กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในธุรกิจส่วนตัว

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในธุรกิจส่วนตัว The Entrepreneur’s Guide : Philip Holland ชื่อผู้แปล : ดร. ก้องเกียรติ โอภาสวงการ

กระบวนการเป็นขั้นตอนเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นต่อการเริ่มประกอบการธุรกิจใหม่ โดยนำเสนอเทคนิคซึ่งจะสามารถช่วยผู้ประกอบการในการสร้างพื้นฐาน และการดำเนินการธุรกิจส่วนตัวทุกประเภทที่เป็นประสบการณ์จริงของ ฟิลิป ฮอลแลนด์ได้กลั่นกรองและรวบรวมประสบการณ์ในการทำธุรกิจส่วนตัวกว่า 25 ปี บันทึกลงในหนังสือกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในธุรกิจส่วนตัว กลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นและ อาศัยสัญชาตญาณในการประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยพิจารณาจาก 5 ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจของฟิลิป ฮอลแลนด์ 5 ชั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1. คุณต้องการทำธุรกิจส่วนตัวหรือเปล่า ขั้นที่ 2. อะไรและที่ไหน ขั้นที่ 3. การวางแผนโจมตี ขั้นที่ 4. ลงมือ ขั้นที่ 5. รวบยอด

ซึ่งในแต่ละขั้นก็จะมีหัวข้อของเทคนิคต่างๆเข้ามาช่วย ในกระบวนการตัดสินใจลงมือทำธุรกิจส่วนตัวนั้นๆด้วย

สาระสำคัญของหนังสือ คือ เป็นหนังสือที่ช่วยชี้ทางให้กับผู้ที่สนใจหรือต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว โดยจะบรรยายถึงคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ดี การวางแผนที่จำเป็น รวมทั้งพื้นฐานประสบการณ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจ การทำธุรกิจส่วนตัวนั้นก็ไม่ต่างกับการขึ้นเครื่องบินสักเท่าไร เพราะแม้แต่ผู้ที่มีพรสวรรค์ในการบินมากที่สุดในโลกยังต้องฝึกหัดการขับเครื่องบินเสียก่อน ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้ทราบว่าอะไรที่ครรวทำในการทำธุรกิจส่วนตัว และอะไรที่ไม่ควรทำในการทำธุรกิจส่วนตัวดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 คุณต้องการทำธุรกิจส่วนตัวหรือเปล่า

ฟิลิป ฮอลแลนด์ กล่าวว่า การที่คุณจะประกอบธุรกิจใดๆก็ตามนั้น คุณจำเป็นต้องถามตัวคุณก่อนว่าคุณต้องการธุรกิจส่วนตัวหรือไม่

เทคนิคแรกคือ หยุดและคิดทบทวนให้รอบคอบก่อนลงมือปฏิบัติจริงหรือทำธุรกิจส่วนตัวจริง

จากนั้นก็เริ่มมองหาลู่ทางการทำธุรกิจหรือโอกาสทางธุรกิจนั้นเอง โดยจากการอ่านหนังสือพิมพ์เป็นต้น หลักในการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวของคุณฟิลิป ฮอนแลนด์ มีอยู่ดังนี้

  1. ใช้เวลากับมันทุกวันง
  2. นั้นฝันถึงธุรกิจที่เราต้องการจะทำ
  3. คำนวณความเสี่ยงที่เป็นไปได้ทั้งหมด
  4. ปรึกษาบุคคลอื่นที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจส่วนตัวมาก่อน
  5. เขียนรายการ ข้อดี และ ข้อเสียในการทำธุรกิจเอาไว้เปรียบเทียบ

ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจำเป็นต้องมีเวลาให้กับธุรกิจที่เราต้องการทำด้วย เช่น โดยการแบ่งเวลาให้เป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัวหรือกับธุรกิจที่เรากำลังจะลงมือทำให้ดีจะได้ไม่มีผลกระทบกันทั้งสองฝ่าย

 

เทคนิคที่ 2 รู้จักตนเอง

หลังจากที่รู้แล้วว่าเราต้องการที่จะทำธุรกิจแล้วนั้นเราต้องรู้จักตนเอง หรือ ตัวเราเอง ก่อนนั้นเอง

เพราะการที่เราไม่รู้จักตัวเราเอง ก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจนั้นอาจประสบปัญหาได้หรือเปรียบเสมือนกัปตันเรือ คือถ้ากัปตันเรือไม่มีกฎของเส้นทางการเดินเรือนี้แล้ว การเดินเรือในทะเลก็เต็มไปด้วยภัยอันตรายอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นการที่เรารู้จักตนเองย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจหรือองค์กรของเราเสมอ หลังจากที่รู้จักตัวเองแล้วผู้ประกอบการที่ดีจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้องค์นั้น สามารถขับเคลื่อนไปได้ดีคือความกระหายที่จะสวมบทบาทการเป็นผู้ประกอบการและสามารถรับมือกับความเสี่ยงของธุรกิจที่ทำอยู่ดังจะยกคำพูดของคุณ ฟิลิป ฮอนแลนด์มาประกอบคำอธิบายเพื่อง่ายต่อการเข้าใจยิ่งขึ้น

คนเราทุกคนใช่ว่าจะมี “สัญชาตญาณของความเป็นผู้ประกอบการ” เพราะมันไม่ได้เกิดมาในสายเลือด

จากข้อความข้างต้นนี้สามารถบ่งบอกได้ว่าไม่ว่าใครก็สามารถที่จะเป็นผู้ประกอบการได้ ถ้าคุณสามารถสวมบทบาทเป็นผู้ประกอบการจริงจังและมีความกระหายในบทบาทที่กำลังได้รับไม่ใช่เพียงแต่เกิดมาจากสายเลือดได้เพียงอย่างเดียว ง่ายๆคือเราอาจมีสัญชาตญาณต่างกันแต่ไม่ใช่มีความสามรถต่างกันนั้นเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่เราจะสามารถทำธุรกิจหนึ่งได้ไม่เพียงแต่เท่าที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น

เทคนิคที่ 3 คือต้องมี ความบ้าบิ่น หัวคิดและเงินทุน ด้วย

ความบ้าบิ่น คือ สัญชาตญาณที่สำคัญอย่างหนึ่งของผุ้ประกอบการที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งความบ้าบิ่นที่ว่านี้ก็มีทั้งคุณและโทษ ดังนั้นวิธีที่นำมาใช้ในเกิดผลดีในองค์กรมากกว่าผลเสียคือมีความบ้าบิ่นได้แต่ไม่มากจนเกินไปจนทำให้งานนั้นผังหรือไม่น้อยจนเกินไป ถ้าน้อยจนเกิดไปก็ส่งผลให้เราอาจไม่กล้าที่จะตัดสินใจในการทำธุรกิจไม่กล้าเสี่ยงลงทุนนั้นเอง

หัวคิด คือความรู้ความสามารถในตัวบุคคลที่เกิดจากการสะสมความรู้ที่ได้ศึกษามาและประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมา ในสาขาใดสาขาหนึ่งบวกกับ สามัญสำนึกด้วยส่วนคำว่า สามัญสำนึกมีความถึงความฉลาดมีไหวพริบที่จะใช้ในการเอาตัวรอดพ้นจากภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในธุรกิจนั้นๆ

เงินทุน คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์ประกอบแห่งความสำเร็จในอดีต แต่ใน ณ ปัจจุบันเงินทุนถือว่าไม่มีความสำคัญมากเท่าที่ควร กล่าวคือการที่ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยเงินทุนที่น้อยย่อมเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จได้มากกว่าการที่เริ่มต้นทำธุรกิจ ด้วยเงินลงทุนที่เยอะหลายเท่าซึ่งสิ่งนี้มักจะกลายเป็นอุปสรรค์ต่อความสำเร็จ ขยายความอีก คือ ผู้ประกอบการที่เก่งที่สุดคือ ผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจจากเงินลงทุนน้อยที่สุดนั้นเอง เพราะฉะนั้นจงหยุด และเก็บเอาองค์ประกอบแห่งความสำเร็จทั้งสามไว้ ถ้าหากเรามีของวิเศษทั้งสามนี้ไว้ในกำมือแล้ว เราก็จะก้าวไปสู้เส้นชัยได้อย่างง่ายดาย

เทคนิคที่ 4 เล่นเกมอย่างไรให้ชนะเกมการแข่งขัน

เราเคยคิดไหมว่าการที่เราได้ลงมือทำธุรกิจหนึ่งแล้วเราจะเล่นเกมอย่างไรให้ชนะเกมการแข่งขันในครั้งนั้นได้ ในที่นี้คุณฟิลิปได้กล่าวไว้ว่า

ในการเล่นกีฬาหรือในการประกอบธุรกิจนั้น ใช่ว่าทุกคนจะเป็นผู้ชนะได้เหตุผลก็เพราะผู้ชนะมักจะทำในสิ่งที่ผู้แพ้ไม่ชอบทำ คนเราทุกคนใช่ว่าจะยอมลงทุนลงแรงเหนื่อยยากเหมือนกันหมด คิดดูสิว่าจะมีเด็กอายุ 13 ขวบสักกี่คนที่ยอมตื่นนอนเวลาตี่สี่ครึ่ง มาว่ายน้ำและยกน้ำหนักเป็นเวลานานถึง 5 ชั่วโมงทุกวัน คงหาได้ยากมาก แต่นี้คือสิ่งที่บรรดาแชมเปี้ยนโอลิมปิกเขาทำกัน พวกเขาเหล่านี้ได้รับการปลูกฝังวินัยเช่นนี้เป็นเวลานานนับปีเพื่อที่จะเอาเหรียญทองมาครองให้ได้

สรุปแล้ว เราได้เรียนรู้ถึงการนำเอาคุณสมบัติของแชมเปี้ยนกีฬามาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ นั้นคือ ประการแรก การทำธุรกิจก็ไม่แตกต่างกับการเล่นกีฬาเท่าไร คุณจำเป็นต้องทำงานหนักเพื่อเอาชนะสิ่งที่ท้าทายข้างหน้า โดยมีรางวัลหรือการทำโทษเป็นผลตอบแทนนั้นเอง

เทคนิคที่ 5 การเอาจริงเอาจัง

การเอาจริงเอาจังคือ วินัยที่สำคัญประการหนึ่งของบุคคลที่ประสบผลสเร็จ ฉะนั้นผู้ที่ประสงค์จะบรรจุผลให้ได้ตามเป้าหมาย ก็ควรรู้จักกับคุณลักษณะข้อนี้ให้ถ่องแท้เสียก่อน สรุปคือ ถ้าหากคุณเอาจริงเอาจังเมื่อไร โอกาสที่คุณจะไขว้เขวไปจากเป้าหมายก็มีน้อยลงเมื่อนั้น ดังนั้นจงอย่าเริ่มต้นทำธุรกิจโดยที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจนั้น เพื่อให้ธุรกิจที่คุณกำลังทำประสบความสำเร็จคุณต้องทราบว่าคุณต้องการอะไรในช่วงเริ่มต้น ต่อมาเมื่อคุณได้เข้าไปคลุกคลีแล้ว คุณจะต้องมีความรู้ควบคู่กับการเอาจริงเอาจังด้วย การทำงานหนักคือองค์ประกอบสำคัญของการเอาจริงเอาจังแต่ก็ต้องทำงานหนักในสิ่งที่ถูกที่ควรด้วย อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะให้การเอาจริงเอาจังของคุณมีประสิทธิผล คุณก็ควรจะรู้จักูรกิจของคุณให้ดีเสียก่อนที่จะเริ่มต้นทำ และคุณจำเป็นต้องเอาชนะอุปสรรคหลายๆอย่างเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจที่ทำอยู่ และการเอาจริงเอาจังก้หมายถึงการทำให้สำเร็จโดยที่ไม่มีความประนีประนอมแม้แต่น้อย การเอาจริงเอาจังก็คือการเอาความรู้บวกกับการทำงาน ความรู้คือ รู้ว่าควรทำอะไร และก็ให้ทำสิ่งนั้นทันที เจ้าของกิจการคือ ผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับผลประโยชน์จากการอุทิศตนเองและเอาจริงเอาจังโดยตรง ถ้าประสบผลสำเร็จ เขาก็จะเป็นผู้ที่ตักตวงผลประโยชน์ไว้ได้ทั้งหมด นอกจากนี้สิ่งที่เขาลงทุนลงแรงไปทุกอย่างก็ยังคงอยู่ในกิจการของเขาเองไม่ได้หายไปไหน ดังนั้น ก่อนที่คุรจะตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัว ขอให้ถามตัวเองว่า คุณสามารถอุทิศตนและเอาจริงเอาจังกับการงานหรือไม่ เพราะมันคือคำตอบ “เบื้องต้น” ที่คุณจะต้องตอบตัวเองให้ได้

เทคนิคที่ 6 อย่าลืมว่าในการทำธุรกิจนั้นตัวเราจงตัดสินใจด้วยตนเอง เสมอ

คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจส่วนตัว ข้อควรระวังสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือผู้สนใจที่จะทำธุรกิจส่วนตัว มักจะไม่ทราบว่าตนเองต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะตัดสินใจด้วยอารมณ์หรือเหตุผลที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ แทนที่จะมีการวิเคราะห์คุณสมบัติของตัวเอง รวมทั้งเป้าหมายที่ต้องการอย่างท่องแท้เสียก่อนลงมือทำ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีสัญชาตญาณของผู้ประกอบการอย่างครบถ้วนจะมีความรู้สึกคนละอย่างกับข้างต้นคือ จะรู้สึกวุ่นวายที่จะต้องร่วมทำงานกับคนอื่น แต่จะมีความรู้สึกพอใจมากเมื่อได้ลงมือทำธุรกิจส่วนตัว เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะคิดว่าคุณต้องการทำธุรกิจอะไร ขอให้หยุดถามตนเองเสียก่อนว่า คุณมีเลือด ของผู้ประกอบการหรือไม่ และนี้คือองค์ประกอบทั้งหลายที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ

  1. ผู้ประกอบการคือ ผู้ที่ให้หัวคิดคำนวณในการตัดสิน ไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการตัดสินใจ
  2. ผู้ประกอบการจะมีสัญชาตญาณบางอย่างที่เราสามารถวัดได้ แต่ไม่สามารถปลูกฝังได้
  3. ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความบ้าบิ่น หัวคิด และเงินทุน
  4. ผู้ประกอบการต้องมีใจของผู้ชนะอยู่เสมอ
  5. ผู้ประกอบการต้องมีความเพียรอุตสาหะ เอาจริงเอาจัง

ขั้นตอนที่ 2 คือ อะไรและที่ไหน

ถึงแม้ว่าคุณจะมีคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ดีแล้วก็ตาม คุณยังต้องตัดสินใจเลือกธุรกิจและสถานที่ประกอบการอีกด้วย ดังนั้นการตัดสินใจในขั้นนี้จะหมายถึงรางวัลหรือความล้มเหลวที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดินก็ได้

เทคนิคที่ 1 คือ ทำในสิ่งที่คุณอยากทำ

มีบุคคลอยู่ 2 คน สรุปว่า ความสุขของมนุษย์มีกำเนิดมาจากองค์ประกอบ 2 ประการนั้นคือ ความรัก และการงาน ซึ่งบุคคลที่ได้กล่าวถึงทฤษฎี ความสุขของมนุษย์นั้นคือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ กับไซโลมอน เพราะฉะนั้น การที่จะทำธุรกิจใดๆก็ตามคุณต้องเริ่มทำจากสิ่งที่คุณรักหรือชอบ คนที่ทำงานในสิ่งที่ชอบมักจะทามันได้ดี การทำงานถือได้ว่าเป็นสิ่งท้าทายและเป็นความสุขอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์เรา ดังนั้น เราจงรีบฉวยโอกาสทำงานที่ตนเองชอบโดยเร็ว เพราะเวลาของคนเรามีจำกัดจึงต้องรีบทำธุรกิจในสิ่งที่เราอยากทำและรักมัน ประโยชน์ข้อสุดท้ายของการทำในสิ่งที่ชอบคือ คุณจะได้อยู่กับงานนี้ในทุกๆภาวะเศรษฐกิจ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือเลวก็ตาม เปรียบเสมือนกับการที่คุณต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนที่คุณรักนั้นเอง

เทคนิคที่ 2 คือ บำบัดความต้องการของผู้บริโภค

หลังจากที่ตัดสินใจทำธุรกิจ และทราบว่าจะทำอะไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การมองหาว่าตลาดหรือผู้บริโภคต้องการอะไร ไม่มีธุรกิจใดที่จะประสบความสำเร็จได้ ถ้าหากมันไม่สามารถบำบัดความต้องการของผู้บริโภคหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นเอง ส่วนเรื่องที่คุณต้องการบำบัดความต้องการประเภทไหนนั้น มันจะช่วยให้คุณตัดสินใจว่าคุณทำธุรกิจใหญ่หรือเล็ก ถ้าหากความต้องการที่คุณจะบำบัดมีการกระจายอย่างกว้างขวางแล้ว คุณก็คงจะทำธุรกิจใหญ่ได้ แต่ถ้าหากความต้องการที่คุณจะบำบัดมีอยู่ไม่มาก คุณก็ควรจะทำธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งนี้ทำเลที่ตั้งของร้านก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่อย่างคุณเช่นกัน ยกตัวอย่าง ธุรกิจประเภทเดียวกันอาจประสบความสำเร็จอย่างมากในสถานที่หนึ่งและอาจล้มเลวอย่างไม่เป็นท่าในสถานที่อีกแห่งหนึ่งก็ได้ เช่นกัน ดังนั้นคุณจำเป็นต้องทำธุรกิจให้เหมาะสมกับความต้องการของประชากรในท้องถิ่นนั้นๆที่คุณตั้งอยู่ ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องตอบคำถามที่ว่า “ ฉันจะขายของที่ไหนจึงจะได้ลูกค้ามากพอ” เพียงแค่คำถามพื้นฐานข้างต้นนี้ ก็สามารถช่วยกั่นกรองแนวความคิดการทำธุรกิจสารพัดชนิดของคุณได้

ต่อไปนี้คือคำถามที่คุณจะต้องถามตัวเอง เพื่อพิจารณาว่า ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งสามารถบำบัดความต้องการของคุณได้หรือเปล่า

  • คู่แข่งได้เคยทราบถึงความต้องการชนิดนี้ของผู้บริโภคแล้วหรือยัง
  • คุณทราบแล้วยังว่าผู้ที่ต้องการสินค้าของคุณเป็นคนประเภทไหน
  • คุณได้มองหาขนาดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณแล้วหรือยัง
  • คุณสามารถบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่ ลักษณะการบำบัดในปัจจุบันอยู่ในสภาพเลวร้ายหรือเปล่า
  • ความต้องการ ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วหรือยัง หรือเป็นเพียง ความเข้าใจ ของคุณเท่านั้น
  • คุณสามารถใช้ประโยชน์จากสถิติต่างๆได้หรือไม่ เช่น จำนวนประชากร รายได้เฉลี่ย เส้นทางการจราจร ฯลฯ

ข้อสรุปที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเป็นไปได้คือ ความต้องการที่คุณจะบำบัดนั้นมีโอกาสไปก่อนหน้าแล้วในช่วงที่คุณกำลังพิจารณา อย่างไรก็ดี ผลสรุปเช่นนี้ก็ยังดีกว่าการกระโดดลงมือทำธุรกิจแล้วค่อยมาพบความจริงในภายหลัง สรุปแล้ว คุณจะพบว่าการบำบัดความต้องการที่มีขนาดมากพอคือหัวใจของการริเริ่มธุรกิจ และคุณควรจะแน่ใจถึงความต้องการของตลาดก่อนเสมอในการที่จะเริ่มลงมือทำธุรกิจนั้นๆ

เทคนิคที่ 3 จับคู่สิ่งที่ชอบกับโอกาสทองที่รออยู่

สิ่งแรกของการตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจคือ ตัดสินใจว่าจะทำอะไร ขั้นตอนที่ 2 คือ การบำบัดความต้องการของผู้บริโภค การจับคู่งานที่ชอบกับโอกาสที่เปิดรออยู่ เคล็ดลับแห่งความสำเร็จง่ายๆคือ ควรเลือกธุรกิจใดก็ตามควรเลือกธุรกิจที่จะมีการขยายตัวในอนาคตและไม่ได้อยู่ในช่วงที่กำลังดิ่งลง แต่ถ้าหากจะให้ดีที่สุด ขอให้คุณเข้าไปรับธุรกิจในช่วงที่มันยังอยู่ในระยะต้นๆก่อนที่มันจะพุ่งขึ้นได้ก็จะเยี่ยมมาก จริงอยู่คุณอาจต้องการทำธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไม่ทราบว่าจะทำอะไร ถ้าจะว่าไปแล้วการเริ่มต้นแบบนี้ก็ดีเหมือนกันเพราะเป็นอิสระดี คุณจะได้มีโอกาสคำนวณโอกาสต่างๆของธุรกิจหลายๆอย่างก่อนตัดสินใจ และจะได้พิจารณาด้วยว่าธุรกิจนั้นๆอยู่ในช่วงใดของวัฏจักรช่วงไต่ขึ้นหรือช่วงดิ่งลง

แต่ถ้าคุณทราบว่าคุณอยากทำอะไรแล้ว ก่อนตัดสินใจทำ ขอให้ตรวจดูเสียก่อนว่าธุรกิจนั้นอยู่ในช่วงใดของวัฏจักร อย่างน้อยก็ขอให้ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ในการตัดสินใจ

สรุปแล้ว ในการตัดสินใจคัดเลือกธุรกิจนั้น เราควรจะระลึกอยู่เสมอว่า จงอย่าย่อท้อแท้กับช่วงอายุและวัฏจักรของธุรกิจ ชีวิตของคนเรานั้นอาจจะยืดยาวถึง 75 ปี และเราก็มีโอกาสได้เผชิญกับช่วงดีช่วงร้ายสลับกันไปตลอดชั่วอายุ ดังนั้นเราต้องแยกให้ออกระหว่างอายุของธุรกิจ ดังนั้นคุณจะต้องแยกออกระหว่างอายุของธุรกิจและช่วงแปรผันขึ้นลงของมันด้วย

เทคนิคที่ 4 ความชำนาญพิเศษ

เมื่อโลกของเรามีประชากรหนาแน่นขึ้น อีกทั้งยังมีระบบสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้น ความชำนาญพิเศษที่มีอยู่ในตัวเราจึงได้เริ่มมีบทบาทสำคัญ ความชำนาญพิเศษนี้จะเพิ่มตามความรู้ที่สะสม เนื่องจากคนและความรู้มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวันๆ ดังนั้นความชำนาญพิเศษจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และสังคมในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปไกล จนถึงขั้นที่ว่าธุรกิจจะอยู่รอดได้ คือ ธุรกิจที่มีประสิทธิผลสูงเท่านั้น และการที่ธุรกิจใดจะมีประสิทธิผลให้สูงกว่าเดิมได้ ธุรกิจนั้นจำเป็นต้องมีความชำนาญพิเศษ เพราะนี้คือสิ่งที่ลูกค้าเรียกร้อง สรุปคือ ความเชี่ยวชาญหรือความชำนาญเฉพาะอย่างจะช่วยลดความไม่แน่นอนที่เผชิญอยู่ อย่าลืมว่าการบริหารธุรกิจไม่ควรเป็นเรื่องทำนองเดียวกับการยืดตัวหนอนให้ตรง โดยปกติแล้วในการทำธุรกิจ เรื่องที่แปลกใจมักจะกลายเป็นปัญหาเสียส่วนใหญ่ ความชำนาญเฉพาะอย่างจะช่วยลดจำนวนเรื่องที่น่าแปลกใจให้น้อยลง

ผู้ประกอบการควรสนใจทำธุรกิจที่อาศัยความชำนาญเฉพาะเรื่อง เพราะอย่างน้อยมันก็ช่วยเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จให้คุณได้ คุณอาจจะเคยได้ยินเคล็ดลับแห่งความสำเร็จในธุรกิจที่ดิน 3 ข้อ นั้นคือ ทำเล ทำเล และ ทำเล คราวนี้ลองฟังเคล็ดลับแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจทั่วไปดูบ้าง เคล็ดลับทั้ง 3 ข้อคือ ความชำนาญเฉพาะ ความชำนาญเฉพาะ และ ความชำนาญ เฉพาะ เมื่อคุณเลือกธุรกิจที่จะทำได้แล้ว ก็ขอให้ลองเขียนรายการความชำนาญเฉพาะที่เป็นไปได้ของธุรกิจนั้นดู จากนั้นก็ขอพิจารณาดูว่าสาขาธุรกิจดังกล่าวเคยประสบความสำเร็จมาก่อนหรือยัง จงทำตามตัวอย่างของผู้ชนะเสมอ เว้นเสียแต่ว่าคุณต้องการสร้างอะไรใหม่ๆด้วยตนเอง คล้ายกับเจ้าของกิจการตรวจซ่อมเครื่องยนต์อัตราค่าบริการคงที่รายนั้น

สรุปแล้ว การประกอบธุรกิจที่ใช้ความชำนาญเฉพาะช่วยลดความเสี่ยงได้และมันคือกุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของการประกอบธุรกิจอิสระอีกดอกหนึ่งด้วย

เทคนิคที่ 5 มาจนถึงจุดนี้ จงตัดสินใจว่าจะทำอะไร

เมื่อเรามาถึงจุดนี้แล้ว เรากำลังจะก้าวไปสู้จุดหมายขั้นที่สอง ในการตัดสินใจทำธุรกิจส่วนตัว นั้นคือ อะไรและที่ไหน บทต่างๆ ที่ผ่านมาในขั้นนี้ ได้กล่าวถึงองประกอบสำคัญที่คุณจะต้องใช้เพื่อตัดสินใจ นั้นคือ

  • ทำในสิ่งที่คุณอยากทำ
  • บำบัดความต้องการของผู้บริโภค
  • จับคู่สิ่งที่ชอบกับโอกาสทองที่รอคอย
  • ความชำนาญพิเศษ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การตัดสินใจที่สำคัญของคุณคือ การเลือกว่าจะทำธุรกิจอะไร กล่าวคือ ศิลปะของการทำธุรกิจคือ ศิลปะของการตัดสินใจที่จะเรียกร้องกลับคืนมาไม่ได้ โดยอาศัยข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ การตัดสินใจโดยทั่วไปจะง่าย ถ้าหากผู้ตัดสินใจมีข้อมูลพร้อม การตัดสินใจเลือกธุรกิจก็เป็นการตัดสินใจที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้แบบหนึ่ง และโอกาสของคุณจะดีขึ้น ถ้าหากคุณรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น คุณจำเป็นต้องนำผลของบทที่ผ่านมาในขั้นตอนนี้มาประเมินด้วย

ขั้นตอนที่ 3 คือการวางแผนโจมตี

ง่ายๆคือ คุณควรเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มลงมือทำธุรกิจ ถ้าหากคุณยังไม่พร้อมโอกาสที่คุณจะพลาดพลั้งย่อมมีสูงมาก ในขั้นนี้จะกล่าวถึงรายการที่คุณควรจะตรวจสอบและเก็บเอาไว้ใช้สำหรับวันข้างหน้า

เทคนิคที่ 1 การที่จะทำธุรกิจใดๆนั้นเราจำเป็นต้องมี หุ้นส่วน

เราทุกคนเคยมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับคนอื่นมาแล้วไม่มากก็น้อย บางครั้งมันก็เป็นประสบการณ์ที่ดี แต่บางครั้งมันก็เป็นประสบการณ์ไม่ดีนัก ถ้าอย่างนั้นเราควรจะหาทางทดสอบดูว่าเราควรทำธุรกิจด้วยตนเองหรือ ร่วมมือกับหุ้นส่วน การมีหุ้นส่วนเป็นเรื่องที่ยากแก่การประเมินเพราะมันเป็นเรื่องของอารมณ์และความคิดเห็นส่วนบุคคล วิธีที่ใช้ในการประเมินหุ้นส่วนคือ การพิจารณาถึงจุดแกร่งและจุดอ่อนของการมีหุ้นส่วน การตัดสินใจว่าจะมีหุ้นส่วนหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การมีหุ้นส่วนที่ดีย่อมหมายถึง ความมีประสิทธิผล และเป็นการช่วยเสริมสร้างกิจการอย่างมหาศาล แต่การได้หุ้นส่วนที่ไม่มีความสามารถ ย่อมหมายถึง ความหายนะอย่างใหญ่หลวง แม้ว่าหุ้นส่วนนั้นจะเป็นคนที่ซื่อสัตย์และหวังดีก็ตาม

เคล็ดลับคือ มีอยู่ 2 วิธี ข้อแรกคือ หุ้นส่วนกับตัวเราต้องมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ ประสบการณ์และพื้นฐานที่คล้ายกัน การมีหุ้นส่วนธุรกิจก็ไม่แตกต่างจากการมีคู่สมรส คือ ในการคัดเลือกคู่สมรสที่ดีก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้คัดเลือกหุ้นส่วนที่ดีได้เช่นกัน กล่าวคือ การมีหุ้นส่วนธุรกิจก็ทำนองเดียวกัน หุ้นส่วนที่มีพื้นฐานเหมือนกันก็เปรียบเสมือนหลักยึดให้แต่ละฝ่ายอยู่ด้วยกันได้ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเผชิญกับภาวะที่ดีหรือเลวก็ตาม ยามดี ทุกฝ่ายก็มีความสุขและแบ่งกำไรกัน ยามทุกข์ ทุกฝ่ายก็ต้องร่วมรัดเข็มขัด การมีพื้นฐานเหมือนกันย่อมทำให้ทุกฝ่ายปรับตัวร่วมกันได้ง่ายขึ้น

ส่วนอีกแง่หนึ่งที่ว่า หุ้นส่วนจำเป็นต้องมีอะไรที่แตกต่างกันอย่างมากนั้น หมายถึง หุ้นส่วนแต่ละคนควรจะมีประสบการณ์และความสามารถทางธุรกิจที่เสริมกันได้

ข้อดีของการมีหุ้นส่วน
  1. สองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว โอกาสที่จะตัดสินใจผิดน่าจะมีน้อยกว่าการตัดสินใจด้วยตัวคนเดียว
  2. ทำให้หุ้นส่วนแต่ละคนมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบงานตลอดเวลาเหมือนกับกิจการที่มีเจ้าของคนเดียว
  3. ได้ประสบการณ์และความสามารถในแขนงต่างๆมาเสริมกัน
  4. มีคนเข้ามาร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย มีคนที่มีความกระตือรือร้นมาร่วมงานด้วย เพราะอย่างน้อยคนเหล่านี้ก็มีหุ้นอยู่
ข้อเสียของการมีหุ้นส่วน
  1. ผลตอบแทนต้องแบ่งให้กับหุ้นส่วนทุกคน
  2. ไม่มีอำนาจเด็ดขาด
  3. ได้ชื่อเสียงร่วมกัน
  4. การตัดสินใจที่ผิดๆของหุ้นส่วนย่อมทำให้หุ้นส่วนที่เหลือได้รับความเดือดร้อนด้วย
  5. มีโอกาสแตกแยกเหมือนกัน

เทคนิคที่ 2 คือ การเรียนรู้จากการกระทำ

การเรียนรู้ธุรกิจก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติไม่ใช่เรื่องยาก คุณเพียงแค่สมัครเป็นลูกจ้างของคนที่อยู่ในวงการธุรกิจนั้นๆ และถ้าเป็นไปได้คุณควรทดลองทำงานกับนายจ้างให้มากรายที่สุดเพื่อจะหาประสบการณ์ได้กว้างขวาง จากนั้นใบเบิกทางแห่งความสำเร็จก็อยู่ในเงื้อมมือของคุณ คุณก็สามารถทำธุรกิจส่วนตัวได้อย่างเต็มภาคภูมิเสียที ดังนั้นคุณจงอย่าคิดว่าตนเองเป็นยอดนักบริหาร เพราะมันอาจทำให้คุณเลิกเรียนรู้จาการกระทำได้ ถ้าหากคุณเป็นนักบริหารมืออาชีพ คุณก็คงจะไม่สนใจทำธุรกิจของตนเองเป็นแน่ แถมยังอาจมีบรรดานายธนาคารนับสิบมาไหว้วานให้ช่วยไปบริหารกิจการที่มีปัญหาของลูกค้า ดั้งนั้น สำหรับคนเดินดินปกติอย่างเราๆนั้นขอให้ใช้หลัก เรียนรู้จากการกระทำจะดีกว่า

เทคนิคที่ 3 จะกล่าวในเรื่องของ คุณภาพเป็นเลิศ

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือ ธุรกิจที่มีหลักคุณภาพเป็นเลิศ หรือเปรียบตัวคุณภาพเป็นเลิศคือตัวยา และเป็นยาที่มีความขมมาก และยากที่จะกลืนมันเข้าไปได้ แต่ถ้าคุณกลืนกินมันได้สำเร็จแล้ว รับรองว่าสรรพคุณของมันจะทำให้คุณก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างแน่นอน ดังนั้นถ้าหากคุณต้องการผลิตสินค้าเป็นเลิศแล้ว คุณจะต้องกล้าซื้อวัตถุดิบชั้นยอดด้วย และวัตถุดิบชั้นยอดก็มักจะเป็นวัตถุดิบที่แพงที่สุดด้วย สรุปแล้วนโยบายการซื้อวัตถุดิบควรออกมาในรูปของการหาซื้อวัตถุดิบที่ราคาสูงสุดไม่ใช่ราคาต่ำ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก คุณฟิลิปได้ตัดสินใจประยุกต์แนวความคิดนี้ก่อนเปิดร้านโดนัทยัมยัมสาขาแรก ก่อนถึงวันเปิดสาขา คุณฟิลิป ได้วิ่งติดต่อพ่อค้าขายส่งอย่างใกล้ชิด และฟิลิปคิดว่ากาแฟ คือเครื่องดื่มหลักสำหรับร้านโดนัท ดังนั้นจึงได้มีการคัดเลือกพ่อค้าขายกาแฟที่ดีที่สุดในเมืองไว้ พ่อค้ากาแฟรายนี้ขายกาแฟชั้นนำหลายชนิด สุดท้าย ฟิลิปก็เลือกกาแฟมอคค่าจาว่า ซึ่งมีบริการเฉพาะในภัตตาคารชั้นนำเท่านั้น สาขาแห่งแรกของร้านโดนัทยัมยัมตั้งอยู่ในย่านคนจนของเมืองลอสแอนเจลิส มีหลายคนคิดว่าเขาเป็นบ้าที่เอาร้านไปตั้งในย่านของคนจน เนื่องจากคิดว่าคนจนคงไม่มีวันบอกข้อแตกต่างระหว่างกาแฟชั้นดีอย่างมอคค่าจาว่าแตกต่างจากกาแฟทั่วไป แต่ก็เป็นที่น่าแปลกเมื่อร้านโดนัทยัมยัมสามารถขายกาแฟได้ถึง 3,000 แก้วต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอ สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่เคยวิจารณ์ไว้มาก และนี่คือหลักของ คุณภาพเป็นเลิศ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ร้านโดนัทขายกาแฟได้อย่างเทน้ำเทท่า ดังนั้นไม่ว่าคุณจะลงมือทำธุรกิจอันใดแล้วก็ตามต้องยึดหลักของคุณภาพเป็นเลิศ จึงจะส่งผลให้ธุรกิจของคุณเป็นที่นิยมและมีลูกค้ามากมายที่อยากเข้ามาใช้บริการกับร้านของคุณเอง แต่ถ้าเมื่อใดขาดคำว่าคุณภาพเป็นเลิศแล้วธุรกิจของคุณก็จะไม่เป็นที่นิยมหรืออาจจะไม่ประสบผลสำเร็จได้

เทคนิคที่ 4 คือไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจใดๆก็ตามคุณควรใช้หลักการที่ว่า ทดลองทำดูก่อน

เพื่อจะได้มีความมั่นใจมากขึ้นว่าธุรกิจนั้นจะสามารถประสบผลสำเร็จได้ตามที่คุณต้องการให้เป็นได้ ในการทดลองทำธุรกิจนั้นดูก่อนจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจให้ใกล้ศูนย์ด้วย แต่การทำธุรกิจก่อนนั้นพูดง่ายแต่ทำได้ยาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะมองเห็นด้วยกับเทคนิคข้างต้นนี้ แต่พอเอาเข้าจริงก็ทำไม่ได้ เพราะแรงกระตุ้นที่ยากเห็นผลเร็วๆนั้นเอง การทดลองทำดูก่อนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอุโมงค์ลมสำหรับเครื่องบิน โรงงานปิโตรเคมี ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเริ่มต้นจากสิ่งจำลองกันทั้งสิน

หลักของการทดลองทำดูก่อน สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้เช่นเดียวกันไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจใดก็ตาม ดังนี้
  1. ถ้าคุณวางแผนที่จะสร้างเครือข่ายธุรกิจ จงอย่าเริ่มสร้างสาขาที่สองจนกว่าทุกอย่างในสาขาแรกจะไปได้อย่าง ราบรื่นและทำกำไรเสียก่อน
  2. ถ้าคุณวางแผนที่จะขายผลิตภัณฑ์ จงทดสอบอุปสงค์ของตลาดดูก่นร่วมทั้งประมาณการว่าจะมีคนสนใจขนาดไหน
  3. ถ้าคุณวางแผนจะผลิตสินค้า จงเขียนรายละเอียดการผลิตคำนวณต้นทุน และวางแผนการตลาดให้ละเอียดก่อนที่คุณจะเริ่มผลิต
  4. ถ้าคุณวางแผนที่จะขายบริการ จงอย่าไปสัญญากับลูกค้าเป็นระยะเวลานานเกินไป เว้นเสียแต่ว่าคุณจะมั่นใจว่าธุรกิจนี้จะทำกำไรจริง
ศัตรูตัวร้าย ของการทดลองทำธุรกิจก่อนมีอยู่ 7 ตัว
  1. ความมั่นใจในตนเอง
  2. ความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  3. ความใจร้อน
  4. เงิน
  5. การพูดง่ายกว่าการกระทำ
  6. ผลงานที่เคยประสบผลสำเร็จมาก่อน คือผลงานในอดีตที่บุคคลนั้นเคยประสบผลสำเร็จในสาขาอื่นมาก่อน แต่ไม่อาจนำมาประเมินได้ว่า เขาเขาจะประสบความสำเร็จได้ในธุรกิจสาขาใหม่เสมอไป
  7. การมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ซ้ำแบบใคร

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสนใจในเรื่องที่กล่าวมานี้ด้วยเสมอ จึงจะทำให้ธุรกิจนี้สามารถประสบความสำเร็จที่งดงาม

เทคนิคที่ 5 อย่าลืมเข้าโรงเรียนบริหารธุรกิจด้วย

และนี้คือขั้นตอนที่ควรจะเป็นไปตามลำดับสำหรับผู้ประกอบการ

  1. การเรียนรู้พื้นฐานการบริหารธุรกิจ ยิ่งคุณมีโอกาสศึกษาจากมหาวิทยาลัยมากเท่าใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปริญญาโท โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการทำงานก็มีมากขึ้นเพียงนั้น วิชาการอบรมในโรงเรียนบริหารธุรกิจเหล่านี้ต่างอาศัยกรณีศึกษาหรือทฤษฎีที่ผ่านการสังเกตจากผู้บริหารต่างๆมาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้คุณสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้
  2. การตัดสินใจเลือกธุรกิจที่จะทำ ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันในการตัดสินใจทำธุรกิจใดๆก็ตาม ดังนั้นคุณก็น่าจะทราบแล้วว่าคุณต้องการทำธุรกิจอะไร ซึ่งธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่คุณจะต้องยึดไว้ตลอดชีวิต แต่อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยต่อไป
  3. รับจ้างทำงานกับผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจที่คุณสนใจ การทำงานในขั้นนี้มีความสำคัญไม่ด้อยกว่าการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยเท่าใดนัก เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ
    1. เป็นการอบรมให้คุณรู้งานอย่างลึกซึ้งขึ้น และรู้ถึงแก่นของการประกอบอาชีพ
    2. ทำให้คุณประหยัดเงิน และเก็บไว้ทำทุกตอนคุณเริ่มกิจการของตนเองบางครั้ง คุณอาจทดลองทำงานกับบริษัทในวงการเดียวกัน สักสองสามแห่งก่อนเพื่อจะได้รู้ธุรกิจนั้นให้ลึกซึ้งขึ้น
  4. การลงมือทำ ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการคุณคือ หัวเรือใหญ่ เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณต้องการจะเป็นหัวเรือใหญ่อย่างตลอดรอดฝั่ง คุณจะต้องลงมือทำด้วยตนเองอย่างมืออาชีพ และการที่คุณจะเป็นมืออาชีพได้ คุณต้องใช้ความสามารถจากประสบการณ์และวิชาการที่ได้ศึกษามาอย่างเต็มที่

เทคนิคที่ 6 ซื้อ / ขายแฟรนไชส์ดีหรือเปล่า

แฟรนไชส์ (franchise) คือก้าวสำคัญของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยใช้วิธีการขายแฟรนไชส์ เพราะเครือข่ายหลายแห่งที่ใช้แฟรนไชส์ก็ยังคงประสบความสำเร็จอย่างที่เห็นกันอยู่กลุ่มธุรกิจเหล่านี้จะมีคุณสมบัติคล้ายกันคือ

  1. เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องเป็นบริษัทใหญ่และมั่นคงมา
  2. ผู้ขอซื้อแฟรนไชส์ควรมีมากราย และแตละรายมีกำไรดี
  3. ผู้ขดซื้อแฟรนไชส์จะต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในการทำธุรกิจนี้

ตัวอย่างของแฟรนไชส์ ที่ประสบความสำเร็จก็มี เช่น ตัวแทนขายรถยนต์ ตัวแทนบรรจุขวดน้ำอัดลมโคคา โคล่า เป็นต้น แต่ต่อไปนี้คือปัญหาต่างๆ ที่คุณจะเผชิญ ถ้าหากคุณมีแผนที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์

  1. คุณจะต้องเผชิญกับผู้ขอซื้อแฟรนไชส์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์
  2. คุณจะไม่มีอำนาจตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
  3. ถ้าหากกิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำกำไรอย่างดี คุณจะไม่มีทางได้ผลตอบแทนที่คุมค่ากับความเสี่ยงและการลงทุนของคุณ
  4. ถ้ากิจการของผู้ขอซื้อแฟรนไชส์ย่ำแย่ คุณมีแต่จะเสียเงิน และอาจต้องขึ้นโรงขึ้นศาล
  5. คุณจะต้องเผชิญกับเจ้าหน้าที่สรรพากรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะมาคอยดูแลพฤติกรรมการขยายธุรกิจและรายได้ของคุณ
  6. นายธนาคาร ซัพพลายเออร์ และเจ้าของที่ดินอาจเกิดความสงสัยในเคดิตของคุณ ถ้ามีปัญหา
  7. คุณจะไม่มีวันผลิตสินค้าหรือบริการผ่านร้านของคุณเอง หากแต่ต้องผ่านผู้ขอซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการค้าขาย
  8. คุณจะพบว่าในที่สุดคุณอาจจะเลือกทำเลที่คุณไม่พอใจเท่าใดนัก

แต่ถ้าจะมองให้ลึกซึ้ง เราจะเห็นว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายรายก็ได้ขาดทุนมหาศาลและสูญเสียเงินทองที่สะสมมาตลอดชีวิตเหมือนกัน ทั้งที่พวกเขาอาจอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าของที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลเสียด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นถ้าหากต้องการให้กิจการไปได้ดีแล้ว พวกเขาจะต้องปฏิบัติตามกรอบระเบียบของเจ้าของแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด โดยทั่วไปแล้วกิจการแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จคือ กิการที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกค่าธรรมเนียมสูงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำงานหนักเพื่อให้กิจการไปรอดได้

เทคนิคที่ 7 เก็บคะแนนผลงาน

นักธุรกิจมือใหม่อาจจะมีพื้นฐานทางบัญชีไม่แน่นพอ แต่ขอให้ตระนักไว้เสมอว่าการทำบัญชี คือ เครื่องมือที่ช่วยในการควบคุมธุรกิจ เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้มีอุปสรรคในอนาคต ของให้คุณเรียนรู้บัญชีจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเสียก่อน การเรียนรู้บัญชี คือ สิ่งที่จำเป็นก่อนที่คุณจะจับธุรกิจด้วยตนเอง ไม่มีทางเลือกอื่นๆ

การเรียนรู้บัญชีช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์สภาพธุรกิจด้วยตนเองได้เหมือนกับแพทย์ใช้เครื่องวัดชีพจรและอุปกรณ์อื่นๆ ในการวิเคราะห์หาสมมุติฐานของโรค ในทางธุรกิจ คุณก็มีงบการเงินทั้งหลายเป็นตัวระบุสุขภาพทางธุรกิจ และคุณจะต้องสวมบทเป็นแพทย์ในการบำรุงรักษาสุขภาพธุรกิจนั้น ซึ่งแผนการเก็บคะแนน มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้คุณเรียนบัญชีอย่างเป็นทางการจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก่อน ถ้าหากคุณยังไมมีพื้นฐานทางบัญชีที่แน่นแล้ว คุณก็อาจทำธุรกิจอย่างปิดหูปิดตา หรืออาจขยายธุรกิจเกินตัวได้ ขั้นที่ 2 จงเรียกผู้ตรวจสอบบัญชีก่อนที่คุณจะเริ่มทำธุรกิจ ผู้ตรวจสอบบัญชีจะช่วยคุณจัดตั้งระบบบัญชีตอนแรกเริ่ม อีกทั้งจะเป็นที่ปรึกษาทางบัญชีของคุณไปในตัว ขั้นที่ 3 ในระยะแรกเริ่มของธุรกิจ การที่คุณทำบัญชีเองจะช่วยให้คุณคุ้นเคยกับระบบบัญชีอย่างใกล้ชิด คุณจะเรียนรู้บัญชีได้อย่างลึกซึ้งอีกรอบหนึ่งจากประสบการณ์ลงมือทำเอง อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างนักบัญชีด้วย จงทำบัญชีด้วยตนเอง อย่างน้อยในระยะเริ่มต้น จงจัดเตรียมงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบการเงินอื่นๆ ทุกเดือน ขั้นที่ 4 หลังจากที่คุณเข้าใจระบบบัญชีของกิจการอย่างทะลุปรุโปร่งแล้วเมื่อนั้นแหละที่คุณสามารถจ้างผู้อื่นให้มาทำบัญชีเก็บตัวเลขแทนคุณได้

นอกจากนี้ ขอให้คุณเริ่มต้นทำบัญชีด้วยมือ อย่าเพิ่งด่วนใช้คอมพิวเตอร์ขอให้คุณใช้คอมพิวเตอร์ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลมาสนับสนุนเพียงพอ เช่น เมื่อระบบเงินเดือนลูกจ้างมีความซับซ้อนมากขึ้น ก็ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนนี้เข้าคอมพิวเตอร์ แต่อย่าด่วนนำระบบบัญชีทั้งหมดเข้าคอมพิวเตอร์ทันทีโดยขาดเหตุผลสนับสนุนที่เพียงพอ

สรุปแล้ว ความรู้ความเข้าใจทางบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่คุณจะทำธุรกิจ อย่าลืมว่าคุณต้องการจะเป็นผู้ชนะในการทำธุรกิจ ว่าแต่ว่าคุณจะเป็นผู้ชนะได้อย่างไร ถ้าหากคุณยังไม่รู้เทคนิคการเก็บคะแนน

เทคนิคที่ 8 เรื่องของเงินสดหมุนเวียน

เงินสด คือ หัวใจของธุรกิจ เช่นเดียวกับที่น้ำมันคือหัวใจของเฮลิคอปเตอร์ ธุรกิจใดก็ตามที่มีประวัติดีงาม ดำเนินการโดยเจ้าของกิจการที่มีประสบการณ์สูง ก็อาจถึงซึ่งความหายนะได้ทันทีที่ไม่มีเงินสดจ่ายเช็คเจ้าหนี้ เพราะฉะนั้นการบริหารเงินสดจึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญแห่งการอยู่รอดของธุรกิจ ผู้ที่ไร้ความสามารถในการบริหารเงินสด คือ ผู้ที่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจในระยะยาว การบริหารเงินสดคือการบริหารเชื้อเพลิงในธุรกิจ เนื้อหาในบทนี้จะสอนให้คุณทราบวิธีการบริหารเงินสด เพราะถ้าคุณทำธุรกิจโดยขาดธุรกิจโดยขาดความเข้าใจในเรื่องการบริหารเงินสดแล้ว โอกาสที่คุณจะประสบกับหายนะเช่นเดียวกับเฮลิคอปเตอร์ลำนั้นก็มีสงมาก การบริหารเงินสดเปรียบเสมือนกับออกซิเจนที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ เราจะมีชีวิตไม่ได้ถ้าหากขาดออกซิเจน ทำนองเดียวกันกับธุรกิจจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดเงินสด ธุรกิจเองก็ต้องมีช่องหายใจเช่นกัน ซึ่งเราเรียกช่องหายใจนี้ว่า สภาพคล่อง สภาพคล่องหมายถึง การที่ธุรกิจมีเงินอยู่มากพอที่จะจ่ายหนี้สินต่างๆในวันข้างหน้าได้ การควบคุมการหมุนเวียนของเงินสดช่วยให้คุณสามารถวัดสภาพคล่องในอนาคตได้ในเวลาปัจจุบัน การควบคุมและการพยากรณ์สภาพคล่องจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนประโยชน์ของการวางแผนเงินสดหมุนเวียนมีความสำคัญมาก เพราะมันคือหัวใจของการสื่อสารระหว่างนายธนาคารและตัวคุณแผนการนี้จะทำให้คุณเป็นผู้ที่สนใจบริหารสภาพคล่อง ร่วมทั้งเอาใจใส่ต่อเสถียรภาพของธุรกิจ นายธนาคารย่อมสามารถใช้ประโยชน์จากแผนพยากรณ์เงินสดหมุนเวียนเพื่อพิจารณาปล่อยเงินกู้ เช่นเดียวกับที่คุณต้องการแผนนี้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ นอกจากนี้ แผนเงินสดหมุนเวียนจะแสดงให้นายธนาคารเห็นว่าคุณมีแผนการจ่ายเงินกู้คืนอย่างไรด้วย

ดังนั้น นักธุรกิจที่ชาญฉลาดจะใช้แผนควบคุมเงินสดหมุนเวียนเสมอ เพื่อจะได้ทราบว่าเขาต้องการกู้เงินเมื่อใด เท่าไร ภายใต้สภาพคล่องอย่างไร และย่อมหลีกเลี่ยงจากปัญหาการเงินที่คาดไม่ถึงก็ได้

เทคนิคที่ 9 เรียนรู้จากผู้อื่น

คุณจะเห็นได้ว่าเทศมนตรีคนแรกแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ในขณะที่เทศมนตรีคนหลังแก้ปัญหาได้เก่งมาก เนื้อหาในบทนี้จะพูดถึงคุณลักษณะของนักธุรกิจที่เก่งและไม่เก่งเปรียบเทียบกัน อย่าลืมว่าเราทุกคนต่างเรียนรู้จากอดีต ดังนั้นการที่เรามีโอกาสทราบถึงคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่เก่งและไม่เก่ง ย่อมช่วยให้เราเรียนแบบคนเก่งและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เก่งได้สรุปแล้ว เราควรเรียนรู้จากผู้อื่นยกตัวอย่างเช่น เวอร์นอนคือผู้อยู่เบื้องหลังแห่งความยิ่งใหญ่ของบริษัทเคล็ดลับแห่งความสำเร็จของเขาคือ

  1. เวอร์นอนมีความเข้าใจในธุรกิจที่ทำอยู่อย่างแท้จริง เขาได้เริ่มกิจการแห่งแรกในปี ค.ศ.1937 ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่ธรรมดา ๆ ไม่มีใครที่จะหลอกลวงหรือตบตาเขาได้ เพราะเขาได้จับธุรกิจกับมือมาโดยตลอด
  2. เวอร์นอนมีความสามารถอย่างยิ่งในการคิดวางแผนล่วงหน้าเขามักจะคิดการใหญ่ คิดอย่างมีทางออก และไม่ทำอะไรผิดพลาด เขาสามารถมองเห็นถึงการขยายกิจการจากสาขาเดียวเป็นเครือข่ายใหญ่โตจนประสบความสำเร็จในทุกชนิดที่เขาจับเพียงแต่ว่า เขาเลือกจับธุรกิจโดนัทเท่านั้นเอง
  3. เวอร์นอนไม่เคยหันเหไปจับธุรกิจสาขาอื่น เขารู้เรื่องโดนัทดีและก็จับแต่ธุรกิจนี้เพียงอย่างเดียวเขาต้องใช้เวลาคิดอยู่หลายปี กว่าจะตกลงใจยอมขายน้ำอัดลมในร้านโดนัทหลังจากที่เค้าถึงแก่กรรม กิจการคริสปี้ครีมได้ถูกขายต่อไปให้บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง และก็ปรากฎว่าร้านอาหารที่ขายเซนด์วิชควบคู่กับโดนัท
  4. เวอร์นอนเป็นผู้มีฝีมือในการร่วมธุรกิจแนวดิ่งเขาคือผู้ยิ่งใหญ่ในวงการโดนัทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจำหน่ายสูตรและส่วนผสมโดนัท ออกแบบและขายอุปกรณ์การผลิต ร้านขายปลีก ร้านขายส่ง ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโดนัท
  5. เวอร์นอนทำงานหนักมากจนบางครั้งหลายคนคิดว่าเค้าเสียสติและไม่สนใจเรื่องอื่น
  6. เวอร์นอนเป็นนักการมือฉมัง เป็นยอดนักกู้ที่มีเครดิตดีมีผลงานหน้าประทับใจมีกิจการที่ทำกำไรสูง เขามีความสามารถในการปั้นธุรกิจให้เติบโตได้อย่างหน้าประทับใจด้วยมือของเขาเอง

สรุปแล้วเวอร์นอนเป็นยอดมนุษย์ที่มีจรรยาบรรณรักงานและเชี่ยวชาญในการวางแผน

คุณสมบัติที่ดีและไม่ดีของนักธุรกิจ

คุณสมบัติที่ดีคือ คุณสมบัติของผู้สำเร็จ ส่วนคุณสมบัติที่ไม่ดีคือ คุณสมบัติของผู้ล้มเหลว

คุณสมบัติที่ดี
  1. เป้าหมายที่ชัดเจน
  2. เอาใจใส่ในรายละเอียดของงาน
  3. จูงใจพนักงานที่ดีเอาไว้
  4. ขายคุณภาพไม่ใช่ขายถูก
  5. ทำงานหนัก
  6. ใจเย็นและรอบคอบ
  7. มีจรรยาบรรณ
  8. รู้จักแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้อง
  9. เข้าใจธุรกิจและมีประสบการณ์สูง
  10. วางแผนล่วงหน้าเสมอ
  11. ทำธุรกิจเดียวที่รู้จริง
  12. ขยายธุรกิจในแนวดิ่ง
  13. เป็นนักการมือฉมัง
  14. คำนวณความเสี่ยงโดยรอบคอบ
  15. เน้นคุณภาพโดยไม่มีการประนีประนอม
  16. รอบรู้ในงานที่ทำอย่างดี
  17. รักในตัวผลิตภัณฑ์
  18. รักงานที่ทำและไม่ใจร้อนในการทำให้ได้ตามเป้าหมาย
คุณสมบัติที่ไม่ดี
  1. ใจร้อนต้องการขยายตัวโดยเร็ว
  2. มองโลกในแง่ดีเกินไป
  3. ไม่สนใจคุณภาพหรือบริการที่เสนอ
  4. ไม่เรียนรู้จากความผิดพลาด
  5. สนใจตนเองมากกว่าจนใจตลาด
  6. พนันทุกอย่างที่มีอยู่กับกิจการที่มีความเสี่ยงสูง
  7. ไม่ทดสอบตลาดก่อน
  8. ไม่รอบคอบพอในการตัดสินใจความสำคัญ
  9. เชื่อมั่นในตนเองเกินไป
  10. เริ่มต้นทำธุรกิจโดยขาดประสบการณ์
  11. ทำธุรกิจมากกว่า 1 อย่าง
  12. ไม่มีความสุขกับงานที่ทำ

เทคนิคที่ 10 เรื่องที่น่ากลัว

ความผิดพลาดขนาดใหญ่ที่ทำให้ทุกอย่างเลวร้ายเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะฉะนั้น ทางที่ดีคุณควรคำนวณให้รอบคอบทุกครั้งก่อนจะจับธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ก็เหมือนกับการที่คุณเดินเข้าบ่อนพนัน คุณควรบอกกับตัวเองเสียก่อนว่าคุณมีงบที่เสี่ยงได้สูงสุดเท่าใด สรุปแล้ว จุดที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำธุรกิจถึงแม้คุณไม่ควรขจัดความเสี่ยงในวงไพ่ออกไปได้ แต่คุณย่อมสามารถขจัดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้ ถ้าหากคุณเป็นผู้ประกอบการที่แท้จริงความเสี่ยงที่สูงสุดของนักธุรกิจคือ การกระโจนเข้าไปจับธุรกิจทันทีโดยขาดประสบการณ์ สิ่งที่เค้าควรทำคือ การสมัครเป็นลูกจ้างของคนอื่นก่อนเพราะฉะนั้นคุณเองก็สามารถขจัดความเสี่ยงจุดนี้ได้โดยการเรียนรู้ธุรกิจก่อนลงมือทำ เทคนิคในการช่วยที่จะทำให้คุณเจอเรื่องที่น่ากลัว คือ จงอย่าได้พยายามทำธุรกิจที่มีองค์ประกอบ 2 อย่างพร้อมกัน คือ เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และ เงินสะสมทั้งของคุณแขวนอยู่บนความเสี่ยงนั้น

เทคนิคที่ 11 ยึดหัวหาด

ความเสี่ยงสูงสุดในการทำธุรกิจใด ๆ คือการเริ่มต้น หลังจากนั้นคุณก็ทำตามแผนที่วางไว้ การเริ่มต้นทำธุรกิจก็ไม่ต่างกับการยึดหัวหาด ซึ่งทุกอย่างก็แขวนอยู่กับความสำเร็จเหมือนกับที่นายพลไอเซนเฮาว์ได้พยายามยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีสำเร็จมาแล้ว แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถยึดหัวหาดเอาไว้ได้ อนาคตของคุณก็เริ่มมีความไม่แน่นอนและธุรกิจของคุณก็อาจอับเฉาได้

หลังจากที่คุณยึดหัวหาดธุรกิจได้แล้ว คุณค่อยขยับขยายพิจารณาปัจจัยความสำเร็จในการประกอบธุรกิจทีละเรื่องไม่ยากนัก ลองมาพิจารณาถึงการยกพลขึ้นบกของนายพลไอเซนเฮาว์กันอีกซักครั้ง โดยนึกภาพว่าตัวเองคือนายพลไอเซนเฮาว์ในตอนนั้นจากนั้นให้ลองถามตัวเองว่าอะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จ ถ้าลองคิดให้ดีแล้วคุณจะพบว่านายพลไอเซนเฮาว์มีความพร้อมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านแผนงาน กำลังและความสามารถ สิ่งเหล่านี้คือความแกร่งที่ทำให้เค้าพร้อมก่อนการโจมตี

สรุปแล้วคุณจงเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ก่อนจะจับธุรกิจนั้นๆ หมายถึงการสนับสนุนจากครอบครัวด้วย ขอให้คุณเริ่มต้นจากกิจการเล็กๆ และควบคุมกิจการนั้นให้อยู่ และขยายกิจการโดยอาศัยกำไรที่ได้จงอย่าทำอะไรที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงหรือสัญชาตญาณของคุณเอง ขอให้เปรียบเทียบและประเมินผลงานและอย่าลืมใช้รายการวางแผนโจมตีอย่างนายพลไอเซนเฮาว์ด้วย

ขั้นตอนที่ 4 ลงมือทำ

ขั้นตอนนี้จะพูดถึงการลงมือปฏิบัติ หลังจากที่คุณได้ตกลงใจทำธุรกิจส่วนตัว อีกทั้งเลือกชนิดธุรกิจ ทำเลที่ตั้งและวางแผนจนพร้อมเพรียงแล้ว คราวนี้ก็จะเป็นการแนะนำในด้านปฏิบัติการ ซึ่งคุณจะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากในห้องเรียนใดมาก่อน

เทคนิคแรกคือ ทำเล ทำเล และทำเล

ทำเลคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดของที่ดิน สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำในขั้นตอนปฏิบัติคือการตัดสินใจเรื่องทำเลธุรกิจ ทำเลแห่งแรกที่คุณเลือกนี้จะมีผลอย่างมากต่อโอกาสความสำเร็จของคุณ ดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อหลายเดือนก่อน คุณฟิลิป ฮอลแลนด์ ได้มีโอกาสรู้จักกับสุภาพสตรีผู้หนึ่งที่มีแผนจะเปิดร้านคุกกี้บริเวณทางเดินเท้าของถนนเวนทูร่า เมืองสตูดิโอของรัฐแคริฟอร์เนีย ซึ่งฟิลิปคิดว่าธุรกิจนี้มันน่าจะล้มเหลว เพราะทำเลดังกล่าวมีจุดอ่อนสำหรับร้านคุกกี้ถึง 3 ประการคือ

  1. ไม่มีที่จอดรถ
  2. ไม่ค่อยมีผู้คนเดินผ่านไปมา
  3. ไม่มีธุรกิจอะไรในย่านนี้ที่จะดึงดูดให้ลูกค้าเดินซื้อของ

หลังจากนั้น 6 เดือน เธอก็ต้องเลิกกิจการนั้นไปโดยปริยาย เพียงเพราะสิ่งเดียวคือเรื่องของทำเลและที่ตั้งร้านนั้นไม่เหมาะสมในการทำธุรกิจตรงบริเวณนั้นตั้งแต่แรก

สิ่งที่ควรระวังในการเลือกทำเลคือ

  1. การใช้ค่าเช่าเป็นเรื่องชี้ขาดในการเลือกทำเล ซึ่งคนเรามักนิยมเช่าที่ราคาถูกหรือประหยัดที่สุด จริงอยู่ค่าเช่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง แต่ขอให้คุณพิจารณาค่าเช่าแยกออกจากทำเลให้แน่ชัด
  2. การตัดสินใจเลือกทำเลควรใช้ลางสังหรณ์หรือความพอใจครั้งแรกเป็นหลัก เพียงแต่เห็นทำเลคุณก็ชอบและตัดสินใจเลือกเอาไว้ทันที คุณควรใช้วิจารญาณตัดสินให้ละเอียดรอบคอบ แทนที่จะเชื่อสิ่งที่อุบัติเพียงชั่ววูบในใจของคุณ
  3. การปล่อยให้คนอื่นเลือกทำแทน
  4. การลงทุนลงแรงเพิ่มลงในทำเลที่ไม่ดีนัก ข้อนี้นับว่าเป็นความผิดซ้ำสอง

ต่อไปนี้คือเป็นเทคนิคในการตรวจสอบทำเลว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยการตอบคำถาม 3 ข้อนี้ และถ้าคำตอบของคุณคือ ใช่ 100% ทุกข้อแล้ว ทำเลข้อที่ 1 ทำเลนั้นอยู่ในย่านที่คุณต้องการหรือไม่? พิจารณาทั้งด้านส่วนตัวและด้านธุรกิจพร้อมกัน ในแง่ส่วนตัวนั้นคุณควรตั้งต้นในย่านที่คุณอยากจะอยู่ สำหรับแง่ธุรกิจนี้คุณก็ต้องดูว่าลูกค้ามีมากน้อยแค่ไหน สภาพการแข่งขันเป็นอย่างไร ฯลฯ เพราะทำเลบางแห่งย่อมดีกว่าแห่งที่เหลือ คุณจะไม่เคยเห็นร้านโดนัทยัมยัมไปตั้งอยู่ในเมืองชัน รัฐแคริฟอร์เนีย ซึ่งเป็นเมืองคนแก่กลางทะเลทรายและเพราะคนแก่ไม่นิยมรับประทานโดนัทมากเท่าคนหนุ่มสาวหรือเด็ก ดังนั้นจงเลือกทำเลที่ดีที่สุดตำกำลังทรัพย์ของคุณน่าจะดีกว่า และคุณไม่ควรเริ่มธุรกิจจากทำเลที่ไม่ดี แต่จงเริ่มจากทำเลที่ดีที่สุดที่คุณหานั้นและสามารถจ่ายได้

เทคนิคที่ 2 การเช่าสถานที่ครั้งแรก

ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการเช่าสถานที่ขนาด 1,000 ตารางเมตร ด้วยอัตรา 1,000 เหรียญ / เดือน ถ้าเกิดเจ้าของสถานที่สามารถเกลี้ยกล่อมให้คุณจ่ายในอัตรา 1,300 เหรียญ / เดือน นั่นก็หมายความว่าเจ้าของสถานที่ได้เงินมากขึ้น 300 เหรียญ / เดือน หรือ 3,600 เหรียญ / ปี คือคิดเป็น 10 % ของต้นทุนโครงการที่คุณได้ตั้งใจไว้แต่แรกนั่นก็หมายความว่าต้นทุนโครงการนั้นสูงขึ้นถึง 3,600 เหรียญ อย่างไรก็ตามเจ้าของสถานที่ก็อาจไม่มีโอกาสได้รับเงินค่าเช่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นด้วย

การเซ็นสัญญาเช่าสถานที่แจถือได้ว่าเป็นข้อผูกมัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนักธุรกิจเริ่มต้นอย่างคุณ เพราะจำนวนเงินที่ผูกมัดให้คุณต้องจ่าย มีจำนวนมากมหาศาลเช่นถ้าคุณเซ็นสัญญาเช่าสถานที่ด้วยอัตรา 1,000 เหรียญ / เดือน เป็นเวลา 5 ปี แล้ว ก็หมายความว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นคุณมีข้อผูกพันที่ต้องจ่ายค่าเช่ารวมเป็นเงิน 1,000 * 12 * 5 = 60,000 เหรียญ ต่อไปนี้เรามาดูรายการสำคัญที่คุณจะต้องคำนึงในการเช่าสถานที่ดังนี้

  1. ค่าเช่าแบบเปอร์เซ็นต์
  2. การปรับค่าเช่า
  3. ป้าย
  4. เงื่อนไขอื่นๆ
  5. การให้เช่าต่อ
  6. ที่จอดรถ
  7. การปรับปรุงสถานที่
  8. การใช้บุคคลค้ำประกัน
  9. การอนุมัติจากเจ้าของสถานที่
  10. ค่าทนายความ
  11. เงื่อนไขพิเศษบางประเภท
  12. ระยะเวลาในการสรุปข้อต่อรอง

คุณอาจมีรายการอื่นเพิ่มเติมจากนี้ก็ได้ ข้อให้เขียนลงไปให้ชัดเจนและอย่าลืมทบทวนรายการให้หมดเวลาที่คุณจะเจรจาต่อรองกับเจ้าของสถานที่ทุกครั้ง ขอให้เปิดใจในการต่อรองครั้งแรกอีกทั้งระมัดระวังถ้อยคำทั้งหมดในสัญญาเช่า เพราะเนื้อหาเหล่านี้อาจกลับมาเล่นงานคุณวันใดวันหนึ่งในอนาคตก็ได้และหลังจากที่คุณตัดสินใจเรื่องการเช่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้เริ่มลงมือธุรกิจเสียที

เทคนิคที่ 3 ศูนย์กำไร

กุญแจแห่งความสำเร็จของการออกแบบศูนย์กำไรมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการคือ

  1. ผู้จัดการศูนย์กำไรสามารถใช้อำนาจหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในศูนย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจการทั้งหมด ศูนย์ดังกล่าวจะต้องไม่มีลักษณะงานเข้าไปก้าวก่ายกับศูนย์อื่นยกตัวอย่างเช่น ร้านโดนัท 1 สาขา ถือเป็นหนึ่งศูนย์กำไรได้ หรือแม้กระทั้งหน่วยงานบริหารสาขาโดนัททั้งหมด ก็ถือเป็นศูนย์กำไรหน่วยผลิตและขนส่งก็เป็นส่วนกำไร สรุปแล้วศูนย์กำไรแต่ละแห่งสามารถแยกเป็นหน่วยอิสระออกจากกันได้ โดยที่แต่ละศูนย์อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้จัดการศูนย์ที่มีความกระตือรือร้น
  2. ผลตอบแทนของผู้จัดการศูนย์ต้องผูกติดกับกำไรของศูนย์นั้นๆ เราเรียกอีกวิธีว่า การแบ่งสรรกำไรตามผลงาน จงใช้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจหลักเชื่อหรือไม่ว่าระบบกระตุ้นผู้จัดการศูนย์ที่ดีที่สุดคือ ระบบที่รายได้ของผู้จัดการมาจากรางวัลเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่มาจากเงินเดือนประจำ พูดคร่าวๆ ว่าอย่างน้อย 50 % ของรายได้ประจำปีของผู้จัดการควรอยู่ในรูปของรางวัลที่ผูกติดกับกำไรของศูนย์ที่เขาดูแลอยู่

เทคนิคที่ 4 ซื้อให้เป็น

มนุษย์เราทุกคนคือนักซื้อผู้ช่ำชองด้วยประสบการณ์ ทุกคนซื้อของตั้งแต่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม บ้าน รถยนต์ และของใช้อื่น ๆ อย่างไรก็ดีประสบการณ์ของ การเป็นนักซื้อเช่นนี้ไม่มีส่วนช่วยให้คุณเป็นนักซื้อขายทางธุรกิจได้ เพราะการซื้อขายทางธุรกิจแตกต่างจาก ประสบการณ์การรับประทานอาหารตามร้าน โดยสิ้นเชิง เทคนิคการซื้อของคุณอาจทำให้ธุรกิจดีขึ้นหรือเลวลงไปเลยก็ได้ การซื้อทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมมักจะเป็นสาเหตุใหญ่ประการหนึ่ง ที่ทำให้ธุรกิจสูญเสียเสถียรภาพทางการเงินยกตัวอย่างเช่น การตัดสินใจซื้ออุปกรณ์เครื่องมือขนาดใหญ่โดยไม่ได้พิจารณาการหมุนเวียนของเงินสด อาจทำให้ธุรกิจล้มละลายได้ คุณควรจะซื้อให้อยู่ในอำนาจที่ควบคุมได้และมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ขอให้ใช้นโยบายทุกข้อดังต่อไปนี้ในการซื้อสินค้าหรือบริการ

นโยบายการซื้อมีทั้งหมด 25 ข้อ

  1. อย่าซื้อของมากเกินความจำเป็นที่จะใช้
  2. มีระบบควบคุมสินค้าคงคลัง
  3. จ่ายเงินให้เจ้าหนี้การค้าตรงตามเวลา
  4. จงซื่อสัตย์ต่อซัพพลายเออร์ที่ดี
  5. ตรวจนับของทุกชนิดก่อนเซ็นรับ
  6. พยายามขอส่วนลดเวลาจ่ายเงินภายในเวลาที่กำหนด
  7. หาทางป้องกันไม่ให้ราคาแพงเกินจริง
  8. จงเลือกผู้ประมูลที่ให้ราคาต่ำสุด
  9. ใบสั่งซื้อสินค้าต้องมีการลงชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร
  10. แก้ไขจุดที่ขาดประสิทธิภาพให้หมดไป
  11. อย่าสั่งซื้ออะไรก็ตามก่อนที่คุณจะทราบราคา
  12. มีแหล่งวัตถุดิบสำรองไว้บ้าง
  13. ระบุรายละเอียดโดยสมบูรณ์
  14. ต่อรอง
  15. ดึงซัพพลายเออร์เข้ามาอย่าผลักไสพวกเขา
  16. จงแปลงสัญญาทุกเรื่องให้เป็นตัวหนังสือ
  17. จงประสานงานทุกด้านเข้าด้วยกัน
  18. ถ้ามีค่าใช้จ่ายพิเศษเพิ่มเติมขอให้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้
  19. ต้องมีระบบควบคุมภายในสำหรับการสั่งและรับสินค้า
  20. ใช้จ่ายเงินก็ต่อเมื่อมีการพิสูจน์แล้ว
  21. จงติเตือนถ้ามีอะไรบกพร่อง
  22. ซื้อของโดยมีเงื่อนไขเขียนไว้ให้ชัดเจน
  23. เอาใจซัพพลายเออร์บ้าง
  24. เอาใจใส่การหมุนเวียนของเงินสด
  25. ซัพพลายเออร์อาจกลายเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินได้

ขอให้ทบทวนนโยบายการซื้อที่ให้ไว้ทั้ง 25 ข้อ เป็นครั้งคราวจะช่วยให้คนไม่พลาดหลงออกเทคนิคการซื้อที่ดี

เทคนิคที่ 5 การกู้เงิน

ทำให้นักธุรกิจทำกิจการที่ตนเองไม่อาจทำได้ด้วยกำลังเงินที่มีอยู่ยกตัวอย่างเช่น การที่คุณซื้อบ้านราคา 100,000 บาทด้วยเงินสด 50,000 บาท และเงินผ่อนอีก 50,000 บาท ส่วนที่เป็นเงินผ่อนจะช่วยให้คุณมีกำลังสูงพอที่จะซื้อบ้านราคา 100,000 บาท ไว้ได้เป็นต้น ในกรณีนี้เราจะกล่าวถึงอัตราเงินกู้ต่อเงินทุน 1: 1 กิจการที่กำลังเติบโตอาจต้องการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อให้สมกับขนาดของธุรกิจดังจะเสนอกฎเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินดังนี้ จงอย่ากู้เงิน ยกเว้นคุณจะมีเหตุผลที่จำเป็นจริงๆ คือ

  • จงอย่าใช้เงินของผู้อื่นเว้นเสียแต่ว่าผลประโยชน์ที่ได้จากเงินก้อนนั้นจะมองเห็นได้ชัดและเกินคุ้ม
  • จงโชว์จุดเด่นของกิจการให้นายธนาคารได้เห็น ยกตัวอย่างเช่น กิจการโดนัททำเงินได้ดีมากในช่วง 8 โมงเศษตอนเช้า และแทบจะไม่มีลูกค้าเลยในช่วงบ่าย 3 โมง จึงตัดสินใจเชิญนายธนาคารให้เข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของร้านโดนัทตอนเช้า 8 โมงครึ่ง ซึ่งจะมีลูกค้าเต็มร้านนอกจากนี้ เรายังได้ส่งโดนัทตัวอย่างให้นายธนาคารรับประทานเป็นประจำอย่างน้อยก็เป็นการช่วยเตือนความจำ เมื่อคุณแสดงความจำนงขอกู้เงินจงขอกู้มากกว่าจำนวนที่คุณต้องการเล็กน้อย เพราะขั้นตอนของธนาคารจะมีการกลั่นกรอง และพยายามต่อรองลดเงินกู้ ดังนั้น คุณจึงไม่ควรขอกู้เงินในจำนวนที่น้อยกว่าความจำเป็น สาเหตุเนื่องจากคนส่วนใหญ่ขอกู้เงินน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะพวกเขามีความคิดว่ายิ่งกู้เงินน้อยเท่าไหร่ โอกาสที่พวกเขาจะได้เงินกู้ก็มีมากเท่านั้นคนพวกนี้มักจะลืมไปว่า การขอกู้เงินเผื่อไว้ให้มากหน่อยจะเป็นช่วยค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้อีก ทั้งจะช่วยให้พวกเขามีโอกาสจ่ายคืนเงินกู้ตามกำหนดได้ง่ายขึ้น
  • จงอย่าให้นายธนาคารมีความคิดฝังหัวว่ากิจการของคุณขยายตัวเร็วเกินไปคือจงอย่าได้เน้นการเติบโตของธุรกิจของคุณเป็นตัวโฆษณาเวลากู้เงิน การที่กิจการขยายตัวเร็วเกินไปเป็นสิ่งที่นายธนาคารมากที่สุดและอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมอีก
  • จงอย่าวางแผนการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ให้หมดสิ้นภายในระยะเวลาอันสั้นเกินไป
  • คุณไม่ควรพูดขยายความเกินความเป็นจริงเวลากู้เงินเพราะการพูดโอ้อวดถึงความสามารถในการจ่ายคืนเงินกู้ที่คุณได้พูดให้นายธนาคารฟัง สิ่งนั้นจะสะสมอยู่ในหัวเค้าและอาจหันกลับมาทำลายชื่อเสียงเกียรติยศของคุณได้ในอนาคตดังนั้นสิ่งที่คุณควรจะขายให้นายธนาคารคือ เครดิตชื่อเสียงของคุณรวมทั้งจุดเด่นของกิจการ ทั้งสองอย่างนี้คือปัจจัยที่ผลักดันให้นายธนาคารหันมาง้อคุณแทนที่คุณจะไปง้อนายธนาคาร และอย่าลืมจงผ่อนชำระเงินกู้ให้ตรงต่อเวลาเสมอ

เทคนิคที่ 6 เรื่องของการขาย

การขายสินค้าหรือบริการเป็นเรื่องของการผนึกกำลังหลายแบบเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย การโฆษณา การตั้งราคา การส่งเสริมการขายการจัดแสดงสินค้า คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ เนื้อหาในบทนี้ ได้บรรจุข้อแนะนำที่สำคัญเกี่ยวกับการขายและคุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังกระตุ้นการวางแผนงานของคุณด้วย การเรียนรู้วิธีขายผลิตภัณฑ์ย่อมมีประโยชน์หลายประการที่ทำให้คุณได้รู้จักพฤติกรรมของลูกค้า ความคิดเห็นของลูกค้าถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุด เมื่อใดที่คุณติดต่อธุรกิจกับลูกค้าโดยตรง เมื่อนั้นแหละคุณกำลังทำธุรกิจได้ถูกแนว เพราะคุณกำลังสัมผัสกับความเป็นจริงของธุรกิจซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้มอบให้

เทคนิคที่ 7 ทำอย่างไรถ้าธุรกิจมีปัญหา

การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาอาจเป็นบทเรียนที่แพงมาก แต่คุณก็สามารถเรียนรู้จาการศึกษาความผิดของผู้อื่นได้ จงพยามจดจำหลักของการแก้ปัญหาในยามตกยากไว้ และคุณน่าจะยึดถือมันเป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางชีวิตต่อไป มีหลักออยู่ 4 ข้อ

  • ให้ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเช่น
  • ให้หาทางลดความเสียหาย
  • อย่าพยายามเปลี่ยนธุรกิจบ่อยๆ
  • จงสู่อย่าได้ถอย

นอกจากนี้ จงอย่าลดคุณภาพหรือประโยชน์ของสินค้าหรืออบริการแต่ขอให้พยายามทำในทางตรงกันข้ามคือ จงปรับคุณภาพและคุณประโยชน์ให้สูงขึ้น

สรุปคือ จงแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ คุณจะต้องรับผิดชอบธุรกิจของคุณในทุกเรื่อง รวมทั้งแก้ปัญหาทั้งหลายเอง และตารางต่อไปนี้เป็นสรุปรายการที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อธุรกิจของคุณเกิดวิกฤต

รายการที่ควรทำ
  1. ปรบปรุงคุณภาพและคุณประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ
  2. เปิดการเจรจากับเจ้าหนี้ก่อนในกรณีที่คุณมีปัญหา
  3. จงใช้งบเงินสดหมุนเวียนในการควบคุมดูแลสภาพคล่อง
  4. มองหาโอกาสดีๆ
  5. ใช้คำพูดสุภาพและเรียบร้อย
  6. บำรุงรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ
  7. ปรึกษาบุคคลภายนอกเกี่ยวกับปัญหาที่เผชิญอยู่
  8. ทำใจให้กว้างเวลาตัดสินใจ
รายการที่ไม่ควรทำ
  1. การจ่ายเช็คไม่มีเงิน
  2. ผิดสัญญากับเจ้าหนี้
  3. ปล่อยให้ร่างกายสุขภาพทรุดโทรม
  4. ตัดสินใจในการลงมือทำช้าเกินไป

ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนของการรวบยอด

ผู้ประกอบการอาจตั้งเป้าหมายนอกเหนือไปจากตัวเลขที่วัดได้ อย่างเช่น งบดุล เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือรางวัลอื่นๆ

เทคนิคที่ 1 จับในสิ่งที่ถนัด

การจับธุรกิจที่เราถนัดเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมันหมายถึงการที่เราให้ความสำคัญกับปัจจัยเอกแห่งความสำเร็จ นั้นคือ ประสบการณ์ ทุกคนทราบว่าการจับสิ่งที่ถนัด เป็นหลักสำคัญในการลงมือทำธุรกิจ เหตุผลประการแรกคือ คนจำนวนมากมักจะไม่สนุกกับการทำงาน และต้องการหาอะไรใหม่ๆ ทำ ผลลัพธ์คือ ส่วนมากคนพวกนั้นจะละทิ้งหน้าที่ความชำนาญเดิม และตั้งต้นทำธุรกิจใหม่ ราวกับคนตาบอดเดินหลงทางในป่าช้า และคนเราจะไม่เห็นด้วยกับสุภาษิตที่ว่า สิบเบี้ยใกล้มือ แต่พยายามไขว้คว้าของที่อยู่ไกล อย่าลืมว่าผลงานที่ได้จะน่าพอใจถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ โอกาสทางธุรกิจมีอยู่ทั่วไปทุกแขนง รวมทั้งธุรกิจที่เราทำอยู่ด้วย เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสาขาวิชาชีพเพื่อหาโอกาสเพิ่มขึ้น นักธุรกิจที่มีพรสวรรค์พิเศษโดยแท้จริง เขาสามารถทำในสิ่งที่ทุกคนไม่อาจทนได้ ถึงแม้เขาจะเริ่มต้นด้วยร้านโดนัทเล็กๆ เพียงแห่งเดียว เขาก็ไม่เคยย่อท้อ หากแต่ได้ขยายกิจการเครือข่ายจนกระทั่งกกลายเป็นอาณาจักรโดนัทใหญ่ ขาผู้นี้คือผู้ที่จับในสิ่งที่ถนัดนั้นเอง

เทคนิคที่ 2 ประสบการณ์ที่ประทับใจ

การวัดความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ ส่วนมากนักธุรกิจจำนวนมากกไม่เคยหยุดชื่นชมและพิจารณาผลงานความสำเร็จของตนเองนอกจากตัวเงินที่ทำได้ ดังนั้นเราน่าจะหยุดและพิจารณาว่าเราได้ประสบการณ์ที่น่าประทับใจในการทำธุรกิจหรือไม่ โดยพิจารณาองค์ประกอบดังนี้ ธุรกิจของเราได้ให้ประสบการณ์ที่น่าสนใจแก่ลูกค้าหรือไม่ ธุรกิจนั้นได้ให้ประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่ตัวเราด้วยหรือไม่ ถ้าคำตอบทั้ง 2 ข้อได้คำตอบว่าใช่ เสดงว่าเราต้องออกเดินหน้าทำธุรกิจนั้นแล้วและก็พยายามทำให้ลูกค้ามีความประทับใจในบริการให้มากที่สุดและนี้ก็เป็นการวัดความสำเร็จให้แก่เราได้เช่นกัน

เทคนิคที่ 3 ดัดคันศร

การที่คุณจะยิงลูกธนูให้ตรงได้นั้น คุณจำเป็นต้องดัดขันศรเป็นครั้งคราว การทำธุรกิจส่วนตัวก็เหมือนกันโดยการดัดเหมือนลูกคันศรให้พุ่งไปยังเป้าหมาย ที่วางแผนไว้จนประสบผลสำเร็จได้ และการทำธุรกิจย่อมแตกต่างกับการเป็นลูกจ้างมาก ผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัวมักเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตบ่อยมาก จนทำให้เกิดความเครียดบ่อยๆ ทั้งนี้เพราะพวกเขาอาจใช้ทำงานมากเกินไป จนกรระทั้งลืมทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ลูกจ้างมีโอกาสทำกัน อย่างเช่น การเล่นกีฬาเป็นต้น จงวางโครงร่างของกิจการต่างๆ ที่คุณจะทำ ให้สอดคล้องกับแผนการหลักของชีวิตที่จะทำให้มีความสุข อย่าลืมว่าชีวิตคือสิ่งที่ทุกคนควรตักตวงหาความสุขเข้าไว้ เพราะการทำงานอย่างเดียวไม่อาจก่อให้เกิดความสุขได้ ไม่มีกิจกรรมอะไรเดี่ยวๆที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขได้ คุณจะต้องหากิจกรรมหลายชนิดมาถ่วงดุลกันเพื่อให้ชีวิตความสุข สรุปแล้ว กุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของการเป็นเจ้าของกิจการคือ การวางแผนชีวิตล่วงหน้า โดยมีการแบ่งเวลาทำงานและเวลาทำกิจกรรมอื่นให้สมดุลโปรดระลึกไว้เสมอว่า คุณควรจะมีงานอดิเรก จำกัดเวลาการทำงาน และ มีวันหยุดพักผ่อน

เทคนิคที่ 4 รักษาร่างกายให้สมบูรณ์

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการชีวิตที่สมบูรณ์ คุณจะต้องหมั่นฝึกวินัยอยู่เสมอ นักกีฬามืออาชีพต่างฝึกซ้อมอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เพราะความสำเร็จของพวกเขาขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย ทำนองเดียวกัน ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวก็จำเป็นต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะความสำเร็จของพวกเขาย่อมขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย การเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตนเองคือ การผจญภัยก้าวใหญ่ในชีวิตคุณ เพราะมันคือโอกาสที่คุณสามารถแสดงฝีมือได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจก่อนลงสนามแข่งขัน

เทคนิคที่ 5 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น

เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะมีอยู่ในตัวผู้บริหาร เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นสิ่งที่จะทำให้เขามีแต่คนรักและได้รับการยอมรับนับถือจากลูกน้อง ลูกน้องศรัทธาในตัวผู้บริหารและทำงานด้วยความสามารถที่เขามีอยู่ออกมาให้องค์กรขับเคลื่อนไปได้ และความสำเร็จประการสุดท้ายในการทำธุรกิจส่วนตัว คือ ความสามารถในการเอาชนะ ข้อขัดแย้งในตัว เกี่ยวกับการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ซึ่งก็อาจทำได้โดยการตั้งเป้าหมายว่าคุณต้องการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย

ผู้ประกอบการคือ บุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษจากคนทั่วไป คือ นอกเหนือจากความต้องการที่จะควบคุมชีวิตและตั้งเป้าหมายให้ตนเองแล้ว พวกเขายังมี ความเชื่อมั่น และความเชื่อมั่นทำให้เกิดความมั่นใจที่จะทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จได้ตามที่ต้องการ