

ห้องทานอาหารไทย ห้องทานอาหารไทย ห้องทานอาหารไทย ห้องทานอาหารไทย

ภาพที่ 2,3,4,5 ที่นำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ดูภาพสวย แล้วยังเป็นแนวทางสำหรับท่านที่จะจัด "ห้องอาหารไทยสไตล์" ตัวเองโดยมีของเก่าของที่สะสมไว้มาจัดวางตกแต่งเสียใหม่


ที่มา : บ้านแสนรัก